ทำเป็นเล่นไปครับ เผลอแป๊บเดียวจะสิ้นปีอยู่แล้ว และเผลอแป๊บเดียว สงครามอิสราเอลกับฮามาสจะเข้าเดือนที่ 2 แต่ถือว่าโชคดีที่มีการยุติสงคราม (Ceasefire) ในช่วงที่ผ่านมา (ณ เวลาเขียนคอลัมน์นี้ ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงจะยืด Ceasefire ออกไปอีกวันหนึ่ง)
พระเอกในการเจรจาเรื่อง Ceasefire ในครั้งนี้ น่าจะมุ่งไปที่ประเทศ Qatar เพราะเขาวางบทบาทนี้กว่า 20 ปีแล้ว
Qatar รู้ว่าเขาเป็นประเทศเล็ก แต่เป็นประเทศที่ร่ำรวย และมีบ่อน้ำมัน และบ่อแก๊ส ทำให้เขามีอำนาจต่อรองสูง การเป็นประเทศเล็ก แต่เงินหนา ทำให้การเจรจาเหมือนเป็นคู่เทียบเท่า แถมการเป็นที่ตั้งของสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Al Jazeera และเป็นเจ้าภาพบอลโลกที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการยกระดับให้ Qatar มีบทบาทในเวทีโลก
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศของเขาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 7 “The foreign policy of the State is based on the principle of strengthening international peace and security by means of encouraging peaceful resolution of international disputes; and shall support the right of peoples to self-determination; and shall not interfere in the domestic affairs of states; and shall cooperate with peace-loving nations.”
การสร้างความเป็นมิตร ประเทศอื่นในโลก ไม่ว่าจะอยู่ขั้วไหนก็ตาม ทำให้ Qatar เป็นที่ไว้วางใจ (ระดับหนึ่ง) ด้วยความจำเป็น และความเต็มใจครับ ยกตัวอย่างเช่น Qatar เป็นฐานตั้งกองทัพสหรัฐใหญ่สำคัญระดับภูมิภาคมานาน และในขณะเดียวกัน เขาขุดน้ำมันกับประเทศอิหร่านด้วย Qatar เป็นที่ตั้งของกลุ่ม Hamas ผ่านความเห็นชอบสหรัฐ ทั้งๆ ที่รู้ว่า Hamas มีวัตถุประสงค์หลักคือ ลบล้างความเป็นอิสราเอลออกจากโลกนี้ทุกชนิดก็ตาม
แต่ทางสหรัฐมีความเห็นว่า การมีมิตรอย่าง Qatar ถือว่าเป็นประโยชน์ในยามจำเป็น และในกรณีสงคราม อิสราเอลกับฮามาส เข้าข่าย “ยามจำเป็น” เพราะด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ เขาไม่เจรจากับกลุ่มผู้ก่อการร้าย และเขาเคยประกาศว่ากลุ่มฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย เช่นเดียวกับประเทศอิสราเอล เขาไม่เจรจากับกลุ่มฮามาสโดยตรงอยู่แล้ว ดังนั้น กลุ่มที่จะเจรจากับฮามาสได้ดีที่สุด คือประเทศ Qatar…ผู้เป็นมิตรกับทุกฝ่าย
การที่กลุ่ม Hamas ก่อตั้งใน Qatar ยังดีกว่าก่อตั้งใน Afghanistan Iran หรือ Syria เพราะถ้าตั้งใน 3 ประเทศนี้ สหรัฐจะไม่มีหนทางหรือช่องทางเจรจา
และทางกลับกัน ถ้า Qatar เป็นตัวกลาง เมื่อมหาอำนาจอย่างสหรัฐต้องสื่ออะไรให้กับกลุ่มที่เข้าไม่ถึง บรรดากลุ่มที่เข้าไม่ถึงสามารถสื่ออะไรให้กับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐผ่าน Qatar เช่นเดียวกัน แต่ทุกอย่างไม่แน่นอนครับ การเป็นมิตรกับทุกฝ่ายในโลกอาจทำให้สักวันหนึ่ง เขา (Qatar) อยู่ในสถานการณ์ต้องเลือกข้าง ซึ่งที่ผ่านมาการตัดสินใจของ Qatar ในบางเรื่องทำให้เพื่อนบ้านกลุ่มอาหรับเคืองบ้าง เช่นในปี 2017 ซาอุฯ กับประเทศอื่นๆ มีมาตรการคว่ำบาตรเป็นเวลา 3 ปี เพราะ Qatar สนับสนุนกลุ่ม Muslim Brotherhood
แต่วันนี้ Qatar ดูเป็นพระเอก และดูเป็นเจ้าของเรื่องการเจรจา Ceasefire ในครั้งนี้
พอพูดถึงบทบาทของ Qatar ผมอดขำไม่ได้ เมื่อเจอบทวิเคราะห์จากอาจารย์ F. Gregory Cause แห่ง Bush School of Government and Public Service at Texas A&M เขาบอกว่า “The Qataris are there to help you out….and they’re there to remind you that they’re helping you out.”
ทำให้ผมนึกถึงยุคที่อยู่ อินโดนีเซีย ประโยคนี้สามารถใช้กับการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐอินโดฯ ต่อหน่วยงานต่างประเทศทุกระดับ ผมเองเจอกับตัวครับ ตอนผมเป็นเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) สำนักงานใหญ่ของเราตั้งอยู่ในสภาของอินโดฯ โดยเขาไม่คิดค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งมาจากข้อตกลงที่มีมาก่อนผมหลายยุคหลายสมัย แต่ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสเจอประธานรัฐสภาของเขา (ในยุคนั้น) รองประธาน รวมถึงประธานกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง ทุกๆ คน แทบทุกๆ ครั้งจะพูดทำนองว่า “เราดีใจที่เป็นเจ้าภาพของสำนักงานของท่าน เพราะงานของท่านมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงคนอาเซียนให้เป็นปึกแผ่นเดียวกัน บลา บลา บลา...” และทุกๆ ครั้งจะจบประโยคแบบไม่เนียน “…. และเรายินดีที่จะไม่คิดค่าเช่า เพราะพวกคุณเป็นแขกของเรา” ทุกครั้งเลยครับ และไม่ใช่พูดในยุคของผมเท่านั้น แต่พูดในยุคก่อน และยุคหลังผมอีกต่างหาก
ตอนแรกผมคิดว่าอาจเป็นเฉพาะหน่วยงานผมที่โดนแบบนี้ เพราะผมอาจเจอคนที่ไม่ถนัดเรื่องกาลเทศะสากล หรือเขาไม่คล่องภาษาก็ได้ แต่ปรากฏว่าทูตหลายประเทศเล่าให้ผมฟังว่า เขาเจอเหมือนกัน แต่ที่แย่กว่าคือ เขาเจอกับหน่วยงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศโดยตรง อย่าว่าแต่ทูตกับผมที่โดนครับ หลายท่านใน สำนักเลขาธิการอาเซียนบ่นเรื่องนี้เหมือนกัน และตรงนั้นยิ่งยากกว่า เพราะเขาระดับฝ่ายบริหารของประเทศ ระดับต้นๆ ครับ
เลยทำให้ผมนึกถึงความเป็น Soft Power ของรัฐบาลชุดนี้ ผมเถียงอยู่เสมอว่า ถ้าเรามี Soft Power ต่อคนอื่น ทำไมเราจะต้องประกาศให้เขารับรู้ว่า เรากำลังใช้ Soft Power ต่อเขา? มันใช่เหรอ? แต่พออ่านบทบาทของ Qatar และย้อนกลับมานึกถึงวิธีการทวงบุญคุณของหน่วยงานในประเทศอินโดนีเซีย มันอาจเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ได้ ผมอาจเป็นคนขี้เกรงใจ หรือเป็นคนไม่ชอบโฆษณาตัวเอง เลยรู้สึกไม่จำเป็นต้องแสดงพลังอำนาจหรือผลงาน In Your Face ขนาดนั้น แต่ผมก็เข้าใจ ถ้าไม่ประกาศให้โลกรู้ โลกจะรู้ได้อย่างไร?
แต่มันมีเส้นบางๆ ระหว่างประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กับการทวงบุญคุณครับ
สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดีกับตัวประกันคนไทยทุกคนที่กลับมาถึงบ้านครับ ขอยกย่องและชื่นชมการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศของเรา ตั้งแต่รัฐมนตรีจนถึงเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ทำงานเบื้องหลังและมีบทบาทสำคัญในการเจรจาในครั้งนี้ด้วยครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'BRO!!!!!'
เกือบ 2 สัปดาห์กับผลการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่สร้างความประหลาดใจให้กับคนทั่วไป เว้นบรรดานักวิเคราะห์แม่นๆ….หลังผลออกมา พวกนี้ยังพูดเต็มปากเต็มคำว่า
“ถ้าไม่เลือกเรา...เขามาแน่”...ทำให้เขาชนะขาดลอย
ผมไม่แน่ใจว่ากว่าแฟนคอลัมน์จะได้อ่านบทความนี้ เรื่องที่ผมจะเขียนนั้นมันแห้งเกินไปหรือเปล่า เพราะกว่าจะถึงวันที่ได้อ่านบทความนี้ เรื่องนี้อาจจะเก่าไปแล้วก็ได้
ผมจะไม่แปลกใจถ้าTrumpชนะ….แต่ผมจะแปลกใจถ้าHarrisแพ้
อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะได้รู้กันว่าใครจะเป็นผู้นำ “The Free World” ระหว่างอดีตประธานาธิบดี กับอดีตรองประธานาธิบดี
Thank you, Fernando
โค้งสุดท้ายในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐมาถึงแล้ว ผมขอประกาศตัวว่า ผมไม่ใช่นักวิเคราะห์แม่นๆ….หลังผลออกมาครับ บ้านเมืองเราเต็มไปด้วยนักวิเคราะห์ที่จะฟันธงและวิเคราะห์อย่างหนึ่ง….
28 ยังแจ๋ว!!!!
ผมขออนุญาตเขียนเรื่องเบาๆ อีกสักครั้งหนึ่งครับ ไม่เขียนวันนี้ผมไม่รู้จะเขียนตอนไหน และเอาเข้าจริงผมอยากพาแฟนๆ ทั้งหลายออกจากโลกข่าวดิไอคอนกรุ๊ปครับ
8ปีที่แล้ว….ที่ไม่มีวันลืม
ในชีวิตทุกคนมักจะมีอยู่ไม่กี่เหตุการณ์ที่ทำให้เราจำบรรยากาศ จำบริบท จำความรู้สึก และจำทุกรายละเอียด เมื่อเรารำลึกถึง หรือนึกถึงอีกที