แก้หนี้นอกระบบทำได้จริงหรือ?

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน จัดหนักจัดเต็มแจกแบบจุกๆ ถึง 3 เรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินอุ้มชาวนาไร่ละ 1,000 บาท จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เรื่องที่ 2 คือการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการบรรจุใหม่ปีละ 10% จากเดือนละ 15,000 บาท เพิ่มเป็น 18,000 บาท และเรื่องใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติคือ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งมีการบูรณาการทุกหน่วยงานเข้ามาจัดการในเรื่องนี้

อย่างที่ทราบ งานหนักของรัฐบาลเศรษฐาในเวลานี้ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่โตแบบซึมๆ จนรัฐบาลออกมายอมรับว่าไทยกำลังเจอปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสาเหตุมาหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องของเงินในกระเป๋าประชาชน ที่ยังอยู่ในสถานะ "กระเป๋าแบน" ไม่มีเงินใช้จ่าย จนหลายคนต้องหันไปหาแหล่งเงินอื่นๆ มาประคองชีวิต ซึ่งมีทั้งการกู้ยืมในระบบและนอกระบบ

สอดคล้องกับข้อมูลที่ทางสํานักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ออกมาแถลงภาวะสังคมเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ พบว่า หนี้ครัวเรือนในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 90.6 เปอร์เซ็นต์ 

ขณะที่ความสามารถชำระหนี้ของครัวเรือนก็ลดลงเล็กน้อย โดยเอ็นพีแอล หรือหนี้เสีย มีมูลค่า 1.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2.68 เปอร์เซ็นต์ จากไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วน 2.71 เปอร์เซ็นต์ต่อสินเชื่อรวม

จากข้อมูลเห็นได้ชัดว่า ตอนนี้ประชาชนคนไทยกำลังแบกหนี้จำนวนมหาศาล แถมยังเริ่มผ่อนชำระไม่ไหว และกำลังจะสร้างปัญหาต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งที่ผ่านมาทุกรัฐบาลก็พยายามจัดการเรื่องนี้ อย่างในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยมีการจัดคลินิกแก้หนี้ โดยใช้กลไกของธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) ร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากองค์ประกอบหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือการแก้ไขปัญหาทางการเงินเพียงอย่างเดียว

อย่างที่ทราบกันดี คนไทยกับเรื่องก่อหนี้ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมโดยตลอด ซึ่งบางครั้งการก่อหนี้ก็ไม่ได้มีเหตุผลจากความเดือดร้อนทางการเงินที่แท้จริง มีการก่อหนี้เพราะทำตามกันๆ แต่สุดท้ายเมื่อกู้มาแล้วไม่สามารถบริหารจัดการได้ และกลายมาเป็นการสร้างภาระให้กับตัวเองในที่สุด 

ดังนั้นการแก้ไขหนี้นอกระบบในครั้งนี้จะใช้การแก้ปัญหาทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับเจ้าหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ หรือการปล่อยกู้ยืมเงินในระบบเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือ การปรับทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน ที่จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการเงิน การระมัดระวังภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ความรู้ในเรื่องของการเงินเบื้องต้น และที่สำคัญคือ การฝึกวินัยการออมให้เป็นนิสัย

 จากนี้คงต้องเฝ้ารอติดตามว่า มาตรการแก้หนี้นอกระบบรอบใหม่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า