"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด" จับตาธงใหม่แก้หนี้นอกระบบในวันที่ 28 พ.ย.นี้ และ หนี้ในระบบในวันที่ 12 ธ.ค. จะเป็นธงเรือใหม่ของรัฐบาลเพื่อไทย หวังสร้างแต้มจากคนเป็นหนี้จำนวน 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งเบื้องต้นรัฐบาลหวังใช้กลไกฝ่ายปกครองกับตำรวจ เพื่อเรียกเจ้าหนี้และลูกหนี้มาไกล่เกลี่ย
ส่วนมาตรการอื่นๆ ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะออกมาอย่างไร หากทำแล้วปังก็อาจเป็นการสร้างกระแสให้นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน มีผนังพิงในการทำงานต่อไป และกลบข่าวลบโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแจก 1 หมื่นบาท ที่ไม่รู้จะออกหัวออกก้อย
หลังเจอเสียงต้านแบบไม่หยุดไม่หย่อน อย่างเช่น นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กลางทำเนียบฯ ก่อนเข้าพบนายกฯ ในประเด็นอื่นๆ ว่า
"ถ้าเป็นไปได้เรามีกลุ่มเปราะบาง 14-15 ล้านคน โดยจ่ายผ่านแอปพลิเคชันกระเป๋าตัง หากทำได้เร็วก็จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายที่เราอยากจะช่วย ซึ่งถือเป็นความเห็นของหอการค้าไทย" และหากทำจริงก็ประหยัดเงินลง และไม่ต้องกู้มามหาศาลถึง 5 แสนล้านบาท
เช่นเดียวกับมือเก๋าทางการเมือง อย่างนายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา ออกมาเตือนว่า รัฐบาลควรจะนำไปคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และรัฐบาลต้องระมัดระวัง
หากมีการออก พ.ร.บ.กู้เงิน อาจจะเสี่ยงทำให้ต้องติดคุกถ้าละเมิดระเบียบวินัยการเงินของกระทรวงการคลังขึ้นมา เพราะในอดีตเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี
ขณะที่ "เสี่ยอ้วน" นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กลับมองไปอีกทาง และเตือนพวกที่ออกมาคัดค้านในทำนองอย่าเอาการเมืองมาตีกินว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ
"แต่อยากให้คำนึงรอบด้าน ไม่ใช่คำนึงถึงความรู้ที่ตนเองมีเพียงอย่างเดียว หรือเพียงเอาชนะคะคานกัน เพื่อชิงเป็นที่หนึ่งในดวงใจของประชาชน ส่วนตัวไม่อยากเห็นแบบนั้น อยากให้ช่วยกันทำงาน และประชาชนได้ประโยชน์ ถือเป็นผลงานของทุกคนร่วมกัน"
ต่อด้วยเรื่องการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทำท่าจะลากยาว หลังเจอลูกเล่นซื้อเวลาใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง มุกใหม่นำเสนอโดย "เสี่ยอ้วน" เช่นเดิม โดยบอกว่า เตรียมเสนอให้พรรคการเมืองประสานไปที่ สส.ในสภา นำประเด็นว่าการทำประชามติระหว่าง 2 ครั้งหรือ 3 ครั้ง ไปทำให้เกิดความขัดแย้งเพื่อให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
โดยอ้างเหตุผลเพราะต้องการให้ทราบความชัดเจนว่าจะทำประชามติกี่ครั้ง จะได้ช่วยประหยัดงบประมาณครั้งละ 4 พันล้าน และหากทำไปพร้อมกับเลือกตั้งอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย อย่างเช่น อบจ. จะช่วยประหยัดเงินภาษีประชาชนได้มากโข
โมเดลนี้คล้ายๆ กับครั้งที่พรรคพลังประชารัฐ และ สว.บางส่วนเคยเสนอญัตติให้รัฐสภาโหวต เพื่อให้ประธานรัฐสภายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในปัญหาทางกฎหมายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้เป็นอำนาจที่รัฐสภาสามารถทำได้หรือไม่
ในช่วงที่รัฐสภากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นหลักคือ การให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ ในช่วงเดือนก.พ.64
ซึ่งญัตติดังกล่าวอาศัยช่องทางของรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 210 (2) ประกอบกับ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 (2) มาตรา 41 (4) และมาตรา 44 จนสุดท้าย จนมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 และทำให้รัฐสภาไม่กล้าโหวตวาระ 3
การหาประเด็นใหม่ๆ ซื้อเวลาออกไปเรื่อยๆ จึงบอกได้คำเดียวว่า กรณีที่อ้างว่าจะทำประชามติในไตรมาสแรกของปี 67 ที่รองภูมิธรรมกำหนดไว้ อาจเป็นไปไม่ได้ สุดท้ายเสียทั้งเงิน เวลา ค่าเบี้ยประชุม เพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้รัฐบาลอยู่ครบวาระ 4 ปีใช่หรือไม่.
ช่างสงสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บันทึกหน้า 4
ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร
อ่อนกว่าวัย
ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น
บันทึกหน้า 4
ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้
บันทึกหน้า 4
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง
บันทึกหน้า 4
” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา
บันทึกหน้า 4
พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป