นโยบายการต่างประเทศไทย “ยุคใหม่” ที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้เป็นอย่างไร?
เมื่อวานได้นำเอาบางตอนของแนวทางวิเคราะห์สถานการณ์โลกที่ปรับเปลี่ยนไปของรองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่, คุณปานปรีย์ พหิทธานุกร, มาเล่าให้ฟังแล้ว
ที่เป็นหัวใจของการ “มอบนโยบาย” ให้กับบรรดาทูตและกงสุลใหญ่ของไทยประจำการอยู่ทั่วโลกคือ จะ “วางตำแหน่ง” ของไทยเราในเวทีระหว่างประเทศอย่างไร
คุณปานปรีย์บอกว่าโจทย์สำคัญทางงานด้านการต่างประเทศของไทยคือ ไทยควรดำรงตำแหน่งและบริหารจัดการผลประโยชน์ภายในและภายนอกประเทศอย่างไร เมื่อคำนึงว่านโยบายต่างประเทศเป็นส่วนขยายของนโยบายภายในประเทศ
แนวทางจึงเป็นว่าจะต้องเป็น “เชิงรุก มองไปข้างหน้า”
ที่สามารถตอบสนองผลประโยชน์ภายในประเทศ และแนวโน้ม (mega-trends) สำคัญๆ ของโลกได้เพื่อ
ฟื้นฟูการทูตไทยให้กลับมามีเกียรติภูมิมีความหมาย (relevant and matter) และมีบทบาทที่โดดเด่นใน
เวทีโลก
และยกระดับเศรษฐกิจไทย รวมทั้งตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ที่สำคัญคือจะต้องเป็นไปโดยสมดุล มีจุดยืนที่ตั้งอยู่บนหลักการที่ดูแลผลประโยชน์ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกขั้วและทุกประเทศ ไม่เข้าข้างหรือเป็นศัตรูกับฝ่ายใด
การเข้าเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมเวทีต่างๆ จะต้องเป็นไปเพื่อหาพันธมิตรใหม่ๆ และนำผลประโยชน์มาสู่ประเทศ
ไทยและคนไทย
จะทำอย่างนั้นได้ต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบาย
ต่างประเทศในทุกมิติ โดยมีระดับการดำเนินการจากวงแคบสู่วงกว้าง เป็น 4 ระดับ
ระดับที่ 1 เริ่มจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม)
ด้วยหลักคิดที่ว่าถ้าเพื่อนบ้านดี เราก็ดีด้วย
เพราะความมั่นคง การมีเสถียรภาพ และความสงบสุขภายในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นรากฐานที่สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาค
ดังนั้นความมั่นคง ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจร่วมกันของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะต้องเกื้อกูลและผูกโยงกันอย่างใกล้ชิด ตามนโยบาย Prosper-Thy-Neighbour
ที่สำคัญ คุณปานปรีย์ย้ำว่า เราต้องยอมรับว่า ขนาดเศรษฐกิจของไทยไม่ใหญ่พอที่จะน่าดึงดูดโดยลำพัง
ดังนั้นจึงต้องอาศัยความพร้อมของประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ด้วยเหตุนี้ไทยจึงควรมุ่งส่งเสริมความเชื่อมโยง (connectivity) ทางเศรษฐกิจแบบเบ็ดเสร็จ
ทั้งด้าน software (กฎระเบียบ/มาตรฐาน) และด้าน hardware ผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (สะพาน ถนน และด่าน) เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและข้ามแดน และลดช่องว่าง
อีกทั้งต้องเร่งรัดการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคั่งค้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เช่น โครงการพัฒนาด่านศุลกากรไทย-กัมพูชา ที่จังหวัดสระแก้ว
ระดับที่ 2 คือ ระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ทุกวันนี้ยังเป็น Century of Asia โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางและเป็นที่จับตาจากทั่วโลก
อาเซียนยังคงเป็นเสาหลักของการต่างประเทศของไทย
และในสภาวะปัจจุบันอาเซียนกำลังเผชิญกับความท้าทายทั้งจากภายในและภายนอก
อาเซียนจึงจำเป็นต้องรักษาความเป็นเอกภาพ และความเป็นแกนกลาง (centrality) เพื่อให้อาเซียนคงความเป็นภูมิภาคที่มีความสงบและมีความเป็นปึกแผ่น และคงความสำคัญ (relevance) ไว้ให้ได้
นโยบายของไทยคือการสนับสนุนการบูรณาการในอาเซียน (integration) เพื่อเพิ่มพูนการค้าระหว่างกัน
และเพื่อให้เป็นภูมิภาคที่เป็นที่น่าดึงดูดทางเศรษฐกิจและการลงทุน โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตเดียว
อีกด้านหนึ่ง ไทยควรสนับสนุนอาเซียนและมีบทบาทนำ (ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน) ในการแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมา
ขณะเดียวกัน ไทยควรเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน
โดยการเป็นผู้นำในการเจรจา ASEAN Digital Economy Framework Agreement
ระดับที่ 3 คือ การบริหารและจัดการความสัมพันธ์กับมหาอำนาจในการรักษาสมดุลในการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับจีนและสหรัฐ (strategic equilibrium) ไทยจะต้องไม่เลือกข้าง
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไทยต้องวางตัวอยู่ตรงกลาง
(equidistance) แต่จะต้องเลือกที่จะเป็นมิตรที่สมดุล ต้องมีจุดยืนเป็นของตนเองบนพื้นฐานของหลักการที่ชัดเจนและผลประโยชน์ของประเทศ
คุณปานปรีย์บอกว่า ไทยควรสร้างทางเลือกด้านนโยบายต่างประเทศ โดยมีปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์และผูกมิตรกับ
ขั้วต่างๆ และประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะประเทศและกลุ่มประเทศอำนาจขนาดกลางอื่นๆ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
และกับประเทศยุทธศาสตร์ เช่น เกาหลีใต้และออสเตรเลีย
และประเทศที่มีศักยภาพ เช่น ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ บราซิล อาร์เจนตินา เปรู และเม็กซิโก เพื่อรักษาดุลยภาพ และสร้างพันธมิตรเพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์และโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย
ระดับที่ 4 คือ บทบาทของไทยในการทูตพหุภาคี
ในประเด็นนี้รัฐมนตรีต่างประเทศมองว่าไทยควรชูจุดแข็งของไทยที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก (global objectives and shared values) เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs และสาธารณสุข และมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น สิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การทูตพหุภาคีไม่ได้จำกัดเฉพาะในกรอบสหประชาชาติเท่านั้น แต่ควรเชื่อมต่อไปยังกลุ่มและเวทีอื่นๆ ด้วย ทั้ง ASEAN, ACMECS, BIMSTEC, ACD, APEC, RCEP, BRI รวมทั้ง IPEF
รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการสมัครเป็นสมาชิก OECD และการมีปฏิสัมพันธ์และการพิจารณาเข้าร่วมกับกลุ่ม BRICS
(พรุ่งนี้ : วิธีบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ต่างประเทศ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ