มาตรฐานกระทงไร้มลพิษ

27 พ.ย.นี้จะเป็นวันลอยกระทงของประเทศไทย เทศกาลที่หลายๆ คนรอคอย เพราะถือเป็นการร่วมสืบสานประเพณีไทยที่มีมาอย่างช้านาน และยังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ทั้งยังถือเป็น Soft Power อีกอย่างหนึ่งที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้นในช่วงท้ายปี โดยในงานลอยกระทงของแต่ละที่นั้นจะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป แต่จุดมุ่งหมายหลักคือ การนำกระทงไปลอยในแหล่งน้ำ ตามความเชื่อว่าเป็นการขอขมาแม่พระคงคา และอีกมุมมองหนึ่งเป็นการลอยเพื่อปล่อยความทุกข์และสิ่งไม่ดีให้ไหลไปตามน้ำเพื่อเตรียมต้อนรับสิ่งดีๆ ก่อนวันขึ้นปีใหม่

แม้ว่าปัจจุบันการลอยกระทงลงในแหล่งน้ำอาจจะถูกมองว่าเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะสร้างขยะให้เพิ่มมากขึ้น และสร้างมลพิษต่อแหล่งน้ำนั้นๆ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเลิกกิจกรรมนี้ได้จากความเชื่อและความคิดเห็นของคนบางกลุ่ม เนื่องจากเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และยังกระตุ้นเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างดี ซึ่งการแก้ปัญหาเบื้องต้นอาจจะยังไม่ใช่การเลิกลอยกระทงในแหล่งน้ำ แต่อาจจะต้องไปดูแลและปรับเปลี่ยนในกระบวนการอื่นๆ แทน อย่างเช่น เรื่องของการเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตกระทงที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ

โดยที่ผ่านมาในปี 2565 สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีการรายงานจำนวนกระทงที่เก็บได้ ปี 2565 มีจำนวน 572,602 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่จัดเก็บได้ 403,203 ใบ เพิ่มขึ้นจำนวน 169,367 ใบ คิดเป็น 42% โดยประเภทที่จัดเก็บได้ทำจากวัสดุธรรมชาติ 548,086 ใบ หรือ 95.7% และทำจากโฟม 24,516 ใบ หรือ 4.3% และจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ากระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 มีสัดส่วนลดลงจาก 96.5% เป็น 95.7% ส่วนสัดส่วนของโฟมเพิ่มขึ้นจาก 3.5% เป็น 4.3% ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามองที่สุด เพราะในส่วนนี้อาจจะยังเป็นบ่อปัญหาที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

ซึ่งในปี 2566 นี้เอง เทศกาลลอยกระทงยังเป็นงานที่น่าจับตามองอย่างมากว่าจะสามารถกระตุ้นเม็ดเงินในเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองในไทยเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ประชาชนในสังคมเริ่มกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้เทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิดแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องออกมาพิจารณาแผนงานที่จะช่วยดูแลให้ในช่วงเทศกาลปีนี้เดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น

ขณะเดียวกัน ปัญหาการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกมากล่าวถึงการเลือกใช้วัสดุในการทำกระทง โดยนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วอนให้ประชาชนเลือกใช้กระทงที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการอุดหนุนสินค้าไทยและกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับชุมชนด้วย

 “กระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ผลิตโดยผู้ผลิตชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความประณีตสวยงาม ไม่มีกลิ่นสารเคมี สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ สำหรับบางพื้นที่ที่มีประเพณีการปล่อยโคมลอยในเทศกาลลอยกระทง ก็ขอแนะนำให้ปล่อยโคมลอยที่ได้มาตรฐาน มผช.ด้วย รวมทั้งให้ยึดถือปฏิบัติตามประกาศมาตรการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยของส่วนราชการในพื้นที่อย่างเคร่งครัด” นางสาวพิมพ์ภัทรากล่าว

ทั้งนี้ ด้านนายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตกระทงเปลือกข้าวโพดที่ได้มาตรฐาน มผช. จำนวน 7 ราย ได้แก่ 1.กลุ่มแม่บ้านเกาะพิมูลพัฒนา 2.นางสตรีรัตน์ ชูอินทร์ 3.กลุ่มกระทงแฟนซีจากเปลือกข้าวโพด 4.นางเตือนคนึง ราชา 5.วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกระทงตำบลลานดอกไม้ตก 6.กลุ่มกระทงเปลือกข้าวโพดบ้านลานดอกไม้ตกหมู่ที่ 1 และ 7.นางวิรัตน์ ทวนธง และมีผู้ผลิตโคมลอยที่ได้มาตรฐาน มผช. จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางชไมพร วงศ์สถาน

จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยร่วมกันสนับสนุนสินค้าไทย เพื่อกระจายรายได้และสร้างความยั่งยืนให้กับสินค้าชุมชน เนื่องจากกระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มผช. เป็นสินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม มีความประณีต สวยงาม ไม่มีกลิ่นสารเคมี และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร