สร้างอนาคตต้องเลิกมองสั้น ขจัดอุปสรรค, มุ่งสร้างรากฐาน

ถ้าจะสร้างอนาคตด้านเศรษฐกิจที่มั่นคงจริงๆ จะต้องลงมือทำอะไรบ้าง?

ต่อจากแนวทางวิเคราะห์ของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ แห่ง TDRI ที่ผมนำมาเล่าให้ฟังเมื่อวานนี้ ข้อเสนอสำหรับการสร้างฐานรากเศรษฐกิจจริงๆ ต้องเลิกมองสั้น มุ่งสู่การสร้างฐานอย่างจริงจัง

ในรายงานของ ThaiPublica นั้น ดร.สมเกียรติบอกว่าแม้หลายรัฐบาลเชิญชวนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในไทย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกหลายเรื่องซึ่งมีการแก้ไขบ้างแล้ว แต่ก็ดำเนินการได้อย่างล่าช้า

ยกตัวอย่างผลสำรวจนักลงทุนญี่ปุ่นของ JETRO  ก็พบปัญหาซ้ำเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นระบุให้รัฐบาลไทยแก้ไข ได้แก่ 1.พิธีการศุลกากร ที่ยังมีความล่าช้า ความไม่โปร่งใส 2.การคิดภาษีเงินได้ ซึ่งต่อไปจะซับซ้อนมากขึ้น 3.กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 4.ใบอนุญาตทำงาน

ตอนหนึ่ง ดร.สมเกียรติยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจข้าวของประเทศไทย ที่ยังอยู่ในยุคของก่อนเปลี่ยนศตวรรษ 2489 ในยุคข้าวยากหมากแพง และต้องควบคุมไม่ให้คนไทยอดอยาก เกิดปัญหาความมั่นคงทางอาหาร

 “แต่ทุกวันนี้ไทยเจออีกโจทย์หนึ่งคือ สูญเสียความสามารถในการส่งออกข้าว เพราะต้องแข่งส่งออกข้าวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม เป็นต้น” แล้วพบว่า ยอดขายไทยตกลง

ธุรกิจข้าวก็ยังถูกควบคุม เช่น ปริมาณและสถานที่เกี่ยวข้าว ซึ่งต้องรายงาน การเคลื่อนย้ายข้าวก็ต้องรายงาน ผู้ที่จะส่งออกข้าวก็ต้องมีปริมาณสำรอง มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคจำนวนมาก

 “หากประเทศไทยอยากจะเพิ่มศักยภาพในการเติบโต  อยากจะก้าวกระโดด สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือ การลดกฎระเบียบที่เป็นปัญหา หรือการทำ Regulatory Guillotine กิโยตีนกฎหมาย ซึ่งก็ยินดีที่ได้ยินว่าเป็นหนึ่งวาระของรัฐบาลใหม่ เพราะเรื่องนี้จะช่วยประเทศไทยปลดล็อกเกิดศักยภาพได้สูงสุด”

การศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่

ดร.สมเกียรติกล่าวถึงการยกระดับทักษะแรงงานว่า มีการศึกษาที่อาจจะชี้ว่าคนไทยไม่ Future Proof (ความสามารถที่จะปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) กับโลกที่จะเปลี่ยนไป

เพราะระบบการศึกษายังไม่เพิ่มทักษะให้คนได้มากนัก โดยผลสำรวจพบว่า คนขับไรเดอร์ 56% จบการศึกษาระดับมัธยม จบปริญญาตรี 24% การที่คนจบปริญญาตรีมาเป็นไรเดอร์บอกอะไรบางอย่าง สิ่งที่น่าสนใจคือรายได้ของไรเดอร์เกินกว่า 15,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่รัฐบาลถือเป็นค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับปริญญาตรี มีสัดส่วนสูงถึง 42%

หมายความว่า แทนที่จะไปทำงานที่ใช้ทักษะปริญญาตรี การไปเป็นไรเดอร์ได้ค่าจ้างดีกว่า และหมายความว่า การฝึกทักษะจากมหาวิทยาลัยไม่มีผลิตภาพเพียงพอหรือไม่

ดร.สมเกียรติกล่าวว่า เมื่อย้อนไปดูก็พบปัญหาที่ใหญ่และควรจะแก้ ซึ่งต้องใช้เวลานาน จัดว่าเป็นการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่ใน 5 ปี แต่เป็น 10-20 ปี ก็คือ “คุณภาพการศึกษาพื้นฐานของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ”

เห็นได้จากผลสอบ  PISA จากการจัดสอบเด็กอายุ 15 ปี ที่ว่านักเรียนไทยในสัดส่วนประมาณ 40% มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ในระดับไม่สามารถใช้งานได้ หรือ Functionally Illiterate

ไม่ได้หมายความว่าจำข้อเท็จจริงด้านวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่ประยุกต์ใช้ไม่ได้เลย

ธนาคารโลกชี้คะแนน PISA เด็กไทยถดถอย ย้ำ 3 ประเด็นสำคัญที่รัฐต้องเร่งแก้ด่วน

ส่วนในด้านการอ่านสูงถึง 50% หมายความว่าเด็กไทยอายุ 15 ปี เห็นข้อความเป็นพารากราฟ อ่านออกเสียงได้ แต่สรุปจับใจความไม่ได้

และมองแนวโน้มในระยะยาวจะเห็นว่า ความสามารถในการอ่านของเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

และ 2 ปีที่ผ่านมา สพฐ.ก็จัดสอบการอ่านของเด็กไทย  ซึ่งได้ผลที่คล้ายกันคือ เด็กไม่สามารถอ่านจับใจความเรื่องง่ายๆ ได้ และไม่สามารถย่อความได้

 “นี่คือความท้าทายอย่างยิ่งว่าเราจะไปต่อกันอย่างไร”

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญกับโลกที่เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน (Globalized) อย่างมาก คือ การที่สามารถสื่อสารกับประชาคมโลกได้ ก็พบว่าคนไทยไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ โดยคะแนนภาษาอังกฤษของไทยอยู่ที่อันดับ 100 ใน 112 ประเทศ เป็นรองบ๊วยอันดับ 3 ในเอเชียและอยู่อันดับสุดท้ายในอาเซียน

และคนในกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้คะแนนดีกว่าคนต่างจังหวัดนัก

 “อาเซียนจะเป็นศูนย์กลางการเติบโตใหม่ แต่การเติบโตของไทยต่ำกว่าอาเซียนโดยรวม ซึ่งอาจจะเป็นทักษะของคนไทยที่ไม่พร้อมกับการทำงานทักษะสูงในภูมิภาค ประเทศไทยค้าขายกับต่างประเทศ รับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ภาษาอังกฤษไม่ได้ นี่คือโจทย์ทักษะซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่มาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำเป็นโจทย์ที่ต้องใช้เวลาและต่อเนื่อง เพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาการศึกษาไทย” ดร.สมเกียรติกล่าว

อย่างแรก การศึกษาไทยต้องปรับหลักสูตรใหม่ภายใน 3 ปี หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานใช้กันมาตั้งแต่ปี 2551 เป็นเวลา 15 ปีแล้ว เรียนเป็นรายวิชา ไม่ได้เป็นหลักสูตรที่เน้น “สมรรถนะ” (Competency) ประเทศไทยควรนำหลักสูตรสมรรถนะมาใช้โดยเร็วภายใน 3 ปี

อย่างที่สอง แยก “การอ่าน” ออกจากภาษาไทย ส่วนหนึ่งเด็กอ่านไม่ออกจริง แต่อีกส่วนมาจากการเน้นไปที่ตัวสะกด การอ่านจึงถูกจำกัดจากวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นคนละส่วน ถูกวิธีคิดของวิชาภาษาไทยครอบงำ ไม่ได้สนใจสมรรถนะอย่างแท้จริง

แต่การนำหลักสูตรใหม่มาใช้จะไม่ได้ผลหากไม่ปลดภาระงานของครู ซึ่งเป็นการปลดล็อกวิธีหนึ่ง ครูไทยไปโรงเรียนแต่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน เพราะต้องทำงานด้านเอกสาร เสียเวลาไปเยอะมาก ต้องคืนเวลาให้ครู ฝึกอบรมครูได้มีทักษะใหม่

นอกจากนี้ ต้องสร้างทักษะต่อเนื่อง หากทักษะในมหาวิทยาลัยไม่ได้สร้างทักษะให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง ทำให้เกิดรายได้สูง ยกตัวอย่างไต้หวันที่มีหลักสูตร AI และ IoT ใช้เวลาเรียน 6 โดยใช้โจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรม ใช้ข้อมูลจริง ใช้วิธีแก้ปัญหาจริง ผู้ที่จบหลักสูตรสั้นๆ เงินเดือนเพิ่มขึ้น 20-30%

 “วิธีแบบนี้หากรัฐบาลสนับสนุนให้มีคอร์ส เชื่อมโยงกับผลการเพิ่มสมรรถนะของนักเรียนได้ ก็จะทำให้ไทยมีแรงงานทักษะในหลายด้าน”

ดร.สมเกียรติสรุปว่า ประเทศไทยถ้าจะปรับตัวสู่ยุค Future Proof ให้เติบโตแบบ Exponential  ได้ อย่างแรกคือ เลิกมองสั้น เลิกฝันแต่การกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเติบโตต่อเนื่องก็ต้องคิดเรื่องสร้างรากฐาน ลดกฎระเบียบที่เป็นปัญหาอุปสรรค

ลดการบิดเบือนกลไกตลาด

สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เร่งรับนวัตกรรม และเริ่มการสร้างนวัตกรรมของตัวเอง

แนวคิดที่เป็นรูปธรรมเพื่อสร้างอนาคตของไทยนั้นมีอยู่หลากหลายมากมาย

อยู่ที่ว่ารัฐบาลพร้อมจะรับฟังและนำไปปรับใช้ โดยไม่รู้สึกกลัวเสียหน้าหรือเสียคะแนนหรือไม่เท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ