ยิ่งสังคมไทยได้ติดตามข้อถกแถลงว่าด้วยการ “กู้มาแจก” เพราะเศรษฐกิจไทย “โตต่ำกว่าศักยภาพ” จริงหรือไม่ ก็ยิ่งทำให้คนไทยทั่วไปมีโอกาสได้ซักถาม, เรียนรู้และหาทางออกพร้อมกันไปมากขึ้น
หลายวันที่ผ่านมา ผมพยายามเก็บแนวโต้แย้งของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายเห็นต่างมานำเสนอเพื่อจะได้ฟังแนวทางกันอย่างหลากหลาย
โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการและการวิเคราะห์อย่างมืออาชีพ ไม่มีส่วนผสมความรู้สึกหรือปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย TDRI เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้แสดงความเห็นในที่สาธารณะอย่างน่าสนใจยิ่ง
ผมขอนำบางตอนที่รายงานโดย ThaiPublica มาให้ได้อ่านกัน
ช่วงวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เปิดเวที Thailand Competitiveness Conference 2023 ภายใต้หัวข้อ Building Future-Proof Nation
โดยดึงภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากในประเทศและต่างประเทศ มาแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ นำสู่การประสานความร่วมมือให้ประเทศไทยเดินหน้าไปได้ไกลกว่าเดิม
ดร.สมเกียรติบรรยายเรื่อง Building a Foundation for Exponential Growth”
และนำเสนอแนวทางวิเคราะห์ที่โยงกับเรื่องที่สังคมไทยกำลังถกแถลงกันอย่างกว้างขวาง
ผมขอนำเอาบางตอนมาแบ่งปันให้ได้อ่านกันเพื่อประกอบการติดตามข่าวสารของทุกๆ ท่าน
ดร.สมเกียติบอกว่าการเติบโตของประเทศไทย 3 ทศวรรษ ไทยเติบโตลดลง
ตั้งแต่ปี 1960 ประเทศไทยโตเฉลี่ยในทศวรรษนั้น 4.6% หลังจากนั้นอยู่ในระดับเท่าเดิมคือ 4.8% มาเป็น 5% แล้วค่อยๆ ลดลงหลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย
ซึ่งจริงๆ แล้วหาได้ยากมากที่จะมีเศรษฐกิจประเทศไหนจะเติบโตในเวลาแบบนี้ ประเทศไทยเป็นตัวอย่างหนึ่งของ Asian Miracle
หลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียการเติบโตของไทยลดลงเหลือ 3% มาจนถึงทศวรรษก่อนหน้านี้เหลือ 3.4% และตอนนี้เศรษฐกิจไทยปีนี้ก็คาดว่าจะโต 2.8% แค่โต 2.8%
รัฐบาลก็บอกว่า “ใครบอกว่าไม่วิกฤตจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจกัน” ก็เป็นประเด็นที่อยากจะชวนคิด
หัวข้อสำคัญ ก็คือ…
“เศรษฐกิจไทยตอนนี้เติบโตต่ำกว่าศักยภาพหรือศักยภาพของไทยโตต่ำลง ซึ่งถ้าตีโจทย์นี้ไม่ถูก ตีโจทย์นี้ไม่แตก ก็ยากที่จะพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อเนื่องไปได้”
ดร.สมเกียรติกล่าวว่า ปกติในทางเศรษฐศาสตร์จะมีความเชื่อว่า แต่ละประเทศจะมีศักยภาพในการเติบโตมากหรือน้อย
ศักยภาพจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกด้วย แต่ก็พอประมาณการออกมาได้ หากช่วงไหนเศรษฐกิจเติบโตกว่าศักยภาพ ก็จะเรียกว่า “เศรษฐกิจร้อนแรง”
ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อ เกิดปัญหาเสถียรภาพเศรษฐกิจได้ ถ้าร้อนแรงนานเกินไป
แต่หากช่วงไหนเศรษฐกิจเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ ก็จะมีปัญหา เกิดปัญหาการว่างงาน ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนไม่ได้รับการยกระดับขึ้นมาได้ทัน
“สองเรื่องนี้ต้องแยกกันให้ออกว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง สิ่งที่เราต้องใช้ในแง่นโยบายด้านอุปสงค์ การกระตุ้นอุปสงค์ คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากเศรษฐกิจไทยมีศักยภาพต่ำ แล้วต่ำลงไปเรื่อยๆ ในลักษณะเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะต้องสนใจนโยบายในด้านอุปทาน นโยบายด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ สองเรื่องนี้จะไม่เหมือนกันเลย” ดร.สมเกียรติกล่าว
ดร.สมเกียรติกล่าวต่อว่า นักเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพวกนี้ ก็จะเสนอชุดความคิดคนละชุดกัน หากเศรษฐกิจของไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพในช่วงระยะสั้น ก็จะยึดถือจอห์น เมนาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษเป็นต้นแบบ ว่าคงจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ คือสนใจด้านอุปสงค์ ซึ่งอุปสงค์ของประเทศมีหลายแง่มุม
ตั้งแต่สูตร GDP คือ C+I+G+(X-M) กระตุ้นการบริโภค คือ C กระตุ้นส่งออก X ให้ได้ นำเข้า M ให้น้อยลง กระตุ้นการลงทุน I และกระตุ้นการบริโภคภาครัฐ G
ในช่วงที่เศรษฐกิจที่โตต่ำกว่าศักยภาพ สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ การเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นได้เช่นเดิม ซึ่งก็ควรทำในช่วงเศรษฐกิจมีภาวะถดถอย
แต่หากจะมองเศรษฐกิจยาวๆ ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่อเนื่องได้ต่อเนื่องหรือไม่ ก็ต้องยึดตามนักเศรษฐศาสตร์อีกราย คือ โรเบิร์ต โซโลว์ (นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 1987 ผู้ศึกษาเรื่องผลิตภาพกับการเติบโต)
หากเศรษฐกิจมีศักยภาพต่ำ สิ่งที่ควรสนใจ คือ ด้านอุปทาน คือ ด้านการผลิต สนใจด้านการผลิตจริง (real sector) สนใจเกษตร สนใจอุตสาหกรรม สนใจบริการ สนใจภาคการเงินที่หล่อเลี่ยงภาคเหล่านี้ว่า
“ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตมีศักยภาพสูงขึ้นได้ และจะต้องวางรากฐานการเติบโตด้วยตัวเลขตัวเดียวที่สำคัญสุด คือ ผลิตภาพ productivity”
เพราะฉะนั้นมุมมองที่จะต้องวินิจฉัยว่า เศรษฐกิจไทยทุกวันนี้เติบโตต่ำกว่าศักยภาพหรือศักยภาพของไทยต่ำ ซึ่งเป็นโจทย์ที่จะมีผลต่อนโยบายที่จะใช้ ที่จะออกมา
ดร.สมเกียรติกล่าวต่อว่า ถ้าดูประวัติศาสตร์ไทยในช่วงหลังๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยโตลดลง จะพบรูปแบบ (pattern) ที่ออกมาชัดเจน ไม่ใช่แพตเทิร์นวิ่งมาราธอน แต่คือ “แพตเทิร์นการกระตุ้นเศรษฐกิจ”
“การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะรัฐบาลปัจุบัน แต่เกิดขึ้นต่อเนื่องพอสมควร ในสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ก็กระตุ้นด้วยคนละครึ่ง มีของขวัญปีใหม่แจกทุกปี พอมาถึงรัฐบาลปัจจุบันก็เกิดการแจกเงินครั้งใหญ่ด้วยเงินดิจิทัล มีการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี อนุมัติลดค่าน้ำมัน ลดค่าไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือประชาชน และมีการแจกแท็บเล็ต”
ถ้าดูวิธีคิดของรัฐบาลไทยในช่วงหลังมีแพตเทิร์นว่า รัฐบาลมองไว้ว่า “เศรษฐกิจไทยมีไว้เพื่อกระตุ้น” คือ “ยึดเศรษฐกิจระยะสั้นชัด” ยึดตำราเศรษฐกิจระยะสั้น
ไม่มีรัฐบาลไหนพูดถึงการมองยาวๆ ที่มีความจำเป็นเพื่อการมี future proof
ดร.สมเกียรติยกตัวอย่างการมองสั้นว่ามองอย่างไร และมองยาวมองอย่างไร
ทุกรัฐบาลที่เข้ามา เมื่อนักวิชาการ ภาคเอกชนถูกเชิญไปให้คำปรึกษารัฐบาล หรือรัฐบาลเรียกข้าราชการมาถาม คำถามแรกๆ ที่ได้ยินคือ “อะไรคือวิกฤตสำหรับเศรษฐกิจไทย” “อะไรคือสิ่งที่ทำได้ไว”
รัฐบาลไม่ถามว่า “อะไรที่จะสร้างรากฐานประเทศได้”
Quick win คืออะไร?
Quick win คือการลดราคาดีเซล
Quick win คือการพักหนี้เกษตร
Quick win คือการแจกแท็บเล็ต ลด แลก แจก แถม
แต่ถ้าเป็นการสร้างรากฐานเศรษฐกิจ foundation building ต้องมองยาว ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นๆ แล้วโลกจะเปลี่ยนไป มีความท้าทายมากมาย ต้องผลิตคาร์บอนต่ำ
การลดราคาดีเซลอาจจะเป็น Quick win สำหรับรัฐบาลในทางการเมือง
แต่สวนทางกับการที่เศรษฐกิจไทยจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพราะฉะนั้นนโยบาย Quick win หลายครั้งจะสวนทางกับนโยบายที่ต้องสร้างรากฐานในระยะยาว
ระยะสั้นมีนโยบาย Quick win ได้ แต่หากนโยบาย Quick win ขัดแย้ง ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในระยะยาวแล้วทำ Quick win ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไทยก็จะเดินไปทางตรงข้ามกับสิ่งควรทำในระยะยาว
สำหรับนโยบายแจกเงินดิจิทัลโดยมีความเชื่อกันว่าจะสามารถสร้างเศรษฐกิจได้ใหญ่ขึ้นกับเงินที่ใส่ไป ใส่เงินไป 100% แล้วคิดว่า GDP จะโตได้ 3 เท่า 6 เท่า คือได้ 300% หรือ 600%
ดร.สมเกียรติกล่าวว่า ถ้ามีสูตรพิเศษอย่างนี้ในโลกจริง แต่ละประเทศคงไม่ต้องคิดยุทธศาสตร์การพัฒนา แจกเงินไปเรื่อยๆ ก็คงจะโตไปเรื่อยๆ และถ้าแจก 10,000 บาทก็คงจะโตแบบพรวดขึ้นไป
แต่ความเป็นจริงก็คือ การศึกษาตัวคูณทางเศรษฐกิจ หรือ fiscal multiplier ในประเทศต่างๆ รวมทั้้งประเทศไทย บ่งชี้ว่าไม่ได้เป็นแบบนั้น
โดยในสหรัฐฯ จากการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ ใส่เงินเข้าไป 1 หน่วย GDP จะใหญ่ขึ้น ตัวคูณการคลังแกว่งไปมา สูงสุดไม่ถึง 2 ราวเกิน 1.5 เล็กน้อย
แต่จะเกิดในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ แล้วการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น แต่มิฉะนั้นจะเห็นว่าตัวคูณทางเศรษฐกิจ ในสภาพที่เศรษฐกิจเติบโตได้ปกติ อยู่ในระดับ 0
สำหรับตัวคูณทางเศรษฐกิจของไทยมีการศึกษาจากหลายแหล่ง หนึ่งคือ ข้อมูลจากสำนักงบประมาณของรัฐสภาได้ว่าจ้างให้มีการศึกษาว่า เมื่อรัฐบาลใช้จ่ายเงิน 1 หน่วย GDP โตขึ้นจริงหรือไม่ในช่วงที่ผ่านมาหลายๆ รัฐบาล ซึ่งพบว่าขึ้นอยู่กับการใช้เงิน
หากใช้เงินไปใช้จ่ายโดยตรง ซื้อสินค้า ซื้อบริการต่างๆ ตัวคูณทางเศรษฐกิจจะอยู่ประมาณ 2 เท่า ภาครัฐมีการจ้างบุคลากรให้มาทำงานก็เกิดตัวคูณประมาณ 2 เท่าเช่นกัน
การแจกคนจน ตัวคูณทางเศรษฐกิจจะลดลงมาที่ 1.4 เท่า แจกเงินคนทั่วไปก็จะเหลือไม่ถึง 1 เท่า
ส่วนตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า การแจกเงินคนทั่วไปจะมีตัวคูณทางเศรษฐกิจ 0.4 เท่าเท่านั้น หมายถึงใส่เงินเข้าไป 1 หน่วย จะได้ GDP โต 0.4 เท่านั้น ไม่ได้มากอย่างที่คาด
(พรุ่งนี้: ทางออกคืออย่างไร?).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ