นับถอยหลังนั่งรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ฤกษ์งามยามดีในวันที่ 21 พ.ย.2566 เวลา 12.40 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) โดยจะโดยสารรถไฟฟ้าขบวนพิเศษออกจากสถานีมีนบุรี (PK30) ไปยังสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16) หลังจากนั้นจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการตลอดสาย 30 สถานี ตั้งแต่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01)-สถานีมีนบุรี (PK30) โดยไม่เก็บค่าโดยสาร (ฟรี) เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แบบเก็บค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.2566 คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน

สำหรับ รถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดให้บริการในเวลาประมาณ 06.00-20.00 น. ซึ่งในวันที่ 21 พ.ย.2566 จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 13.30 น. ส่วนสัปดาห์ที่ 2 จะขยายเวลาการปิดให้บริการ โดยจะเปิดให้บริการในช่วงเวลาประมาณ 06.00-22.00 น. และสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไปจะเปิดให้บริการในช่วงเวลาปกติประมาณ 06.00-24.00 น. อย่างไรก็ตาม บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทาน ได้เตรียมขบวนรถรองรับไว้ประมาณ 20 ขบวน ซึ่งจะนำมาใช้เดินรถวิ่งไป-กลับสลับกัน โดยสัปดาห์แรกจะปล่อยขบวนรถทุก 10 นาที และในสัปดาห์ถัดไปในช่วงเวลาเร่งด่วนจะปล่อยขบวนรถทุก 5 นาที

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 21 พ.ย.นี้ที่จะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีนั้น จะเปิดเสมือนให้บริการตามปกติ โดยแต่ละสถานีจะพยายามเปิดให้บริการได้ทุกทางเข้า-ออก ซึ่งขณะนี้ NBM กำลังเร่งรัดงานก่อสร้างทางขึ้น-ลง 3 สถานี ได้แก่ สถานีแจ้งวัฒนะ 14 (PK11), สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK12) และสถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ (PK13) รวมถึงทางเชื่อมเข้าศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ยอมรับว่างานอาจจะยังไม่เรียบร้อยทั้งหมด แต่รับรองว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าการเปิดให้ใช้บริการฟรีจะได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

ขณะที่ อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รวม 30 สถานีนั้น ราคาเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท ส่วนผู้สูงอายุ ราคาเริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 23 บาท โดยราคาดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. แล้วเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 และเป็นไปตามสัญญาฯ ราคาค่าโดยสาร ซึ่งอยู่ที่ 14-42 และเมื่อรวมกับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในปัจจุบันจึงเป็น 15-45 (ข้อมูล ณ ม.ค.2566)

สำหรับบรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายที่ 2 ที่จะเปิดให้เปิดบริการในประเทศไทย เป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง ระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก เขตมีนบุรี และ จ.นนทบุรี มีระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร (กม.) รวมทั้งหมด 30 สถานี

นอกจากนี้ NBM ผู้รับสัมปทาน ได้มีการขยายเส้นทางเพิ่มขึ้นอีก 2 สถานี ระยะทาง 3 กม. ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (ชาเลนเจอร์ อาคาร 1) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยและทำงานอยู่ในเมืองทองธานีกว่า 300,000 คน รวมถึงผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมที่มีกว่า 10 ล้านคนต่อปี ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2568

และยังเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางที่สำคัญอีกหลายเส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01), รถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่สถานีหลักสี่ (PK14), รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี (PK30)

ดังนั้น โครงการสายสีชมพูถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและแก้ไขปัญหาจราจร ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ รฟม.เร่งรัดการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ให้สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้โดยเร็ว เพื่อเติมเต็มโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างไร้รอยต่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น.

 

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า