บันทึกหน้า 4

กระบวนการผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนบาท นอกจากต้องผ่านกฎหมายหลายตัวที่เกี่ยวข้องกับวินัยการเงินการคลังของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินต่างๆ อีกทั้งยังมีกำแพงอีกหลายด่าน ไม่ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลจะถอดใจก่อนหรือไม่ วุฒิสภา องค์กรอิสระ อาทิ กกต. ป.ป.ช. สตง. และศาลรัฐธรรมนูญเป็นด่านสุดท้าย 

แต่เมื่อถามว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนใด และร่างเสร็จหรือยัง ถาม รมช.การคลัง "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์" ก็บอกว่ายังไม่ได้ยกร่าง จึงต้องตีความกันว่า รัฐบาลเพื่อไทยคงรอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้แนะเรื่องข้อกฎหมายก่อน จึงจะมีการยกร่างออกมา   

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายอีกประเด็นที่หลายคนกังขาโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทว่า ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดอาจไม่ใช่ประชาชนเงินเดือนต่ำกว่า 7 หมื่นบาท และมีบัญชีเงินฝากไม่ถึง 5 แสนบาท แต่ผลประโยชน์สุดท้ายตกไปที่บรรดาเจ้าสัวค้าปลีกไม่กี่ตระกูลของประเทศนี้  

ผ่านบรรดาห้างร้านค้าปลีกต่างๆ ที่อยู่ในระบบภาษี ที่ล็อกเงื่อนไขเอาไว้ ขณะที่ร้านค้าเล็กๆ แม้ว่าจะเข้าร่วมโครงการได้ แต่เมื่อไม่อยู่ในระบบภาษี ก็ไปแลกเงินดิจิทัลไม่ได้ อย่างมากก็ใช้สิทธิเงินหมื่นบาทไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จากร้านสะดวกซื้อของเจ้าสัวอยู่ดี 

จึงมีการวิจารณ์กันหนาหู รัฐบาลเพื่อไทยทุ่ม 5 แสนล้านประเคนให้บรรดาเจ้าสัวใช่หรือไม่ ล่าสุดทราบมาว่าบรรดาเครือข่ายและองคาพยพต่างๆ ของเจ้าสัว ส่งเสียงเชียร์และสนับสนุนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น แบบสุดลิ่มทิ่มประตู โดยไม่สนใจว่าสุดท้ายหนี้จะตกอยู่ที่ประชาชนที่ต้องแบกเอาไว้ เรื่องนี้ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกฯ และ รมว.การคลัง จะทราบหรือไม่

ถามกันให้แซ่ดว่า หากสุดท้ายร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทไม่ผ่านจะทำอย่างไร หลังนักวิชาการออกมาส่งเสียงให้แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง แม้ไม่มีกฎหมายเขียนไว้ก็ตาม ด้านหนึ่งคือ นายกฯ ยุบสภา และอีกกรณีคือ นายกฯลาออก 

ส่วนจะเลือกทางนั้นไหน เข้าใจว่านายกฯ ไม่มีสิทธิ์เลือก เพราะผู้กำหนดชะตากรรมก็คือนายใหญ่ชั้น 14 อาจจะเลือกให้อยู่ต่อก็ได้ แต่หากเกิดกระแสกดดันมากๆ อาจจะให้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ รัฐบาลไปต่อได้ โดยอาจ ดัน "อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยขึ้นทำหน้าที่ แต่ก็มีความเสี่ยงเกิดขึ้นเช่นกัน หากขึ้นมาแล้วไม่ปัง ก็มีแต่ทรุด เอาไปขายเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ได้ และจุดอ่อนสำคัญคือ เป็นร่างทรงของนายใหญ่ ของแสลงฝ่ายอนุรักษนิยมเดิม ก็ยังกลับตัวไม่ได้  

หรือนายใหญ่อาจเลือกแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคร่วมรัฐบาลมาขัดตาทัพก่อน เพื่อหลบกระแสความล้มเหลวของดิจิทัลวอลเล็ต แต่หนทางเลือกให้นายกฯ ยุบสภา ปิดประตูไปได้เลย เพราะหากเลือกตั้งในเวลานี้ บอกตามตรงกระแสยังสู้พรรคก้าวไกลไม่ได้นั่นเอง และนายกฯ นิดก็ไม่อยากเจอวิบากกรรมไล่หลังยามลงจากหลังเสือ   

กลายเป็นหนังเรื่องยาว หลังอนุกรรมการรับฟังความเห็นเพื่อทำประชามติ ที่มี "นิกร จำนง" เป็นประธาน เตรียมเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นต่างเรื่องรัฐธรรมนูญ 60 ที่มีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ พิจารณาเสนอแก้ไขมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ประชามติ ในการประชุมวันที่ 24 พ.ย.นี้ 

เพราะไม่ต้องการตกม้าตาย เนื่องจากกฎหมายเดิมวางกับดักสองชั้นเอาไว้ คือ ด้านแรกต้องมีคนมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่ง หรือ 23 ล้านคน จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประมาณ 56 ล้านคน  และด่านสอง ต้องมีเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ หรือ 13 ล้านคน ซึ่ง "นิกร" ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะผ่าน เพราะประชาชนอาจไม่มีส่วนร่วมและอินเรื่องรัฐธรรมนูญ หากเทียบกับการเลือกตั้งที่ประชาชนยอมเดินทางกลับภูมิลำเนามาใช้สิทธิ์ แถมยังมีแรงจูงใจอื่นๆ มากกว่าด้วย  

ฉะนั้นหากไม่มีการแก้ไขกฎหมายประชามติ หากทำไปแล้วไม่ผ่านตั้งแต่ด่านแรกก็เท่ากับปิดฉากการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไปในทันที และรัฐธรรมนูญ 60 จะมีความชอบธรรมมากขึ้นและยากในการแก้ไข ซึ่ง “นิกร" ยอมรับว่าเป็นประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้น ส่วนใครจะมองเป็นวิธีเตะถ่วงหรือไม่ ก็คิดได้เช่นกัน.

 

ช่างสงสัย 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร

อ่อนกว่าวัย

ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้

บันทึกหน้า 4

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง

บันทึกหน้า 4

” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา

บันทึกหน้า 4

พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป