ประเด็นโต้แย้งของฝ่ายผลักดันกับคัดค้านนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล เป็นเรื่องราวที่ร้อนแรงเกือบทุกวงการ
ผมนั่งเก็บข้อกล่าวอ้างของรัฐบาลและเสียงต่อต้านของหลายฝ่าย หลังกรณีนักวิชาการและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้เหตุผลคัดค้าน แล้วก็เห็นว่านี่เป็นโอกาสที่คนไทยจะได้ฟังความเห็นที่แตกต่างด้านเศรษฐศาสตร์, สังคม และการเมืองกันอย่างคึกคัก
เลขาธิการนายกฯ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ออกมายืนยันตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยกำลัง “ทรุดหนักสุด ฟื้นช้าสุด”
มีความจำเป็นจะต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เพราะนี่คือการปั๊มหัวใจ ไม่อาจจะใช้วิธี “หยอดน้ำข้าวต้ม” ได้อีกต่อไป
เหตุผลที่ “หมอมิ้ง” และแกนนำพรรคเพื่อไทยนำมาสนับสนุนความจำเป็นที่ต้องกู้เงิน 5 แสนล้านบาท ผ่าน พ.ร.บ.กู้เงินก็มีประเด็นเรื่องความย่ำแย่ของดัชนีเศรษฐกิจมากมายหลายตัว
เช่น ตัวเลขเดียวที่พุ่งสูงขึ้นคือ หนี้ครัวเรือนไทย อยู่ที่ 91.6% ของจีดีพี (ณ ไตรมาส 1 ของปี 2566) โดยสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย
ส่วนตัวเลขอื่นๆ มีแต่ถดถอย-ตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ ซึ่งตกต่อเนื่อง จาก 6.41% (ณ เดือน ก.ย.2565) มาอยู่ที่ 5% (ณ เดือน ม.ค.2566) และ 0.30% (ณ เดือน ก.ย.2566)
มิหนำซ้ำหมอมิ้งยังเชื่อว่าการแจกเงินก้อนใหญ่นี้จะทำให้เกิด “พายุหมุน” ทางเศรษฐกิจถึง 3.33 รอบ
สมมติฐานของรัฐบาลคือ การเติมเงินดิจิทัลให้แก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 70,000 บาท จะทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ 3.33 รอบ มีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โตได้ 1-1.5% หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1.7 ล้านล้านบาท
รอบแรก อัดฉีดเม็ดเงิน 500,000 ล้านบาท ใน 6 เดือนแรก ให้ประชาชนใช้จ่าย และยังขึ้นเงินไม่ได้
รอบสอง ร้านค้าเริ่มขึ้นเงินได้ใน 6 เดือนที่ 2 แต่รัฐบาลจะมีมาตรการจูงใจให้ยังไม่ขึ้นเงิน เพื่อให้เงินอยู่ในระบบ แล้วหมุนต่อไปเป็นรอบ 3 รอบ 4 จนถึงปี 2570 ถึงขึ้นเงิน
กว่าจะถึงตอนนั้น นพ.พรหมินทร์มั่นใจว่า “จีดีพีจะโตไปแล้ว”
ความเห็นแย้งช่วงหลังมาจากหลายคนที่เคยบริหารการคลังมาก่อน เช่น คุณกรณ์ จาติกวณิช
คุณกรณ์เขียนใน Facebook ยืนยันว่า คัดค้านอย่างเต็มที่ และการออก พ.ร.บ.“กู้มาแจก” นี้ “ขัดต่อหลักวินัยการคลังอย่างให้อภัยไม่ได้จริงๆ”
ในบทวิเคราะห์นั้น คุณกรณ์เขียนว่า :
ตอนพรรคเพื่อไทยเสนอนโยบายแจกเงินดิจิทัล เพื่อไทยพูดชัดมากว่า จะไม่กู้ “ทุกบาทจะมาจากงบประม าณ”
ถึงวันนี้ เมื่อตระหนักชัดเจนแล้วว่า เงินงบประมาณมีไม่พอสำหรับเรื่องนี้ หากยังจะดันทุรังเดินต่อ ผมเกรงว่าปัญหาจะเกิด
ถ้าผ่านด่านกฎหมายแล้วกู้ได้ แจกได้ ก็จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ
ถ้าเจอตอกฎหมาย ปัญหาก็จะเกิดกับเพื่อไทย และรัฐบาลโดยรวม (หากผ่านมติ ครม.มาแล้ว)
มีคนเพื่อไทยเชียร์ว่า #กู้มาแจก ไม่เห็นเป็นอะไร ถ้ากระตุ้นเศรษฐกิจไม่สำเร็จ เงินนี้ก็ไม่ได้ไปไหน หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจอยู่ดี (!) จุดนี้อันตรายครับ พูดเหมือนว่า ‘หนี้’ คือ ‘รายได้’ ที่ไม่ต้องคืน และพูดเหมือนไม่รู้ว่า มันมีต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงมาก!
สำคัญที่สุด การออก “พ.ร.บ.กู้มาแจก” เป็นวิธีการที่ขัดต่อหลักวินัยการคลังอย่างให้อภัยไม่ได้จริงๆ และผมเชื่อว่าส่อขัดหลักกฎหมายด้วย
ผมขอย้อนเล่าให้ฟังถึงกรณีใกล้เคียงที่เคยเกิดขึ้น เคยมี 2 รัฐบาลที่คิดจะออก “พ.ร.บ.กู้เงิน“ หนึ่งในนั้นคือรัฐบาลอภิสิทธิ์ ช่วงนั้นมีวิกฤตเศรษฐกิจระดับโลก ทำให้เศรษฐกิจไทยเราติดลบหนัก ส่งผลให้รายรับรัฐบาลตํ่ากว่าประมาณการสูง จึงจำเป็นต้องกู้นอกงบประมาณมาเติมให้เต็ม และเป็นข้อบังคับตามกฎหมายทางการคลัง
มิหนำซ้ำตอนนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนมาก ผมจึงเสนอคุณอภิสิทธิ์ให้ออก พ.ร.ก.เร่งด่วนแทน (พ.ร.ก.ออกโดยอำนาจฝ่ายบริหาร ส่วน พ.ร.บ.ต้องผ่านสภาฯ)
คุณอภิสิทธิ์ถามผมว่า “ควรออกเท่าไร?”
เนื่องจากสถานการณ์วันนั้นยังไม่นิ่ง กระทรวงการคลังเลยเสนอเผื่อเหลือเผื่อขาดไป 8 แสนล้านบาท
นายกฯ อภิสิทธิ์ถามผมต่อว่า “เร่งด่วน และใช้ทันทีจริงๆ เท่าไร” พวกเรากลับมาทำการบ้าน แล้วกลับไปตอบว่า “4 แสนล้านบาท”
นายกฯ อภิสิทธิ์เลยสรุปว่า “ถ้างั้นออก พ.ร.ก.แค่ 4 แสนพอ ส่วนอีก 4 แสนไปเตรียมออกเป็น พ.ร.บ.แทน”
ซึ่งหลังจากเราได้ใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.ไปแล้ว เศรษฐกิจก็ดีขึ้นมาก รายได้รัฐบาลฟื้นตัว ผม รองนายกฯ กอร์ปศักดิ์ และคุณอภิสิทธิ์ จึงตัดสินใจ *ยกเลิกแผนการออก พ.ร.บ. และโอนรายการที่เตรียมใช้เงินกู้ พ.ร.บ.ไปไว้ในงบประมาณปกติแทน*
ทั้งหมดเพราะ พ.ร.ก.มีไว้ในกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ (ตามนิยามรัฐธรรมนูญ) และการกู้จาก พ.ร.บ.ยิ่งไม่ควรทำ เพราะอาจขัดต่อหลักกฎหมายหนี้สาธารณะที่มีกติกาชัดเจนว่ารัฐบาลขาดดุลได้ปีละไม่เกินเท่าไร
ถ้าให้อธิบายง่ายๆ กฎหมายระบุไว้ว่า รัฐบาลขาดดุลเกินเพดานที่กำหนดในกฎหมายไม่ได้ นอกจากให้ออกเป็น พ.ร.ก.ซึ่งต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า “ด่วนจริง จำเป็นจริง”
การออกเป็น พ.ร.บ.กู้มาแจก จึงไม่เคยมีใครทำ และไม่ควรทำได้ เพื่อไทยรู้ดีเพราะเป็นรัฐบาลที่ 2 ที่คิดจะออก พ.ร.บ.กู้เงิน (กรณีกู้เงิน 2 ล้านล้าน) ผมเป็นหนึ่งในคนที่ทำเรื่องยื่นศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับอีกหลายท่าน ซึ่งตอนนี้ก็นั่งอยู่ในพรรคร่วมของรัฐบาลเศรษฐาด้วย
ผลสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีกฎหมายนี้ตกไป เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญหมวดวินัยการคลัง
ผมยืนยันตามความคิดเดิมที่พูดไว้ตั้งแต่มีการหาเสียงนโยบายนี้ว่า อันตราย และยิ่งเมื่อยืนยันแล้วว่าเงินไม่มี ต้องอาศัยเงินกู้ ยิ่งต้องหลีกเลี่ยงด้วยเหตุผลทั้งปวง
(พรุ่งนี้ : เงินแจก 5 แสนจะทำให้เงินหมุน 3.3 เท่าจริงหรือ?”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ