หลายหน่วยงานได้มีการปรับคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ส่วนใหญ่ดีขึ้นจากคาดการณ์เดิม หลังจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลเองก็ได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หลายๆ ปัจจัยช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายต่างมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าไตรมาส 3/2564 ที่ขยายตัวติดลบ 3% หลังจากเจอสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กดดันอย่างหนัก
โดย “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.การคลังได้ออกมาระบุว่า ปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้อย่างน้อย 1% หลังรัฐบาลได้เดินหน้านโยบายเปิดประเทศ
ซึ่งถือเป็นการดำเนินนโยบายแบบคู่ขนานระหว่างการดูแลด้านสาธารณสุขและสร้างความสมดุลในการดูแลด้านเศรษฐกิจไปด้วยกัน ขณะเดียวกันการส่งออกที่จะยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 คาดว่าส่งออกของไทยจะเติบโตได้ถึง 17% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี ส่วนมาตรการภาครัฐในการเยียวยาและบรรเทาภาระของประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน เราชนะ รวมถึงโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างช้อปดีมีคืน คนละครึ่ง และยิ่งใช้ยิ่งได้นั้น ก็ช่วยให้การใช้จ่ายของประชาชนยังขยายตัวได้ แม้จะไม่เต็มร้อยก็ตาม ส่วนปี 2565 กระทรวงการคลังมองว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ถึง 4%
ทั้งนี้ ในปี 2565 แม้หลายฝ่ายประเมินว่าสถานการณ์ต่างๆ จะเริ่มคลี่คลายลง และเศรษฐกิจจะเดินเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว แต่ก็จะยังมีอีกหลายปัจจัยให้ต้องติดตาม เพราะอาจมีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจได้ โดย ttb analytics ได้ออกมาชี้ให้เห็นถึง 3 ปัจจัยท้าทายสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจการเงินไทยที่ต้องเร่งรับมือ
โดย ttb analytics ระบุว่า ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวต่อเนื่องตามการส่งออกสินค้าและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลาย โดยมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเปิดประเทศที่เป็นไปตามแผน และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทิศทางเพิ่มขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงจากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนก็ตาม ซึ่ง ttb analytics ประเมินว่า ปัจจัยบวกเหล่านี้จะส่งผลดีไปยังโมเมนตัมเศรษฐกิจปี 2565 ให้ฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นกรณีที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญจนต้องเข้าสู่ภาวะล็อกดาวน์อีกครั้ง
ส่วนความท้าทายด้านเศรษฐกิจการเงินในปี 2565 ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้ทัน เพื่อรักษาเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจระยะยาวให้ได้หลังยุคโควิด-19 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1.จุดอ่อนของภาคเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากความผันผวนของต้นทุนด้านอุปทานที่จะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อไทยมากขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนนำเข้าจากต่างประเทศ, ปัญหาโครงสร้างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กระจุกตัวอยู่ในบางประเทศมีอัตราสูง โดยเฉพาะจีนและกลุ่มอาเซียน ทำให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวเผชิญกับความอ่อนไหวเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
2.ความท้าทายจากการปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายในระดับโลก จากการเปิดกว้างทางการค้าระหว่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย และแนวนโยบายร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะมีผลให้ภาคธุรกิจและภาครัฐประเทศต่างๆ ต้องแสวงหาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนพลังงานสะอาด พร้อมออกนโยบายสนับสนุนวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากธุรกิจและนโยบายประเทศใดปรับตัวสอดรับไม่ทันอาจต้องเผชิญการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนได้
และ 3.ความท้าทายจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทั้งการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) การซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์การทำงานและประชุมผ่านระบบออนไลน์จากบ้านมากขึ้น อีกทั้งยังขยายฐานจำนวนผู้คนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อสินค้าและบริการบนระบบออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญและโอกาสของธุรกิจใหม่นับจากนี้เป็นต้นไป.
ครองขวัญ รอดหมวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research