การศึกระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังต่อต้านรัฐบาลกลางที่กำลังดำเนินอยู่อย่างร้อนแรงทางเหนือของพม่าติดชายแดนจีนมีความน่าสนใจเพราะอาจจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสมการแห่งอำนาจในเมียนม่า
บริเวณรัฐฉานทางเหนือนั้นมีความซับซ้อนเรื่องผลประโยชน์มากมายหลายด้าน
ประการแรกเป็นจุดที่ตั้งชายแดนพม่า-จีนซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีธุรกิจ “สีเทา” อยู่เต็มไปทั่ว
แต่ขณะเดียวกันก็ยังเป็นฐานที่มั่นของกองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธโกก้างซึ่งเป็นที่รู้กันมายาวนานว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน
เพราะเป็นชาติพันธุ์ที่มีเชื้อสายจีนมาแต่ดั้งเดิม
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจีนจึงเป็นผู้ลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการ
ไม่ว่าจะเป็นท่อก๊าซความยาว 800 กิโลเมตร เพื่อขนส่งก๊าซและน้ำมันจากรัฐยะไข่ ผ่านมัณฑะเลย์และรัฐฉานตอนเหนือเข้าไปในดินแดนจีน
ที่มีบทบาทสำคัญอีกโครงการหนึ่งคือเขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนชายแดนรุ่ยลี่-มูเซ
รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chin Shwe Haw Border Business Zone)
และโครงการสร้างสะพานเพื่อเชื่อมหุบเขาก๊อกเต๊กกับเมืองคุนหลง
เมื่อมีการต่อสู้กันรุนแรงในบริเวณนี้ ทางการจีนก็ย่อมจะเป็นห่วงว่าจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของตน
ที่ผ่านมาจีนพยายามจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับกองกำลังโกก้างและว้าด้านหนึ่ง
และอีกด้านหนึ่งก็คบหากับรัฐบาลทหารพม่าของมิน อ่อง หล่ายอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
เรียกว่าแทงม้าทุกตัวเพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของตนในบริเวณชายแดนแห่งนี้
ปักกิ่งพอจะอุ่นใจได้บ้างเมื่อ The Brotherhood Alliance ออกแถลงการณ์ร่วมว่าทหารติดอาวุธของกลุ่มตนจะช่วยกันดูแลโครงการต่าง ๆ ของจีนในบริเวณนี้
และจะพยายามไม่ให้นักลงทุนจากจีนต้องได้รับผลกระทบจากการสู้รบในเขตชายแดนพม่า-จีนด้วย
แต่จะเน้นไปที่การปราบปรามอาชญากรรมที่โยงไปถึงการลักพาตัวเรียกค่าไถ่
อันเป็นปรากฏการณ์ที่มีขึ้นบ่อย ๆ ในเขตของโกก้างซึ่งมีผลกระทบต่อนักธุรกิจฟจีนไม่น้อย
ดังนั้น การที่พันธมิตร 3 ฝ่ายประกาศจัดการกับอาชญกรรมด้านนี้จึงคล้ายกับเป็นการช่วยปกป้องธุรกิจจีนอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
การรุกอย่างร้อนแรงของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ได้ปิดกั้นถนนสายสำคัญทางยุทธศาสตร์ 2 เส้นที่มุ่งหน้าสู่จีน คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ
มีผลขัดขวางการค้าข้ามพรมแดน และการปฏิเสธภาษีของรัฐบาลทหารและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
สำนักข่าวชายขอบรายงานว่าการต่อสู้ดำเนินไปทั่วทั้งรัฐฉานทางตอนเหนือเป็นเวลา 2 สัปดาห์
สหประชาชาติรายงานว่าส่งผลให้มีผู้พลัดถิ่นเกือบ 50,000 คน
และก่อให้เกิดความท้าทายทางทหารที่ร้ายแรงที่สุดต่อมิน อ่องหล่ายนับตั้งแต่พวกเขายึดอำนาจในปี 2564
การปิดเส้นทางคมนาคมสำคัญกำลังส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น
และขัดขวางศักยภาพของรัฐบาลทหารในการส่งกำลังเสริมเพื่อรับมือกับการโจมตี
“เราไม่ได้เห็นรถบรรทุกสินค้าใดๆ เลยนับตั้งแต่การสู้รบเริ่มต้นขึ้น” เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ชาวเมืองมิวส์บริเวณชายแดนติดกับจีน กล่าวกับเอเอฟพี
ชาวบ้านรายงานว่าได้ยินเสียงปืนใหญ่และปืนดังมาจากเมืองเป็นประจำ
โดยปกติ ก่อนหน้านี้จะมีรถบรรทุกหลายร้อยคันต่อวันจะผ่านเข้าเมืองเพื่อนำผักและผลไม้เข้าประเทศจีน หรือนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยา และสินค้าอุปโภคบริโภคกลับมา
ในเมืองลาเสี้ยว ซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 160 กิโลเมตร ชาวบ้านเล่าว่าการสู้รบทำให้รู้สึกได้ถึงผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน
ข้าวหนึ่งถุงมีราคา 160,000 จ๊าต (2,660 บาทโดยประมาณ) ก่อนการต่อสู้ขึ้นมาเป็น 190,000 จ๊าด
ชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่า “ถ้าการสู้รบลากยาวยืดเยื้อไป เราก็จะรอดยาก”
การขนย้ายสินค้าจากเมืองมิวส์ได้หยุดชะงักลงนับตั้งแต่นักรบจากกองทัพอาระกัน (AA), กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาร์ (MNDAA) และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ Ta'ang (TNLA) เปิดฉากการรุกเมื่อวันที่ 27 ต.ค.
ส่วนชินชเวฮอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอีกแห่งหนึ่งบริเวณชายแดนติดกับมณฑลยูนนานของจีน ก็ปิดทำการเช่นกัน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว MNDAA ได้โพสต์ภาพนักรบของตนชูธงที่ประตูชายแดน ต่อมารัฐบาลทหารยอมรับว่าสูญเสียการควบคุมเมืองไปแล้ว
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุว่าปักกิ่ง "เข้าใจ" ว่าโครงสร้างพื้นฐานของตนไม่ได้รับผลกระทบจากการปะทะกัน
นับตั้งแต่รัฐประหาร รัฐบาลทหารพม่าได้พยายามปรับทิศทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ให้ห่างจากประเทศตะวันตกที่คว่ำบาตรนายพลและธุรกิจของพวกเขา
และพยายามกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางของพม่าได้ประกาศเปิดตัวบริการชำระเงินระหว่างธนาคารข้ามพรมแดน ที่จะ "เพิ่มการค้าและการลงทุนทวิภาคี" กับจีน
แต่พอถึงตอนนั้น การต่อสู้ได้ปะทุขึ้นตามแนวชายแดนแล้ว ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยใกล้ชายแดนต้องหลบหนีเข้าจีนและปิดกั้นระบบขนส่งท้องถิ่นหนักขึ้นอีก
การปิดพรมแดนที่นานขึ้นจะส่งผลเสียต่อดุลการค้า บัญชีกระแสรายวัน และความพร้อมในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของเมียนมาร์อย่างแน่นอน
รัฐบาลทหารที่ขาดแคลนเงินสดตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังที่จะแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่านำเข้า
นักวิเคราะห์ด้านยุทธศาสตร์มองว่าสิ่งที่มีความเร่งด่วนกว่านั้นคือการสูญเสียการควบคุมถนนที่ทหารใช้ส่งทหาร
สิ่งที่ตามมาก็คือการส่งกำลังทหารไปยังรัฐฉานทางตอนเหนือกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น
กองทัพต้องอาศัยเฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งกำลังเสริมไปยังพื้นที่บริเวณชายแดน
และหากแม้จะสามารถโจมตีทางอากาศเพื่อยึดที่มั่นต่างๆ กลับคืนมาได้ แต่ก็อาจเสี่ยงทำให้จีนเคืองได้เพราะการสู้รบอาจจะทำลายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญไปด้วย
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทางเหนือของพม่าติดกับจีนจึงอาจจะเป็นดัชนีชี้วัดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญใน “สงครามกลางเมือง” ของประเทศนั้น
ซึ่งจะมีผลต่อความพยายามของไทยและอาเซียนที่จะช่วยคลายวิกฤตของเพื่อนบ้านทางตะวันตกของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้เลย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ