EPRช่วยธุรกิจสู่ความยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate change ที่รุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนกลายเป็นโจทย์สำคัญให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน ตามกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปเพราะทรัพยากรที่ใครๆ คิดว่ายังมีเหลือไม่จำกัดกำลังจะหมดลง และที่สำคัญคือ การดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโต โดยเน้นกำไรเป็นหลักนั้นจะไม่ใช่คำตอบของธุรกิจในอนาคต ดังนั้นภาคธุรกิจต้องปรับกลยุทธ์และทิศทางให้มองความยั่งยืน (Sustainability) ของสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มากขึ้น

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้พัฒนาเทคโนโลยีและปรับนโยบายให้มุ่ง Net Zero หรือการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และยังประกาศกฎระเบียบใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจหรือผู้ส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อย หรือ SME ที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว เช่นเดียวกับประเทศไทยเองก็เริ่มพัฒนาแผนและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน

ดังเช่นกรณีการแก้ไขปัญหาขยะ ได้มีการนำหลักการ Extended Producer Responsibility (EPR) หรือการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตมาเป็นเครื่องมือในการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และสินค้า เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ใหม่หรือผลิตใหม่ได้ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจของไทยเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ภาคเอกชนอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. โดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ TIPMSE เป็นเครือข่ายสำคัญของไทยที่เป็นตัวกลางในการทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจไทยปรับตัวรองรับกติกาสากล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำหนดเป้าหมายภายในปี ค.ศ.2030 หรือปี พ.ศ.2573 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในตลาดอียูต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล

พร้อมกันนี้ยังกำหนดให้ปี พ.ศ.2567 ประเทศสมาชิกจะต้องเข้าร่วม โครงการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ EPR เพื่อให้ผู้ผลิตรับผิดชอบตลอดช่วงชีวิตของบรรจุภัณฑ์ โดยทยอยเพิ่มสัดส่วนการนำกลับมารีไซเคิลของบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปี ซึ่งแม้ว่าอียูจะไม่บังคับใช้กฎหมายนี้กับประเทศที่ 3 ที่เป็นคู่ค้าส่งออกไปยังยุโรป แต่เชื่อว่าในอนาคตจะต้องนำมาใช้แน่นอน

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา TIPMSE ได้สร้างความเข้าใจต่อผู้ผลิต และเชิญชวนเข้าร่วมขับเคลื่อนและกำหนดรูปแบบ EPR ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ผลักดันให้ผู้ผลิตเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ในขั้นของภาคสมัครใจ ผ่านโครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน เพื่อเรียนรู้และเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ภาคบังคับต่อไป

โดยโครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน มีการดำเนินงานใน 4 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การพัฒนากลไกด้านนโยบายของประเทศ ตลอดจนการจัดทำระบบฐานข้อมูล, การทดลองดำเนินการเก็บกลับโดยภาคเอกชนในพื้นที่นำร่อง 3 เทศบาล จ.ชลบุรี, การสื่อสารและสร้างความเข้าใจเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่นๆ และการขยายความร่วมมือกับผู้ผลิต

ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ในงาน SX2023 ได้จัดกิจกรรม PackBack in action รวมพลังขับเคลื่อน Voluntary EPR โดยมีองค์กรเข้าร่วมแสดงเจตจำนงเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 98 องค์กร และมีการประกาศความร่วมมือของ 4 องค์กรภาคี ได้แก่ PPP Plastics, PRO Thailand Network, Aluminium Closed Loop Packaging System (Al Loop) และ TIPMSE PackBack ซึ่งต่างมีโครงการที่ช่วยหนุนเสริมกลไก EPR ให้ได้มาจับมือร่วมกันดำเนินโครงการ EPR ภาคสมัครใจอีกด้วย 

ซึ่ง โฆษิต สุขสิงห์ รองประธาน ส.อ.ท. ในฐานะประธาน TIPMSE ระบุว่า การนำหลัก EPR สู่การขยายเครือข่ายร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วหลังการบริโภคกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ จะตอบสนองเป้าหมายในการป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ดังนั้น เครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นเป็นแกนหลักที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่แค่การเพิ่มขีดความสามารถให้กับระดับองค์กร หากแต่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศเพื่อก้าวผ่านกติกาของโลก อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้กับระบบเศรษฐกิจที่จะเติบโตแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร