บันทึกหน้า 4

หลังจาก “เศรษฐา ทวีสิน” นายกฯ และ รมว.คลัง แถลงประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ กระบวนการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ต่างๆ โดยเฉพาะห่วงว่าจะสะดุดด้วยเงื่อนไขทางกฎหมายและเหตุผลทางการเมือง

เริ่มที่พรรคร่วมรัฐบาล จะยอมตรากฎหมายลุยไฟไปกับพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่ โดยที่ตัวเองไม่ได้แต้มทางการเมือง สุ่มเสี่ยงติดคุกด้วยหรือไม่ จึงมีเสียงแซวว่า ระวังเมื่อครั้งที่เรื่องเข้าครม. อาจเห็นรัฐมนตรีพรรคร่วมโดดประชุม หรือในกรณีขั้นตอนพิจารณาในสภา สส.พรรคร่วมอ้างป่วยการเมือง เพราะหวั่นถูกเช็กบิลภายหลัง รวมถึงยังมีเสียงจากวุฒิสภาออกมาส่งเสียงเตือนว่าจะซ้ำรอยเงินกู้ 2 ล้านล้านยุคยิ่งลักษณ์ ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญคว่ำกฎหมาย

นโยบายแจก 1 หมื่นนี้ ยังอยู่ในสายตาขององค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. สตง. โดยมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ว่า เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ ให้ผู้ว่าการ สตง.เสนอผลการตรวจสอบการกระทําที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง ต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการฯ เห็นพ้องด้วยกับผลการตรวจสอบ 

ให้คณะกรรมการฯ จัดให้มีการประชุมร่วมกับ กกต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อปรึกษาหารือร่วมกัน ในกรณีที่ที่ประชุมร่วมมีมติเห็นพ้องกับผลการตรวจสอบดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการที่ลงคะแนน ให้ประธาน คตง., ประธาน กกต. และประธาน ป.ป.ช. ร่วมกันลงนามในหนังสือแจ้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบโดยไม่ชักช้า และให้เปิดเผยผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อประชาชนเพื่อทราบด้วย

ส่วนข้อกฎหมายที่จะต้องฝ่าด้านให้ได้ เบื้องต้นคือ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 53 ที่ต้องพิจารณาว่าเข้าเงื่อนไข 4 ประการ คือ เร่งด่วน, ต่อเนื่อง, แก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ, ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ทัน หรือไม่   

"คํานูณ สิทธิสมาน" สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ว่า "ต้องบอกด้วยความเคารพว่า แทบจะไม่เข้าสักประการ" 

หนึ่ง - ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนจริงทำไมไม่ตราเป็นพระราชกำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันที การตราเป็นพระราชบัญญัติต้องผ่าน 2 สภา สภาละ 3 วาระ และอาจมีขั้นตอนของศาลรัฐธรรมนูญอีก สอง – โครงการนี้ไม่ได้ต้องการใช้เงินต่อเนื่อง แต่ใช้ครั้งเดียวทั้ง 5 แสนล้านบาทแจกเข้าบัญชีประชาชน 50 ล้านคน

สาม - วันนี้ประเทศไม่ได้ประสบปัญหาวิกฤต อย่างน้อยหากเปรียบเทียบกับยุคโควิด 19 สี่ - ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเลย โดยเงื่อนเวลาสามารถปรับยอดการใช้จ่ายโครงการนี้เข้าไปได้ ซึ่งก็จะตรงกับที่พรรคเพื่อไทยชี้แจงแหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ในโครงการนี้ไว้กับ กกต. เมื่อปลายเดือนเมษายน 2566

ทั้ง 4 ประการนี้มีเพียงประการที่ 3 ว่าด้วย “วิกฤต” เท่านั้นที่พอเถียงกันได้ โดยรัฐบาลอาจมองได้ว่าการที่ GDP ของประเทศโตในระดับต่ำถือเป็นวิกฤตที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน ถามว่าใน 4 ประการนี้มีประการไหนสำคัญสุดหรือไม่ น่าจะเป็นประการที่ 4

เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้มีขึ้นเพื่อป้องกันการออกกฎหมายพิเศษกู้เงินและใช้เงินกู้นั้นไปนอกงบประมาณแผ่นดินทันทีโดยปราศจากเงื่อนไข จึงเพิ่มเงื่อนไขไว้ 4 ประการด้วยกัน โดยประการสุดท้ายที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้กำหนดว่าต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่อาจตั้งงบประมาณการใช้จ่ายไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินอยู่ภายใต้กรอบของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังคาอยู่ ปรับแก้ได้ทัน จะมาออกพระราชบัญญัติกู้เงินอีก 5 แสนล้านบาท ดูอย่างเอาใจช่วยอย่างไรก็ไม่น่าชอบด้วยมาตรา 53

ฉะนั้น เบื้องต้นคงต้องดูว่ากฤษฎีกาให้ความเห็นอย่างไร เพราะเป็นเพียงผู้ให้ความเห็นเท่านั้น ต่างจากศาลรัฐธรรมนูญที่ยุติเรื่องและให้คุณให้โทษตามมา แต่ดูแล้วสุ่มเสี่ยง รัฐบาลเพื่อไทยก็จะลุยไฟไปให้ถึงที่สุด เพราะอย่างน้อยก็ได้ผลักดันจนสุดทางแล้ว ดังที่ “เจ๊ไหม” ศิริกัญญา ตันสกุล จากค่ายก้าวไกลออกมาดักคอ.

 

 

ช่างสงสัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร

อ่อนกว่าวัย

ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้

บันทึกหน้า 4

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง

บันทึกหน้า 4

” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา

บันทึกหน้า 4

พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป