หากรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จะทำให้เกิดความโปร่งใสสำหรับโครงการแจกเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet ก็ควรจะเปิดเผยรายละเอียดของการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เรื่องนี้เมื่อเช้าวันศุกร์
ก่อนที่คุณเศรษฐาจะแถลงข่าวบ่ายวันเดียวกันนั้น
เพราะบรรยากาศของการประชุมวันนั้นค่อนข้างจะตึงเครียด
และไม่มีมติให้นายกฯ ประกาศว่าจะออกพระราชบัญญัติกู้เงิน 5 แสนล้านบาทเพื่อแจก 50 ล้านคน
จึงเป็นเพียงการเสนอของนายกฯ ว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนดเอง โดยยังไม่ได้ผ่านคณะกรรมการชุดใหญ่อย่างเป็นทางการ
เพราะในการประชุมวันนั้น ตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นที่แตกต่างไปจากข้อเสนอของนายกฯ ในหลายประเด็น
จนทำให้คุณเศรษฐาประกาศในการแถลงข่าวว่า ทั้งหมดที่นำเสนอนั้นยังต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการและต้องผ่านคณะรัฐมนตรีก่อนจะเข้าสู่รัฐสภา
แปลว่าเรื่องไม่ใช่ Full Package และไม่ได้จบแบบ Final อย่างที่คุณเศรษฐาได้ประกาศไว้กับนักข่าวก่อนหน้านั้น
รายงานบางกระแสบอกด้วยซ้ำไปว่า คุณเศรษฐาใช้วิธีการแบบ “หักดิบ “ เดินหน้าประกาศออกไปทั้ง ๆ ที่มีคำเตือนว่าควรจะนำมาปรึกษาหารือกันให้รอบคอบเสียก่อน
รายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ ของโครงการเสร็จสิ้น
เงื่อนไขหลักของข้อเสนอของนายกฯ คือ ในโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีกรอบวงเงินกลมๆ 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะจ่ายให้คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่ถึง 7 หมื่นบาทต่อเดือน และมีเงินฝากต่ำกว่า 5 แสนบาท
โดยแหล่งเงินหลักจะใช้กลไกการออกพระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.กู้เงิน วงเงิน 5 แสนล้านบาท
คุณเศรษฐาอ้างว่าการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท จะต้องผ่านกระบวนการตีความโดยกฤษฎีกาอีกชั้นหนึ่งก่อน
เพื่อให้ “เป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม และไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”
โดยนายกฯ บอกว่ากระบวนนี้จะมีความโปร่งใส ภายใต้การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภา
และมั่นใจว่า ในที่สุดแล้วกฎหมายจะได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภา และเป็นไปตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
แต่มาตรา 53 ที่ว่านี้ระบุชัดว่า การกู้เงินนอกเหนือจากที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะให้กระทรวงการคลังทำได้
“เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่อง...เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศโดยไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน...”
คำถามใหญ่คือ รัฐบาลจะสามารถพิสูจน์ได้อย่างไรว่าการกู้เงินก้อนมหาศาลอย่างนี้มีความจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤตของประเทศ
นายกฯ บอกว่า “ทุกท่านไม่ต้องห่วงเรื่องของการใช้เงินคืน รัฐบาลจะมีแผนจัดสรรเงินงบประมาณมาเพื่อจ่ายคืนเงินส่วนที่เป็นเงินกู้ตลอดระยะเวลา 4 ปี”
ข่าวหลายกระแสบอกตรงกันว่า ในการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ตอนเช้าวันนั้น มีการแสดงความเห็นอย่างร้อนแรงในแง่ของการท้วงติงเรื่องการออกกฎหมายพิเศษกู้เงินก้อนใหญ่นี้
คนที่อยู่ในที่ประชุมเล่าให้นักข่าวฟังว่า ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แสดงความไม่เห็นด้วยในรายละเอียดของโครงการหลายประเด็น
รวมถึงการจะออก พ.ร.บ.กู้เงิน เพราะในบางส่วนอาจจะขัดต่อ พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501
และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เพิ่มอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ธปท.จับตาเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดมาตลอด
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาก็แสดงความเห็นว่าการออก พ.ร.บ.กู้เงินเป็นเรื่องใหญ่ จำเป็นจะต้องปรึกษาหารือกันให้มีความชัดเจนด้วยการรับฟังความเห็นและคำแนะนำจากหลายๆ ฝ่ายก่อนที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้เพื่อความรอบคอบและรัดกุม
จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
เงาของโครงการจำนำข้าวยุคยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงมีส่วนทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีความระมัดระวัง ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก
พูดง่ายๆ คือไม่มีใครอยากต้องติดคุกเพราะนโยบายประชานิยมที่เกินขอบเขต และใช้งบประมาณแผ่นดินก้อนใหญ่โดยไม่มีมาตรการป้องกันเอาไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น
ในที่ประชุมยังมีการยกประเด็นการทำงานของอนุกรรมการที่นายกฯ เป็นคนแต่งตั้ง แต่ดูเหมือนคณะกรรมการชุดใหญ่จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อเสนอที่มาจากอนุกรรมการเท่าไหร่นัก
ทำให้เกิดคำถามว่า กระบวนการทำงานเรื่องนี้มีความโปร่งใสและเคารพในความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ มากน้อยเพียงใด
ทั้ง ธปท.และสภาพัฒน์เน้นตลอดว่า การแจกเงินควรจะให้แบบเฉพาะเจาะจง โดยเน้นไปที่กลุ่มเปราะซึ่งเดือดร้อนกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม
ประมาณกันว่า คนเปราะบางกลุ่มต่างๆ น่าจะมีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน และหากแจกพุ่งเป้าไปเฉพาะกลุ่มนี้ก็จะใช้งบประมาณน้อยกว่าเดิมมาก
แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ตามมาช่วงบ่ายวันนั้น ก็จะเห็นว่านายกฯ เศรษฐาตัดสินใจเดินหน้าแจกเงินหมื่นให้ 50 ล้านคน
ด้วยการย้ำว่าโครงการนี้มีเป้าหมายหลักคือ การกระตุ้นการใช้จ่าย ไม่ใช่สังคมสงเคราะห์และไม่ใช่เรื่องของประชานิยม
คนที่เข้าร่วมประชุมบางคนเล่าว่า เมื่อเห็นนายกฯ เลือกเส้นทางนั้น ไม่ยอมเลื่อนการแถลงข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันให้รอบด้านก่อน ธปท.และสภาพัฒน์จึงขอให้ระบุในรายงานการประชุมว่า ทั้งสองหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับแนวทางของนายกฯ
มีข่าวว่าการประชุมใช้เวลาที่สั้นมาก เหมือนนายกฯ จะเร่งให้ปิดการประชุม จึงมีคำถามว่าเป็นการ “เร่งรีบ” เกินเหตุจนขาดความรอบคอบหรือไม่
ข่าวบอกด้วยว่าผู้ว่าฯ ธปท.ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ข้อมูลที่นำเสนอในที่ประชุมนั้นยังน้อยเกินไปที่จะทำให้มีการพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบด้าน
เมื่อเป็นเช่นนี้นายกฯ เศรษฐาก็ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้แบบเต็มตัว เพราะตัวแทนของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องวินัยการคลังและเศรษฐกิจภาพรวมได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มกำลังแล้ว
สรุปว่าโอกาสที่ พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านนี้จะผ่านน่าจะเป็นไปได้ยาก
และถึงจุดนั้นคนที่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเต็มๆ ก็หนีไม่พ้นคนชื่อ “เศรษฐา ทวีสิน”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ