แม้ว่าในปี 2566 นี้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายไปอย่างมากแล้ว คนในสังคมเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ ยอดขาย ยอดการเดินทาง ยอดท่องเที่ยวกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดโควิดแล้วก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าทุกคน ทุกธุรกิจที่ล้มไปในช่วงนั้นจะสามารถกลับมาได้ ยังมีอีกหลายกลุ่ม หลายคน ที่ถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก ปรับตัวไม่ทัน และไม่สามารถกลับมายืนได้เช่นเดิม ด้วยเหตุนี้เอง ตลอดระยะเวลาที่เกิดสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีการออกมาตรการต่างๆ จากหน่วยงานที่ต้องเข้ามาดูแลสุขทุกข์ของประชาชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เข้ามาดูแลธุรกิจอย่างกลุ่มเอสเอ็มอีมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยล่าสุดได้ทำการศึกษาเพื่อประมวลผลมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 หรือตั้งแต่ปี 2563-2565 เพื่อทราบผลจากนโยบายของภาครัฐในมิติต่างๆ ทั้งด้านความเหมาะสม ความยากง่ายในการเข้าถึง ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับ รวมถึงปัญหา-อุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา รวมถึงออกแบบนโยบายส่งเสริมเอสเอ็มอีให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา
และจากการประมวลผลโดยภาพรวม พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีรวมไม่น้อยกว่า 82 มาตรการ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐรวมกว่า 30 หน่วยงาน แบ่งเป็นกลุ่มมาตรการหลักๆ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มมาตรการส่งเสริมที่มีจำนวนมากที่สุดได้แก่ ด้านการพัฒนาปัจจัยเอื้อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอี มีสัดส่วนร้อยละ 42.68 รองลงมาเป็นด้านการพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอี คิดเป็น 37.80% และด้านการเงิน คิดเป็น 19.51%
โดย นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาจะนำไปสู่การพัฒนาหรือออกแบบนโยบาย/มาตรการส่งเสริม SME ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยึดผู้ประกอบการ SME เป็นศูนย์กลาง กำหนด SME กลุ่มเป้าหมายและปัญหาที่ชัดเจน เร่งสร้าง Ecosystem เช่น Big Data ระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยให้ SME สามารถพัฒนาตนเอง รวมถึงการปรับ Mindset ของผู้ประกอบการด้านการเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurial ให้มองการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับองค์ความรู้การตลาด และการเงิน เพื่อสร้างโอกาสต่อยอดในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ พบว่ามาตรการที่เอสเอ็มอีเห็นว่าเป็นประโยชน์มากที่สุดโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 คือ มาตรการทางการเงิน อาทิ การพักชำระหนี้หรือผ่อนผันการชำระหนี้ การลดค่าน้ำ ค่าไฟ การกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ฯลฯ ส่วนกลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) ได้รับประโยชน์จากโครงการอบรมความรู้และการพัฒนาศักยภาพมากที่สุด ขณะที่ สสว.มีมาตรการสำคัญที่ยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น มาตรการ THAI SME-GP หรือมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS เป็นต้น
ส่วนมาตรการช่วยเหลือและปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว สำหรับลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พบว่า เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง โดยกลุ่มตัวอย่าง 59.90% เห็นว่า ช่วยบรรเทาภาระหนี้สินของธุรกิจ อาทิ มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจโดยเพิ่มหลักประกัน/ปรับการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง/พักชำระหนี้เงินต้น/ลดอัตราดอกเบี้ยและการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ในจำนวนนี้มี 6.40% ที่ได้รับข้อแนะนำเพื่อการแก้ไขหนี้อย่างเหมาะสม
จึงสะท้อนได้ว่า นโยบายดังกล่าวสามารถพัฒนาด้วยการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะต่อการปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือรับรู้เกี่ยวกับมาตรการ ซึ่งอาจจะมีผลมาจากขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง
จากการรวบรวมผลของ สสว. แสดงให้เห็นว่าการทำงานที่ผ่านมานั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน และทำให้เห็นถึงแนวทางว่าต่อไปจะทำอย่างไร รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีนั้นต้องการอะไรในช่วงวิกฤต ถือเป็นการขยายองค์ความรู้เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดการดูแลผู้ประกอบการและประชาชนได้อย่างดี.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม
จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ
เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ
สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0
อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว