เมื่อคลังปรับลดคาดการณ์อัตราโตเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 2.7% และคาดว่าปีนี้จะโตประมาณ 3.2% สิ่งที่รัฐบาลเศรษฐาจะต้องบอกกล่าวกับประชาชนคือจะมีแผนการปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์ความผันผวนในระดับโลกและภายในประเทศ
เพราะไม่ว่ามาตรการ “แจกเงินหมื่นผ่านดิจิตัล วอลเลต” จะลงท้ายออกมาอย่างไร การใช้มาตรการ “ประชานิยม” แบบลดแลกแจกแถมคงไม่สามารถให้ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ยิ่งเมื่อรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำชุดนี้บอกว่าจะให้เศรษฐกิจของประเทศโตที่อัตราเฉลี่ย 5% ตลอดทั้ง 4 ปี ก็ยิ่งมองไม่เห็นว่าจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร
ผู้ว่าแบ็งก์ชาติ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิบอกนักข่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าหากรัฐบาลแจกเงินดิจิตัลไม่ถึง 5.6 แสนล้าน ก็จะกดจีดีพีของประเทศให้ต่ำกว่า 4.4%
ตัวเลข 4.4% เป็นประมาณเดิมของ ธปท. สำหรับปีหน้า
แต่นั่นคิดเผื่อมีการแจกเงินหมื่นเอาไว้แล้ว
แต่หากถามว่าจะปรับลดตัวเลขประมาณการนี้ลงมาอย่างไร ผู้ว่าฯบอกว่ายังประเมินไม่ได้เพราะนโยบายแจกเงินหมื่นยังไม่มีความชัดเจน
ส่วนแนวทางวิเคราะห์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์นั้นอยู่ที่โต 3.2% โดยยังไม่ได้พิจารณาผลกระทบจากการแจกเงินหมื่น
คุณพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการ สศค. บอกว่า
“ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2567 ที่ขยายตัว 3.2% ยังไม่ได้รวมผลกระทบจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เนื่องจากโครงการยังไม่มีความชัดเจน จึงอยากให้รอความชัดเจนในส่วนนี้ก่อน ดังนั้นการประมาณการในครั้งนี้จึงมาจากเครื่องยนต์เศรษฐกิจปกติที่ยังทำงานได้อยู่”
คุณพรชัย บอกว่าที่ สศค.ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลงเหลือ 2.7% ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 2.2-3.2% จากเดิมที่ 3.5% ต่อปีนั้นหลักๆ เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัว
เหตุสำคัญมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย
ทำให้คาดว่าภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้จะติดลบที่ 1.8% หดตัวเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ติดลบ 0.8%
อีกอย่างหนึ่ง ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้าไทยในปีนี้ ลดลงเหลือ 27.7 ล้านคน จากเดิมที่ 29.5 ล้านคน
ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวเหลือ 1.18 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ 1.25 ล้านล้านบาท
ทั้งนั้นทั้งนี้ก็เป็นที่รู้กันว่าเพราะเศรษฐกิจจีนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
อันมีผลต่อตัวเลขนักท่องเที่ยวของจีน ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายของไทยให้เดินทางลดลงด้วย
คุณพรชัยบอกว่าการปรับลดคาดการณ์ของคลังในครั้งนี้ ถือเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโต 2.7%
ส่วน ธปท.เคยประเมินไว้ที่ 2.8%
แต่ในแง่บวกก็ยังพอมีให้เห็น
คุณพรชัยบอกว่ายังมีปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้
เช่น การบริโภคภาคเอกชนที่ยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
คาดว่าจะขยายตัวที่ 5.8%
อีกทั้งแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่คลี่คลายลง
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้การฟื้นตัวการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขึ้น
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวที่ 0.9% ส่วนการบริโภคภาครัฐหดตัว 3.4% ต่อปี และการลงทุนภาครัฐทรงตัว
ทั้ง 2 เรื่องเป็นผลมาจากการจัดทำงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.5% ต่อปี
คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ที่ 3.2% ต่อปี
โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าขยายตัว 3.1% การส่งออกคาดว่าขยายตัว 4.4% ต่อปี
ซึ่งส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ทำให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตามไปที่ระดับ 3.5% ต่อปี
ขณะที่จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยปีหน้าที่ 34.5 ล้านคน ขยายตัว 24.6%
ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยว อยู่ที่ 1.49 ล้านล้านบาท ขยายตัว 26%
คาดว่าหลักๆ มาจากนักท่องเที่ยวจีน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน
คุณพรชัยบอกว่าปัจจัยที่ต้องติดตามและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ได้แก่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงความผันผวนของตลาดการเงินโลก
นอกจากนี้ต้องเกาะติดสงครามในอิสราเอล ภาวะเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัวลง ทำให้คนจีนไม่มาเที่ยวไทยตามเป้าหมาย ปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อการปลูกพืชผลทางการเกษตรและมีผลต่อรายได้และรายจ่ายครัวเรือนด้วย”
ผู้ว่าแบ็งก์ชาติประเมินว่าปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกยังมีต่อเนื่อง
โดยเฉพาะความเสี่ยงใหม่ๆ รวมไปถึงปัญหาในตะวันออกกลาง ที่ทำให้ประเมินได้ยาก เพราะผลข้างเคียงมีเยอะ ทำให้คาดการณ์ระยะข้างหน้าทำได้ยาก
เป็นที่มาของเวทีโลกในการปรับนโยบายที่เน้นที่ “เสถียรภาพ” เป็นหลัก
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ดร. เศรษฐพุฒิมองว่าในแง่เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมดี แต่ชะล่าใจไม่ได้ เพราะมีหนี้ครัวเรือน ที่ยังดูน่าเป็นห่วงเพราะอยู่ที่ระดับ 90.7% แม้จะลงจากระดับ 94% แล้วก็ตาม
รวมทั้งสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ที่อยู่ที่ 61.7% ถือว่าเป็นระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมา และสูงกว่าช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 จึงเป็น 2 เรื่องที่ต้องระวังและติดตามใกล้ชิด
เป็นคำถามสำหรับรัฐบาลเศรษฐาที่จะต้องเร่งออกนโยบายที่ชัดเจนที่ตอบสนองความไม่แน่นอนที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก
และจะต้องตอบคำถามที่ต้องการความชัดเจนมากกว่าคำว่า “กระตุ้นเศรษฐกิจ” เฉพาะหน้า
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเน้นเรื่อง “เสถียรภาพ”
และประเด็นนโยบายเศรษฐกิจที่กำลังถกแถลงกันอย่างกว้างขวางขณะนี้ที่ดูเหมือนผู้รับผิดชอบจะหลงทิศหลงทางอยู่ไม่น้อยเลย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ