เมื่อเวียดนามไต่ลวด ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

เมื่อวานเขียนถึงยุทธศาสตร์ของเวียดนามในความพยายาม “ถ่วงดุลอำนาจ” ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนมากที่สุด

นั่นเป็นแนวทางที่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ

แต่ก็เป็นทิศทางที่จะทำให้เวียดนามสามารถทำให้ทั้งสองยักษ์ใหญ่เคารพความเป็น “อิสระ” ในการดำเนินนโยบายของตน

แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวหาว่า “ถือหาง” ข้างใดข้างหนึ่ง

เป็นการทดสอบผู้นำเวียดนามว่าจะสามารถดำเนินนโยบาย “ไต่ลวด” อย่างนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

เพราะนโยบายเช่นนี้ย่อมมีความเสี่ยงในตัวของมันเอง แต่ถ้ากระโดดเข้าข้างใดข้างหนึ่งก็มีความเสี่ยงมากกว่า หรือหากคิดจะใช้แนวทาง “ลู่ตามลม” ก็ไม่ได้แปลว่าจะประสบความสำเร็จ

เพราะความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในโลกวันนี้ไม่ใช่เป็นแค่ “ลม” ที่พัดผ่านไปมาเท่านั้น

หากแต่บ่อยครั้งมันคือ “พายุหมุน” ที่หนักหน่วงและรุนแรง

หากไม่มีจุดยืนและภูมิต้านทานเพียงพอ ก็อาจจะถูกพายุร้ายนั้นพัดพาประเทศไปสู่ “ภัยพิบัติ” ที่สุดจะเยียวยาได้

ดังนั้น เราจึงควรจะติดตามแนวทางของผู้นำเวียดนามในกรณีนี้อย่างใกล้ชิด

เพราะเป็นทั้งกรณีศึกษาสำหรับไทย และเป็นการประเมินท่าทีของเราต่อมหาอำนาจและต่อเพื่อนร่วมอาเซียนอย่างเวียดนามพร้อมๆ กันไปด้วย

ถามว่า เมื่อเวียดนามคบหาสหรัฐฯ ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงด้านความมั่นคงและซื้อหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ (รวมถึงเครื่องบินรบ F-16) จะทำให้ปักกิ่งมองฮานอยด้วยความระแวงสงสัยหนักขึ้น ถึงขั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อเวียดนามหรือไม่

คำตอบก็คือ อยู่ที่ว่าข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามนั้นกินความกว้างขวางและลึกซึ้งแค่ไหน

ถึงขนาดที่จีนเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อตัวเองหรือไม่

หากเป็นเพียงการที่เวียดนามคบสหรัฐฯ ในเชิงตั้งรับเพื่อปกป้องตนเอง มิใช่ถึงระดับที่จีนจะมองว่าเป็นการพุ่งเป้าคุกคามจีน ก็อาจจะพอรับได้

แต่หากผู้นำจีนเริ่มเห็นว่า การกระชับความสัมพันธ์ของเวียดนามกับสหรัฐฯ เข้าสู่ระดับที่น่ากังวลสำหรับตน เราก็อาจจะเห็นปฏิกิริยาจากปักกิ่งที่แข็งกร้าวมากกว่าที่เป็นอยู่วันนี้ก็ได้

แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ยังคงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่สุดปัญหาหนึ่งของภูมิภาคนี้

จีนย่อมตระหนักดีว่า เวียดนามมีความหวั่นเกรงจีนเพราะความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ที่เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีนในย่านนี้

หากจีนคิดว่าข้อตกลงซื้อ F-16 ของเวียดนามจากสหรัฐฯ จะมีขนาดจำกัด และไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงสมดุลอำนาจระหว่างจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ก็อาจจะพอยอมรับได้

แต่นั่นแปลว่า เวียดนามต้องสามารถสื่อสารกับจีนว่าการสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯนั้น ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะดึงสหรัฐฯ เข้ามาปิดล้อมจีน

มองไปในความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับรัสเซียก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เหงียน ฟู้ จ่อง พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียเพื่อการเจรจาในปี 2561

ฮานอยเคยพึ่งพารัสเซียในด้านอาวุธ แต่ตอนนี้กำลังมองหาที่จะกระจายยุทโธปกรณ์ทางทหารของตน

เป็นการตอกย้ำว่าในอดีตเวียดนามพึ่งพาอาวุธจากรัสเซีย

วันนี้ฮานอยกระจายความเสี่ยงด้วยการคบหาโลกตะวันตกมากขึ้น

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ เวียดนามพึ่งพารัสเซียประมาณร้อยละ 70 ของอาวุธยุทโธปกรณ์ อะไหล่ และการซ่อมแซมอุปกรณ์ในยุคโซเวียต

รวมถึงฝูงบินขับไล่ รถถัง และเรือรบรุ่นเก่า

ทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่นับตั้งแต่การรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว มอสโกจำเป็นต้องเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้ใช้เองมากขึ้น ในขณะที่มาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตกได้คุกคามข้อตกลงด้านกลาโหมใดๆ ก็ตามที่ทำกับรัสเซีย

ขณะนี้เวียดนามพยายามจะกระจายแหล่งจัดหาชุดอุปกรณ์ทางทหารของตนโดยไม่จำกัดแต่เพียงรัสเซีย

เวียดนามทำให้ประจักษ์ว่าต่อแต่นี้ไปจะมองหาอาวุธจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก

ทั้งจากรัสเซีย, จีน, สหรัฐฯ, ยุโรปและเกาหลีใต้

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีข่าวว่าเวียดนามกำลังเจรจากับสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งเป็นอดีตรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตในเรื่องนี้

เช็กเป็นหนึ่งในประเทศที่เคยได้ชื่อว่ามีความเป็นเลิศในการซ่อมแซมปรับปรุงอุปกรณ์ของรัสเซีย และสามารถผลิตอุปกรณ์ด้านการทหารใหม่ที่ใช้ร่วมกับอาวุธรุ่นเก่าของโซเวียตได้

เช่น เครื่องบิน เรดาร์ และการอัปเกรดชุดเกราะ ยานพาหนะ อาวุธปืน และอุปกรณ์อื่นๆ

อีกด้านหนึ่งเวียดนามก็สร้างความร่วมมือด้านกลาโหมกับจีนเช่นกัน

รัฐมนตรีกลาโหมจีน หลี่ ชางฟู่ (ตอนนี้กลายเป็นอดีตไปแล้ว) พบกับรัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม ฟาน วัน เกียง ในกรุงปักกิ่งเมื่อเร็วๆ นี้

ระยะหลังนี้เองที่เวียดนามขยับเข้าหาอาวุธของสหรัฐฯอย่างเปิดเผยและเป็นรูปธรรม

สองปีก่อนกองทัพอากาศสหรัฐฯ ตกลงที่จะจัดหาเครื่องบินฝึก T-6 จำนวน 12 ลำให้แก่เวียดนาม และแพ็กเกจบำรุงรักษา 10 ปี มูลค่าไม่ต่ำกว่า 225 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าจะส่งมอบระหว่างปีหน้าถึง พ.ศ. 2570

การฝึกอบรมสำหรับนักบินเวียดนามจะรวมอยู่ในเงื่อนไขของข้อตกลง-ในเครื่องจำลองและกับผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ ในตอนกลางคืนและการบินในสภาพอากาศเลวร้าย

รวมถึงการเชิญกองทัพอากาศเวียดนามให้เข้าร่วมการฝึก “ธงแดง” ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมรบทางอากาศขั้นสูงระยะเวลาสองสัปดาห์ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ จัดขึ้นปีละหลายครั้ง

โดยประกาศว่าเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายคือ “จัดให้มีการฝึกอบรมและประสบการณ์ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม” การบรรเทาสาธารณภัย ค้นหาและกู้ภัย และภารกิจสั่งการและควบคุม

แต่ไม่ต้องแปลกใจหากเป้าหมายใหญ่กว่านั้นคือ การสำแดงให้โลกเห็นว่าวันนี้เวียดนามคบหากับมหาอำนาจได้ทุกค่าย

และฝังกลบประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นที่เวียดนามเคยมีทั้งกับสหรัฐฯ และจีน

เพื่อมองไปในอนาคตเท่านั้น!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ