กลุ่ม Hamas คือใคร? (ภาค 2)

สัปดาห์ก่อนผมปูทางเรื่อง Hamas วันนี้ขอต่อเนื่องครับ

Hamas ก่อตั้งในปี 1987 ภายใต้แกนนำของ Sheikh Ahmed Yassin ซึ่งเป็นอิหม่ามเชื้อสายปาเลสไตน์ เป็นคนพิการต้องนั่งวีลแชร์ตลอด เขาก่อตั้ง Hamas เพื่อเป็นทางเลือกระหว่างกลุ่มเขากับกลุ่ม Palestinian Islamic Jihad (PIJ) ที่ออกหัวรุนแรงพอๆ กัน

ในปี 1988 Hamas ได้ประกาศบทบัญญัติของเขา มีจุดยืนชัดเจนคือลบล้างและทำลายความเป็นอิสราเอลทุกอย่าง เพื่อยึดพื้นที่อิสราเอลกลับสู่เจ้าของจริง คือคืนให้ปาเลสไตน์ วิธีการลบล้างและทำลายอิสราเอลไม่ผ่านเส้นทางเจรจา ไม่ผ่านเส้นทางการทูต

ต้องใช้ความรุนแรงอย่างเดียว ตาต่อตา ฟันต่อฟัน เพราะนั่นคือวิธีเดียวที่อิสราเอลจะเข้าใจ เพราะเป็นวิถีของอิสราเอลต่อพวกปาเลสไตน์

พอปี 2017 มีการเสนอบทบัญญัติใหม่ เพื่อไม่ให้ Hamas ดูเป็นกลุ่มก่อการร้ายเกินไป และเพื่อเข้ากับประเทศตะวันตกบ้าง Hamas ใช้ภาษาอ่อนลง ทิ้งภาษาที่เกี่ยวกับความรุนแรง (บ้าง) และเน้นใช้คำพูดที่มีคำว่า “เจรจา” และ “การทูต” มากขึ้น แต่ในบทบัญญัตินี้ไม่ยอมรับอิสราเอลอยู่ดี และมีเจตนาเดิมคือ ขับไล่อิสราเอลออกไป

ในปี 1997 สหรัฐประกาศว่า Hamas เป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่มีบางประเทศอย่างเช่น New Zealand แบ่งแยก Hamas ออกมาเป็นสองกลุ่ม Hamas ฝ่ายการเมืองกับ Hamas ฝ่ายกองกำลัง (ซึ่งชื่อว่า Izzad-Din al-Qassam Brigades) ในกรณีของสหรัฐ เนื่องจากเขาเหมารวม Hamas ทั้งสองซีกเป็นกลุ่มก่อการร้าย ถ้าจะมีการเจรจา สหรัฐจะเจรจากับ Hamas โดยตรงไม่ได้ เพราะสหรัฐมีนโยบายชัดเจนว่า เขาไม่มีทางเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าสหรัฐอยากเจรจาจะต้องผ่านคนอื่นครับ

หลังข้อตกลง Oslo Accords (ที่ในที่สุดล้มเหลว) เกิดสภาภายในปาเลสไตน์ที่เรียกว่า Palestinian Legislative Council เป็นความตั้งใจให้อำนาจชาวปาเลสไตน์เลือกตัวแทนของพวกเขาเพื่อบริหารพวกเขาเอง ซึ่งในทฤษฎีและเจตนาของ Oslo Accords เป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่โลกแห่งความจริงแตกต่างกับทฤษฎีและเจตนาครับ

ในปี 2006 Hamas เริ่มมีบทบาทและอำนาจอย่างเป็นการใน Gaza หลังชนะการเลือกตั้ง กลุ่ม Fatah ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศซีกตะวันตก แต่ไม่รับความนิยมจากกลุ่มปาเลสไตน์กันเอง

หลังชนะการเลือกตั้ง โลกประเทศซีกตะวันตกไม่ยอมรับชัยชนะของ Hamas เพราะการกระทำรุนแรงของกลุ่มนี้ในอดีต เลยถือหาง Fatah ให้ยืนหยัดต่อสู้และอย่ายินยอมให้อำนาจ Hamas โดยเด็ดขาด หลังความพยายามให้มีการเจรจาระหว่าง Hamas กับ Fatah ล้มเหลวนั้น เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมา และกองกำลังฝ่าย Hamas ได้ชนะกองกำลังฝ่าย Fatah แต่ไม่ชนะเด็ดขาด เพราะในที่สุดเกิดการแบ่งพื้นที่บริหารอยู่ดี Hamas ได้ดูแลย่าน Gaza Strip ส่วน Fatah ได้ดูแล West Bank

แต่ถามว่า Hamas ครองใจคนปาเลสไตน์ได้หรือไม่? อันนี้พูดยากครับ ถ้าเปรียบเทียบ Hamas กับกลุ่ม Fatah ทาง Hamas จะรับความนิยมกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะรัก Hamas เสียงชาวปาเลสไตน์จริงๆ แตกแยกออกมาเป็นหลายกลุ่ม คนที่รัก Hamas รักสุดหัวใจ แต่คนที่เกลียดก็เกลียดสุดหัวใจเช่นเดียวกัน คนปาเลสไตน์จำนวนไม่น้อยมีความเห็นว่า Hamas ไม่ใช่คำตอบของเขา ไม่ใช่ทางออกและไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริง แต่สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมบีบบังคับให้เขาพึ่งพาใครอื่นไม่ได้ สถานการณ์ที่ถูกบีบจากเอสแอล ถูกกดจากอิสราเอลตลอดเวลานั้น ทำให้กลุ่มอย่าง Hamas มีที่ยืนได้

หลังจาก Sheikh Yassin ถูกสังหารโดยกองทัพอิสราเอลในปี 2004 ทาง Hamas อยู่ภายใต้แกนนำของ Khaled Mashaal แล้วตั้งแต่ปี 2017 ทาง Hamas อยู่ภายใต้แกนนำของ Yahya Sinwar (อาศัยอยู่ใน Gaza) และ Ismail Haniyeh ที่อพยพอยู่ใน Qatar ภายใต้แกนนำของสองท่านนี้ เขาปรับแนวทางการบริหาร Hamas ให้เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับประเทศ Iran กับกลุ่ม Hezbollah ในประเทศ Lebanon แกนนำ Hamas อพยพอยู่ใน Lebanon กับ Qatar เยอะ

โครงสร้างของ Hamas มีคณะกรรมการกลาง (อพยพอยู่ Qatar กับ Lebanon) เรียกว่า Politburo ภายใต้แกนนำของ Haniyeh และมีสมาชิกทั้งหมด 15 คน คณะกรรมการชุดนี้ดูแลเรื่องราวทั้งหมดใน West Bank กับ Gaza เป็นคณะกรรมการกลางที่วางนโยบายวางแนวทางและกำหนดทิศทางของ Hamas ส่วน Sinwar เป็นผู้นำที่อยู่ในพื้นที่จริง เป็นผู้ที่ตอบสนองนโยบายจากคณะกรรมการกลาง และเป็นผู้ที่ควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ส่วนฝ่ายกองกำลัง (Izz ad-Din al-Qassam Brigades) อยู่ภายใต้แกนนำของ Marwan Issa กับ Mohammed Deif กองกำลังนี้ดูแลกองกำลังทั้งหมดทุกส่วนที่อยู่ภายใต้ Hamas แถมดูแลรัฐบาล Hamas มีนายกรัฐมนตรี (ที่กลุ่ม Hamas ตั้งเอง) ชื่อ Issam Al-Daalis

แต่อย่าไปคิดว่า “รัฐบาล” Hamas กับ “นายกรัฐมนตรี Al-Daalis” จะมีอำนาจอะไรมากมายครับ เพราะตั้งแต่ปี 2006 ที่เขาชนะการเลือกตั้งกัน ปีนั้นเป็นครั้งสุดท้ายที่มีการเลือกตั้งครับ อำนาจที่แท้จริงของ Hamas อยู่ที่ Qatar อยู่ที่ Sinwar และอยู่ที่กองกำลัง al-Qassam Brigades ครับ

อันนี้แหละครับ เป็นความพยายามของผมที่จะอธิบายกลุ่ม Hamas เพื่อจะให้แฟนคอลัมน์เข้าใจภาพรวมมากขึ้น และเวลาติดตามข่าวสงครามที่กำลังเกิดขึ้นนั้น จะได้รู้ว่า Hamas มาจากไหน อย่างไรครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กินฮอตดอกไหมครับ?

กินฮอตดอกไหมครับ? ขอแจ้งครับ ถ้าแฟนคอลัมน์ท่านใดอยากอ่านบทความที่มีเนื้อหาสาระ ที่มีประเด็น ที่สมศักดิ์ศรี มาตรฐานหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์นั้น

รื้อฟื้นความทรงจำเรื่อง Wikileaks

ในที่สุด หลังใช้เวลา 14 ปีในการติดคุกในอังกฤษบ้าง ลี้ภัยในสถานทูตเอกวาดอร์บ้าง นาย Julian Assange ได้เดินทางกลับบ้าน (ออสเตรเลีย) ในฐานะ Free Man ครับ

ที่มาของ Presidential Debates

ในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ ถือว่าเป็นการริเริ่มฤดูกาลหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาครับ เพราะในวันนั้นจะเป็นการ Debate

Thank you, Jerry West….the Logo

อีกไม่กี่วันข้างหน้า โลก (ในไทย) น่าจะหยุดหมุนชั่วคราว เรื่องชี้ชะตาอนาคตอดีตนายกฯ นายกฯ ปัจจุบัน และพรรคที่น่าจะมีว่าที่นายกฯ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

Donald Trump ยังเป็นผู้สมัครได้ไหม?

เมื่อสัปดาห์ก่อน ข่าวที่โด่งดังทั่วโลกไม่ใช่ข่าวน้องไนซ์เชื่อมจิตนะครับ ถึงแม้สังคมไทยจะติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจังก็ตาม ผมเชื่อว่าอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะมีเรื่องอื่นเข้ามาแทน

ทำไม Pride Month ต้องมีทุกมิถุนายน?

ขออนุญาตสวมหมวกคนขี้บ่นนิดหนึ่งครับ ในฐานะบ้านอยู่เมืองทองธานี เวลาบอกใครว่าอยู่เมืองทองฯ ส่วนใหญ่เขาจะพูดว่า “โห…ไกลจัง!!”