โจทย์แบงก์กับการก้าวสู่ดิจิทัล

ในช่วงที่ผ่านมา PwC ประเทศไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำเร็จ แม้จะมีการลงทุนและความพยายามอย่างมากก็ตาม ขณะที่การนำระบบคลาวด์มาใช้งานยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เปรียบเทียบกับธนาคารชั้นนำอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกันแบงก์ไทยต้องกำจัดอุปสรรคสำคัญเพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่ พัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยี-ทักษะของบุคลากร รวมทั้งมีพันธมิตรทางระบบนิเวศที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง เพื่อช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านให้สัมฤทธิผล

นางสาววิไลพร ทวีลาภพันทอง หัวหน้าสายงานธุรกิจที่ปรึกษา PwC ประเทศไทย และหัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจบริการทางการเงินเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงาน PwC South East Asia Consulting กล่าวว่า

แม้ว่าภาคธุรกิจธนาคารของไทยจะมีความคึกคักในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และปรับปรุงประสบการณ์การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าในช่วงที่ผ่านมา แต่ช่องว่างระหว่างการวางกลยุทธ์ดิจิทัลและการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ยังคงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร แม้ว่าแบงก์ไทยส่วนใหญ่จะมีกลยุทธ์หรือมีวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลเชิงรุกมากแค่ไหน แต่ในทางปฏิบัติยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะการปิดช่องว่างในการวางกลยุทธ์ดิจิทัลและการนำแผนกลยุทธ์นั้นไปปฏิบัติจริง

สำหรับแนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานผลสำรวจ Digital Banking Survey 2023: Southeast Asia landscape ของ PwC ที่ระบุว่า 80% ของธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำเร็จ และแม้ว่ามากกว่า 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า พวกเขามีกลยุทธ์ดิจิทัลที่ชัดเจนแล้วก็ตาม

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคธนาคารของไทยมีความกระตือรือร้นในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล โดยในปัจจุบันธนาคารแทบทุกแห่ง รวมถึงธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน มีการพัฒนาระบบหน้าร้านเพื่อให้บริการลูกค้า ซึ่งระบบหน้าร้านนี้กำลังขยายไปยังลูกค้าทุกกลุ่ม ครอบคลุมกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ บริษัทขนาดกลาง ขนาดเล็ก และลูกค้ารายย่อย โดยธนาคารในประเทศหลายแห่งได้จับมือกับพันธมิตรทางระบบนิเวศ เพื่อเพิ่มนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ โดยธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบหน้าร้าน และกระจายผลิตภัณฑ์ของตนไปยังแพลตฟอร์ตของพันธมิตร เช่น การกู้เงิน โอนเงิน และระบบซื้อสินค้า เพื่อสร้างความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของลูกค้า อีกทั้งเป็นการขยายฐานลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง 

ขณะเดียวกันธนาคารไทยยังคงเผชิญกับอุปสรรคสำคัญสี่ประการในการนำแผนกลยุทธ์ดิจิทัลไปปฏิบัติให้เกิดผลจริง ได้แก่ 1.ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเดิม ทำให้การขยายฐานลูกค้าที่มีบัญชีธนาคารหรือใช้บริการของธนาคารอื่นๆ ยังคงมีข้อจำกัด ทั้งนี้ ธนาคารต่างต้องการสร้างฐานลูกค้าใหม่ และดึงดูดความสนใจของพันธมิตรทางระบบนิเวศ ยกเว้นกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบ และกลุ่มที่ไม่ได้รับที่ดีเพียงพอ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 18-19% ของประชากรทั้งหมดที่ถือเป็นกลุ่มที่ธนาคารพาณิชย์ให้ความสนใจน้อย

ส่วนข้อ 2.ความสามารถด้านเทคโนโลยียังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการกำหนดและนำกลยุทธ์ดิจิทัลไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ต้องอาศัยความเข้าใจในเทคโนโลยี ซึ่งนอกเหนือจากอุปสรรคในด้านดังกล่าวแล้ว การมีเทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัยก็ถือเป็นความท้าทายของธนาคารหลายแห่ง และจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงชุดเทคโนโลยีที่ใช้พัฒนาบริการ โดยอาจนำระบบทั้งหมดขึ้นคลาวด์ เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีของระบบนิเวศ และสามารถรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งาน

ต่อมา 3.บุคลากรขาดทักษะด้านดิจิทัลและความคล่องตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานฝ่ายไอที หรือพนักงานฝ่ายธุรกิจของธนาคาร นอกจากนี้ รูปแบบการดำเนินงานแบบไซโลและซับซ้อน ยังถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งธนาคารจะต้องเพิ่มความคล่องตัวขององค์กรให้เทียบเท่าบริษัทเทคโนโลยีที่เปิดตัวบริการและออกสินค้าใหม่ๆ สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว 

สุดท้าย 4.มีพันธมิตรและระบบนิเวศที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ที่ผ่านมาธนาคารไทยหลายแห่งมีการจับมือกับพันธมิตร หรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เช่น ปรับโครงสร้างบริษัทให้เป็นโฮลดิ้ง คอมปานี หรือจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ดี การเลือกพันธมิตรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวิสัยทัศน์และเป้าหมาย อีกทั้งการเลือกโมเดลของระบบนิเวศที่ตอบโจทย์ธุรกิจของตนยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญ

อย่างไรก็ดี การใช้งานระบบคลาวด์ของธนาคารในประเทศไทย ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้นและยังไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์อย่างเต็มศักยภาพ โดยอุปสรรคสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการมีแอปพลิเคชันเก่าบนระบบหลักของธนาคารเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การบูรณาการสู่ระบบใหม่เป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ ธนาคารยังคงเผชิญกับปัญหาช่องว่างทักษะในการดำเนินงานตามวาระด้านดิจิทัลควบคู่ไปด้วย.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ

ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!

“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง