ลุ้นตั๋วร่วมหรือตั๋วเลื่อน

เคาะแล้วสำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน หรือสายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน) และสายสีแดงเข้ม หรือสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน โดยมีกำหนดให้เริ่มเมื่อระบบมีความพร้อม จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

ซึ่ง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ระบุอย่างชัดเจนว่า ถือเป็นการเริ่มใช้นโยบายเร่งด่วน หรือ Quick Win สำหรับรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายอย่างเป็นทางการ นำร่องให้ใช้บริการในรถไฟฟ้าในเส้นทางสายสีม่วง (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) และสายสีแดง (สถานีกลางบางซื่อ-สถานีรังสิต) ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2566 นี้เป็นต้นไป เวลาให้บริการ 05.00-24.00 น.

พร้อมทั้งยังย้ำอย่างชัดเจนว่า ในเรื่องของการชดเชยรายได้ที่หายไปจากการปรับลดค่าโดยสารนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องชดเชยและไม่เป็นภาระให้กับงบประมาณ เพราะจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทางมากขึ้นจนสามารถที่จะชดเชยรายได้ที่หายไป คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งสองสายอย่างน้อยประมาณวันละ 100,000 คน-เที่ยวต่อวัน แบ่งเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วง 70,000 คน-เที่ยวต่อวัน และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงประมาณ 70,000 คน-เที่ยวต่อวัน

ขณะที่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ นั้น รมว.คมนาคมระบุว่า จะแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาร่วมกับภาคเอกชน เพื่อดำเนินนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายให้ครอบคลุมโครงข่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทุกเส้นทาง ตามเป้าหมายภายใน 2 ปีนับจากนี้ต่อไป

ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมจะเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว คาดจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีเศษ ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมนำเสนอ ครม.และสภาผู้แทนราษฎร หากมีผลบังคับใช้จะทำให้กระทรวงคมนาคมมีน้ำหนักในการเข้าไปเจรจากับภาคเอกชน

อีกทั้งจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำรายได้มาจ่ายชดเชยให้เอกชนในส่วนของรายได้ที่ลดลง โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากรัฐ รวมถึงไม่ต้องเจรจาต่อสัญญาสัมปทานกับเอกชนด้วย ที่สำคัญ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม จะทำให้ประชาชนสามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อทางราง รถเมล์ และเรือโดยสารได้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนอย่างมาก

ด้าน ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า สนข.เตรียมเสนอให้กระทรวงพิจารณา พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนัดประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน โดยหากผ่านการประชุมนัดนี้แล้วคาดว่าจะเริ่มขั้นตอนเตรียมเสนอ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมเข้า ครม.พิจารณา และเดินหน้าตามขั้นตอนสภาต่อไป ซึ่งการผลักดัน พ.ร.บ.ฉบับนี้จะทำให้ราคาค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะปรับลดลง ประชาชนเข้าถึงได้

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าระบบตั๋วร่วมนั้นพูดกันมาหลายยุคหลายสมัย หลายรัฐมนตรีที่ผลักดัน ในระยะแรกทุกรัฐบาลก็มักจะขึงขัง ทั้งผลักดันและติดตามความก้าวหน้าระบบตั๋วร่วม โดยจัดเป็นวาระเร่งด่วนตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเสมอ ทั้งเร่งพัฒนาให้เกิดการใช้ข้ามระบบในสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียว แต่สุดท้ายก็ต้องเจอกับปัญหาโรคเลื่อน เลื่อนแล้วเลื่อนอีก โดยทุกข้ออ้างการเลื่อนมีเหตุผลเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นเพราะติดปัญหาด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยี การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนมาถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้ใช้กันสักที

มาครั้งนี้ก็ได้แต่หวังว่า ฝีไม้ลายมือสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม 2 สมัย จะผลักดันตั๋วร่วมให้ได้ใช้กันสักที สาธุ!!! ขออย่าได้กลายเป็นตั๋วเลื่อนเลย.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร