ความไว้วางใจที่อาจเปลี่ยนแปลง

จากสถานการณ์ความวุ่นวายด้านพลังงาน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์สงครามและราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวนก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องที่ยืดเยื้อและยาวนานสุดๆ แบบที่ยังไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ในบางกรณี จนเริ่มเกิดคำถามมาจากหลายภาคส่วนถึงความมั่นคงด้านพลังงานไทยแล้วว่ามีดีแค่ไหน และหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะด้านอย่างสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) นั้นจะมีศักยภาพพอหรือไม่ หากยังเกิดความโกลาหลแบบนี้

ซึ่ง สกนช.เองก็ไม่ได้ปล่อยให้เรื่องเงียบ แถมออกมาเปิดเผยผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินผลการรับรู้และความเข้าใจต่อการสื่อสารเกี่ยวกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย และพบว่าภาพรวมมีทัศนะเชิงบวกต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รับรู้และเข้าใจบทบาทกองทุนว่ามีส่วนช่วยลดผลกระทบ ทำให้ราคาพลังงานไม่แพงจนเกินไป

โดย นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการ สกนช. กล่าวว่า การจัดสำรวจครั้งนี้เพื่อประเมินผลการรับรู้และความเข้าใจความพึงพอใจจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์การสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีการสำรวจ 528 รายจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน เครือข่ายองค์การภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สกนช. ผู้ประกอบกิจการพลังงานในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นตัวแทนภูมิภาค

โดยภาพรวมโครงการสร้างองค์ความรู้และขยายผลให้เกิดทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านกลุ่มผู้มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจในภาคพลังงานไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.65 คิดเป็น 73% และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การรับรู้บทบาทหน้าที่อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.65 คิดเป็น 73% มีทัศนคติหลังจากได้รับข่าวสารจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.69 คิดเป็น 73.80% และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน ค่าเฉลี่ย 3.61 คิดเป็น 72.20%

โดยสรุปผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า การดำเนินการประชาสัมพันธ์ของ สนกช.เป็นเชิงบวก โดยเห็นว่า กองทุนน้ำมันฯ มีส่วนช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูง ทำให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด ช่วยเหลือไม่ให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมัน และรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน

นอกจากนี้ล่าสุด สกนช.ยังได้ลงนามกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอีก 50,333 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยเบิกตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้ ครั้งละประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมันไปจนถึงสิ้นปีนี้ จากที่ผ่านมากองทุนได้ทยอยกู้ยืมเงินสอดคล้องกับแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 2566 แล้วประมาณ 55,000 ล้านบาท รวมสัญญากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน จำนวน 105,333 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2565

แต่อย่างไรก็ตาม ภารกิจของกองทุนก็ยังไม่จบ เพราะยังต้องติดตามสถานการณ์ด้านพลังงานอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบของสงครามที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันได้มีมติเห็นชอบให้ตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 31.94 บาท/ลิตร คงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) 423 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม (กก.) ไปจนถึง 31 ธ.ค.66 ส่วนจะมีมาตรการต่อไปอย่างไรในปี 2567 คงจะขึ้นอยู่กับนโยบายจากกระทรวงพลังงานและรัฐบาลเป็นสำคัญ ซึ่งมีการประเมินแล้วว่า การดูแลราคาพลังงานในส่วนของการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปจนถึงสิ้นปีดังกล่าวจะส่งผลให้กองทุนมีฐานะสุทธิติดลบประมาณ 1 แสนล้านบาท

โดย ณ วันที่ 8 ต.ค.2566 ฐานะกองทุนสุทธิยังคงติดลบอยู่ 68,327 ล้านบาท ซึ่งมาจากบัญชีน้ำมันติดลบ 23,322 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 45,005 ล้านบาท โดยยังมีเงินไหลเข้าจากการเรียกเก็บเงินผู้ใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ 141.22 ล้านบาท/วัน แต่มีเงินไหลออกจากการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลและ LPG 364.66 ล้านบาท/วัน ส่งผลให้ภาพรวมเงินไหลออกจากกองทุน 223.44 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 6,703 ล้านบาท/เดือน

 “เราได้ประเมินราคาดีเซลไว้แล้วถึงสูงสุด 130 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดังนั้นกรอบเงินกู้ที่เหลืออยู่ราว 5 หมื่นล้านบาทจึงเพียงพอดูแลทั้งดีเซลและ LPG ถึงสิ้นปี แต่ยอมรับว่าหากต้องดูต่อในปี 2567 อาจจะดูได้อีกราว 1-2 เดือนจากเงินที่มีอยู่ แต่ทั้งนี้คงต้องติดตามราคาพลังงานว่าจะมีทิศทางอย่างไรเป็นสำคัญ” แหล่งข่าวกล่าว

แบบนี้เองจึงทำให้ภารกิจของ สกนช.ยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่องไม่แพ้สถานการณ์ความวุ่นวายของสงครามที่เกิดขึ้น แม้ที่ผ่านมาอาจจะได้รับความไว้วางใจจากหลายภาคส่วน เพราะฝีมือการดูแลพลังงานที่รวดเร็วและตรงประเด็น แต่ผลงานหลังจากนี้จะสามารถควบคุมและดูแลได้อย่างดีแค่ไหน เป็นเรื่องที่อาจจะต้องมาประเมินกันใหม่อีกครั้ง.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร