ความปลอดภัยคนไทยกับประเด็นกลุ่ม Hamas กับ Fatah ในปาเลสไตน์

ความสลับซับซ้อนของการเมืองทั้งฝ่ายอิสราเอลและปาเลสไตน์อาจจะทำให้เราสับสนในขณะที่ติดตามข่าวสงครามรอบใหม่...โดยเฉพาะเมื่อเราอยากให้คนตายที่ติดอยู่ในสมรภูมิรบนั้นปลอดภัยและกลับบ้านโดยเร็วที่สุด

ข่าวบอกว่ามีคนไทยถูกจับไป 16 คนและหวั่นกันว่าจะถูกจับไปเป็นตัวประกัน

กระทรวงต่างประเทศไทยบอกว่าได้พยายามติดต่อให้ฝ่ายปาเลสไตน์ช่วยหาทางปล่อยตัวคนไทยเพราะเราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง

แต่เราต้องเข้าใจว่าฝ่ายที่กำลังพันตูกับอิสราเอลเป็นกลุ่มฮามาสซึ่งไม่ได้เป็นพวกเดียวกับกลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นรัฐบาลของปาเลสไตน์ที่เรียกว่า Palestine Authority (PA) 

ด้วยเหตุนี้เมื่อเราติดต่อเอกอัครราชทูตของ PA ประจำประเทศไทยและมาเลเซียที่มีสถานทูตอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ท่านจึงบอกว่าฝ่ายเขาทำอะไรไม่ได้ถ้าการสู้รบยังดำเนินอยู่

เพราะฝ่าย PA ไม่ได้ทำสงครามกับอิสราเอล

ฝ่ายที่สู้รบกับยิวขณะนี้คือกลุ่มฮามาสซึ่งไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไหน

เพราะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า stateless actorsหรือ “กลุ่มไร้รัฐ”

ไทยโพสต์รายงานเมื่อวันเสาร์ว่านายวาลิด อาบู อาบี เอกอัคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งรัฐปาเลสไตน์ ประจำประเทศไทย ซึ่งพำนักอยู่ประเทศมาเลเซีย ระบุถึง การช่วยเหลือตัวประกันที่ถูกจับตัวไป โดยเป็นแรงงานไทย 16 คน ว่า 

ขณะนี้การสู้รบยังดำเนินอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าจะหยุดยิง เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าไปตรวจสอบว่าขณะนี้ตัวประกันที่ถูกจับตัวในฉนวนกาซ่ามีตัวประกันจากชาติใดบ้าง 

ท่านทูตบอกว่าสิ่งที่ทำได้สำหรับต้นสังกัดหรือประเทศผู้ที่มีแรงงานไปทำงานอยู่และหายตัวไป แล้วหาไม่เจอก็น่าจะคาดการณ์ว่าคนเหล่านั้นหายตัวไปเนื่องจากถูกจับเป็นตัวประกัน

ทูตปาเลสไตน์บอกว่าการจะให้ความช่วยเหลือจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเจรจาหยุดยิงก่อน 

หลังจากหยุดยิงแล้วจะมีความปลอดภัยสูงที่จะให้หน่วยงานต่างๆเข้าไปเจรจา และให้มีการอนุญาตปล่อยตัวประกัน 

แต่ขณะนี้สถานะของเหตุการณ์ยังไม่พัฒนาไปถึงขั้นนั้น

ฮามาสและคณะปกครองปาเลสไตน์ (PA) เป็นหน่วยงานทางการเมืองที่แตกต่างกันสองแห่งซึ่งมีอุดมการณ์และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์ของทั้งสองมีความซับซ้อนและมักมีลักษณะจำเพราะของตนเองอันเกิดจากความตึงเครียด

ดังนั้น เราจึงต้องเข้าใจข้อมูลพื้นฐานก่อนว่าในปาเลสไตน์แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่

บริเวณรอบ ๆ ฉนวนกาซาอยู่ใต้การควบคุมของกลุ่มฮามาสที่กำลังทำสงครามกับอิสราเอล

ส่วนบริเวณ “เวสต์แบงก์” อยู่ในอำนาจของกลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นรัฐบาลปาเลสไตน์ปัจจุบัน

สองกลุ่มนี้มีความขัดแย้งกันมายาวนาน จนกลุ่มฮามาสมายึดฉนวนกาซาเมื่อปี 2007 ขณะที่กลุ่มฟะตะห์ปักหลักที่เวสท์แบงก์ 

แม้จะมีความพยายามเจรจาหาทางตกลงกันระหว่างสองกลุ่ม แต่ก็ยังไม่มีสันติภาพที่ถาวรระหว่างกันแต่อย่างใด

ความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้มามากมายหลายมิติ พอจะสรุปได้ในหัวข้อหลัก ๆ คือด้านการเมือง:

ฮามาส: ฮามาสหรือขบวนการต่อต้านอิสลามเป็นกลุ่มการเมืองและการติดอาวุธอิสลามิสต์ปาเลสไตน์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 ในช่วงอินติฟาดาครั้งแรกเพื่อต่อต้านการปกครองของอิสราเอล ฮามาสถือเป็นขบวนการต่อต้านโดยผู้สนับสนุนและถูกตราหน้าว่าเป็น “องค์กรก่อการร้าย” โดยอิสราเอล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอื่นๆ มีทั้งฝ่ายการเมืองและการทหาร

ส่วนกลุ่มฟะตะห์นั้นก่อตั้งขึ้นในกลางทศวรรษ 1990 อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาออสโลระหว่างอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) 

โดยมีความประสงค์ให้เป็นองค์กรปกครองตนเองชั่วคราวสำหรับบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างทางอุดมการณ์ด้วย

ฮามาสเป็นองค์กรอิสลามิสต์ที่มีกฎบัตรซึ่งมีเป้าหมายในการสถาปนารัฐอิสลามในประวัติศาสตร์ปาเลสไตน์ ปฏิเสธการยอมรับอิสราเอลและสนับสนุนการต่อต้านการยึดครองของอิสราเอลด้วยอาวุธ

ส่วนกลุ่มฟะตะห์นั้นในอดีตมีความเป็นฆราวาสมากกว่าและมีส่วนร่วมในการเจรจากับอิสราเอล 

กลุ่มนี้ตระหนักถึงสิทธิของอิสราเอลในการดำรงอยู่และแสวงหาแนวทางแก้ไขสองรัฐ(Two-State Solution)ต่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์

ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ก็มีความสำคัญไม่น้อย

หลังการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติปาเลสไตน์ 2006 กลุ่มฮามาสได้รับเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติปาเลสไตน์ 

ซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกระหว่างเวสต์แบงก์ ซึ่งกลุ่มฟะตะห์ ยังคงควบคุมอยู่ในนามของ Palestine Authority (PA) และฉนวนกาซา ซึ่งกลุ่มฮามาสเข้าควบคุมหลังจากความขัดแย้งช่วงสั้นๆ และรุนแรง

แต่ความขัดแย้งภายในระหว่างสองกลุ่มนี่แหละที่เป็นประเด็นร้อนแรงที่สุด

เมื่อแก่งแย่งอำนาจทางการเมืองกันแล้วก็เกิดความขัดแย้งภายในและการแย่งชิงอำนากันอย่างต่อเนื่อง

ความพยายามที่จะปรองดองและจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพเกิดขึ้นในหลาย ๆ โอกาส แต่ก็ไม่อาจจะบรรลุข้อตกลงที่ยั่งยืนได้จนถึงวันนี้

อีกประเด็นหนึ่งของความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มคือการยอมรับในระดับสากล

PA ได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศและประธานาธิบดี ซึ่งปัจจุบันคือ มาห์มูด อับบาส เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์ในเรื่องทางการเมืองและการทูต

แต่กลุ่มฮามาสยังไม่ได้รับการยอมรับของนานาชาติแต่อย่างใด

โดยสรุปแล้ว แม้ว่าทั้งกลุ่มจะมีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาของชาวปาเลสไตน์ที่มีอิสราเอลเป็นคู่กรณี แต่ความ

แตกต่างทางอุดมการณ์ การแข่งขันทางการเมือง และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของพวกเขาได้นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน

และบางจังหวะก็เป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างเปิดเผย

การแบ่งแยกระหว่างเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา พร้อมด้วยแนวทางที่ชัดเจนต่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ได้สร้างความท้าทายให้กับผู้นำชาวปาเลสไตน์และความพยายามในการสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวปาเลสไตน์ด้วยกันไม่น้อยเลย

ดังนั้น ขณะที่เราเกาะติดข่าวสงครามอิสราเอล-ฮามาสและภาวนาให้คนไทยทุกคนในบริเวณนั้นปลอดภัย เราก็ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องราวของการเมืองภายในของปาเลสไตน์

และความสลับซับซ้อนของการเมืองอิสราเอลเองก็ใช่จะเข้าใจได้ง่าย ๆ

โดยติดตามตอนต่อไป!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ