การเนรเทศ-การลี้ภัยทางการเมือง และการการอภัยโทษ (ตอนที่ 3)

 

การลี้ภัยหรือหนีคดีและการกลับมาขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ผู้เขียนนึกเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ในการเมืองสมัยกรีกโบราณที่นครรัฐประชาธิปไตยเอเธนส์  เพราะประชาธิปไตยเอเธนส์มีกลไกที่เรียกว่า ostracism  ที่ให้อำนาจประชาชนเนรเทศผู้ที่ไม่พึงปรารถนาออกไปจากเอเธนส์เป็นเวลา 10 ปี  โดยผู้โดนเนรเทศจะไม่โดนยึดทรัพย์สินและไม่เสียสถานะความเป็นพลเมือง แต่จะได้ทรัพย์สินและกลับมาเป็นพลเมืองได้หลังจากต้องออกไปอยู่นอกเอเธนส์เป็นเวลา 10 ปีเสียก่อน

แต่เมื่อบ้านเมืองมีวิกฤต ที่ประชุมสภาพลเมืองของเอเธนส์สามารถลงมติย่นระยะเวลาเนรเทศไม่ต้องครบ 10 ปี และเรียกตัวผู้ที่ถูกเนรเทศบางคนให้กลับมารับใช้บ้านเมือง

จากการที่ที่ประชุมสภาพลเมืองต้องเรียกตัวผู้ถูกเนรเทศบางคนกลับมา เพราะคนเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทความสามารถทางการเมืองและการทหารที่โดดเด่น ขณะเดียวกัน ถ้าไม่โดดเด่นก็คงไม่เป็นประเด็นให้ต้องลงมติเนรเทศ !

ผู้ที่ถูกที่ประชุมสภาพลเมืองเอเธนส์เนรเทศและเรียกตัวกลับมารับใช้บ้านเมืองเป็นกลุ่มแรกคือ เมกาคลิส  (Megakles), แซนธิปโปส (Xanthippos) และอริสทีดิส (Aristides)

ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงสาเหตุที่เมกาคลิส  (Megakles) และแซนธิปโปสถูกเนรเทศในปี 486  และ 484 ก่อนคริสตกาลตามลำดับ แต่ยังไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุที่อริสทีดีสถูกเนรเทศในปี 484

ข้อหาที่เมกาคลิสถูกเนรเทศ คือ เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการประชาธิปไตยของเอเธนส์จากการที่เมกาคลิสพยายามจะช่วงชิงอำนาจทางการเมืองผ่านความสัมพันธ์กับเปอร์เซียเพื่อสถาปนาการปกครองแบบทรราช (turannos) กลับคืนมา

ส่วนข้อหาที่แซนธิปโปสถูกเนรเทศเพราะในขณะที่เขากำลังขึ้นมามีบทบาทโดดเด่นทางการเมือง เทมีสโตคลิสได้ปลุกระดมประชาชนโจมตีภูมิหลังของการมาจากตระกูลอภิชนชั้นสูงของแซนธิปโปสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพัฒนาการประชาธิปไตย

และเทมีสโตคลิสคนนี้นี่เองที่ทำให้อริสทีดีสถูกเนรเทศในปี 484 ด้วย

เทมีสโทคลิส เป็นใคร ?

สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นแฟนภาพยนตร์แนวประวัตศาสตร์สงครามยุคกรีกโบราณ เรื่อง The Three Hundred (300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก/ ออกฉายในปี พ.ศ. 2549) ที่เป็นเรื่องของแม่ทัพสปาร์ตาที่ชื่อ  ลีโอไนดาส ที่นำทหารจำนวนสามร้อยเข้าต้านทัพของเปอร์เซีย และภาพยนตร์ที่เป็นตอนต่อเรื่อง  300: Rise of an Empire (300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร/ ออกฉายในปี พ.ศ. 2557) ที่เป็นเรื่องของแม่ทัพเอเธนส์นำทัพเรือเข้าต่อสู้กับทัพเปอร์เซีย แม่ทัพที่เป็นพระเอกของเรื่องมหาศึกกำเนิดอาณาจักรนี่แหละคือ เทมีสโตคลิส

นอกจากเขาจะเป็นแม่ทัพที่สามารถแล้ว เขายังเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นผู้เสนอให้เอเธนส์สร้างกำแพงไพรีอัส (Piraeus) เมืองที่บริเวณชายทะเลในปี 493 ก่อนคริสตกาล  และใครที่เคยอ่านงานเขียนของเพลโตเรื่อง Republic จะเห็นว่า เพลโตเริ่มต้นเรื่องราวหรือ “ฉาก” ในงานชิ้นนี้ของเขาบริเวณกำแพงเมืองไพรีอัสที่เป็นผลงานของเทมีสโทคลิสผู้นี้นี่เอง

นอกจากเขาจะเป็นแม่ทัพและนักยุทธศาสตร์ที่สามารถแล้ว ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งของเขาก็คือ เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองในประชาธิปไตยเอเธนส์ที่ไม่ได้มาจากตระกูลอภิชนเก่าของเอเธนส์  เพราะในช่วงแรกที่เอเธนส์เข้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย  ผู้ที่มีบทบาททางการเมืองรุ่นแรกๆมักจะมาจากตระกูลอภิชนเก่าแก่ของเอเธนส์ แต่เทมีสโทคริสเป็นคนจากตระกูลธรรมดาๆรุ่นแรกๆที่สามารถขึ้นไปมีบทบาทนำทางการเมือง

เทมีสโทคลิสถือเป็นผู้นำทางการเมืองคนสำคัญของเอเธนส์ และเป็นไปได้ว่าเขาคือผู้อยู่เบื้องหลังการจัดการเนรเทศบรรดาผู้ที่เป็นคู่แข่งทางการเมืองของเขาในช่วงทศวรรษ  480   ซึ่งอริสทีดิสก็เป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการเมืองของเทมีสโทคลิสที่ตกเป็นเหยื่อการถูกเนรเทศ

ก่อนจะกล่าวถึงสาเหตุความขัดแย้งระหว่างเทมีสโทคลิสกับอริสทีดิส จะขอกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของอริสทีดิสก่อน

เมื่อเทียบกับแซนธิปโปสที่มาจากครอบครัวชนชั้นสูงและเทมีสโทคลิสมาจากครอบครัวคนธรรมดา

อริสทีดีสมาจากครอบครัวที่มีสถานะกลางๆระหว่างแซนธิปโปสและเทมีสโทคลิส  ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับตัวเขาที่น่าสนใจคือ เขาเป็นหนึ่งในมิตรผู้ใกล้ชิดกับไคลอีสธีนีส ผู้สถาปนาประชาธิปไตยเอเธนส์ เพราะฉะนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า เขาเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนประชาธิปไตย

จากบันทึกของพลูทาร์ช (Plutarch) นักบันทึกชีวประวัติบุคคลสำคัญได้เล่าว่า อริสทีดีสและเทมีสโทคลิสรู้จักกันมาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งสองมีอายุไล่เลี่ยห่างกัน 6 ปี และทั้งสองดันไปหลงรักเด็กหนุ่มคนเดียวกัน (เอเธนส์เป็นสังคมที่ชายรักชายเป็นเรื่องปกติ) เด็กหนุ่มที่ว่านี้ชื่อ สเตไซเลาส์ (Stesilaus) ได้ชื่อว่าเป็นเด็กหนุ่มรูปงามที่สุดในปฐพีในช่วงนั้น  แม้ว่าเรื่องชิงรักหักสวาทจะผ่านพ้นไปหลายปี แต่ความระหองระแหงกินใจระหว่างอริสทีดีสและเทมีสโทคลิสยังคงอยู่ในใจทั้งสองตลอดมา

ภาพวาดเทมิสโตคลิสกับสเตไซเลาส์

อริสทีดีสเริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการรบในสงครามระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซียที่เป็นที่รู้จักกันในนามของ “สงครามมาราธอน” (the Battle of Marathon) และจากบทบาทที่โดดเด่นในการศึกสงคราม ทำให้เขาได้รับเลือกเป็นหนึ่งในผู้นำของเอเธนส์

พลูทาร์ชได้เล่าถึงบุคลิกภาพนิสัยใจคอของอริสทีดีสว่าเป็นคนรักความยุติธรรม ไม่เข้าข้างใคร ถ้าใครทำผิด แม้ผู้นั้นจะเป็นเพื่อน อีกทั้งคนฝ่ายตรงข้ามของเขา หากไม่ผิด เขาก็จะออกมาปกป้อง จากพฤติกรรมดังกล่าวของเขาทำให้ผู้คนในเอเธนส์ต่างเรียกขานเขาว่า “อริสทีดีส ผู้เที่ยงธรรม” (Aristides the Just)

และพลูทาร์ชได้กล่าวว่า จากการที่เขาเป็นนิยมรักใคร่ของผู้คนทั่วไป อีกด้านหนึ่งเขาก็ตกเป็นเป้าแห่งความอิจฉาริษยาหมั่นไส้ และแน่นอนว่าคนที่เขม่นอริสทีดีสมากที่สุดจะเป็นใครอื่นเสีย นอกจากเทมีสโทคลิส และจากการที่เขามีนโยบายทางการทหารแนวอนุรักษ์นิยมที่เสนอให้เอเธนส์คงไว้ซึ่งการครองอำนาจในการรบทางบกทำให้เขาขัดแย้งกับเทมีสโทคลิสที่เสนอนโยบายให้เอเธนส์ขยายอำนาจทางทะเล

เทมีสโทคลิสก็ยิ่งเพิ่มความไม่พอใจและหาทางกำจัดอรีสทีดิสให้พ้นจากเส้นทางอำนาจของเขา

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ

‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ

“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป

ลุ้นระทึก! เลือก ‘อบจ.’ 3 จว. ‘กกต.’ จับตาที่อุดรฯแข่งดุ

“เลขาฯ แสวง” มั่นใจเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา แต่ช่วยกระตุ้นประชาชนออกมาใช้สิทธิ เผยมีเรื่องร้องเรียน 2 เรื่อง ใส่ร้ายระหว่างผู้สมัคร เร่งตรวจสอบ

'วรชัย' ชี้ 'ยิ่งลักษณ์' ไม่ได้รับความเป็นธรรม บอกกลับไทยตามกระบวนการไม่มีสิทธิพิเศษ

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร