ดันอาหารชุมชนโตระดับสากล

อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ดีระดับต้นๆ ไม่ว่าจะมาจากการบริโภคในประเทศ หรือการส่งออกสินค้าในรูปแบบต่างๆ และในบางตัวยังสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อีกด้วย เนื่องจากสนับสนุนให้เกิดอาชีพ และการจ้างงาน ซึ่งในส่วนนี้เองควรจะเป็นเรื่องที่ต้องให้การสนับสนุนกัน ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ หรือผู้บริโภค เช่นเดียวกับที่ล่าสุดได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการชุมชน กฟผ. เพื่อสร้างความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหาร ระยะที่ 2

โดยความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมมือกับอุตสาหกรรมพัฒนาเพื่อมูลนิธิสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม นำวัตถุดิบพื้นถิ่นและวัตถุดิบเหลือใช้มาต่อยอดด้วยนวัตกรรมอาหาร ภายใต้การผลิตอาหารปลอดภัย และปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม จนเกิดเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ “ขายได้” เป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารได้ ซึ่งจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมาได้เพิ่มยอดขายมากว่า 30% อีกทั้งช่วยลดต้นทุน ลดของเสีย และลดขยะ ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG)

โดยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ.ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน พร้อมกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ โดย กฟผ.กำหนดเป้าหมายในการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้สังคมและชุมชนรอบพื้นที่เขื่อน โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ.สามารถมีรายได้พึ่งพาตนเองได้ จากการส่งเสริมด้านอาหาร สุขภาพ พลังงาน และการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่มีร่วมกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

สำหรับ ผลิตภัณฑ์อาหารที่พัฒนาในระยะที่ 2 เน้นสินค้าและบริการด้านสุขภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น อาทิ อาหารฟังก์ชัน, อาหารจากพืช Plant based food, อาหารเฉพาะบุคคล เช่น วีแกน คีโต, อาหารและเครื่องดื่มโลว์ชูการ์, โลว์แฟต และโลว์โซเดียม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติ  

ด้าน นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันและ กฟผ.ได้ร่วมดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดศักยภาพของกิจการชุมชนในการพัฒนาต่อยอด และสร้างคุณค่าแก่ชุมชนบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เขต และเขื่อนของ กฟผ. นำมาซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน บนแนวความคิดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทาง BCG ยกระดับมาตรฐานการผลิต ความปลอดภัย คุณภาพสินค้า และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อไปสู่การเติบโตแบบยั่งยืน

โดยสถาบันอาหารมีแนวทางสร้างคุณค่า 4 ด้าน ดังนี้ 1. TRUST คือ การสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) และคุณภาพของอาหาร (Food Quality) 2. VALUE คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดซัพพลายเชนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. POWER คือ การพัฒนาศักยภาพและสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เขต และเขื่อนของ กฟผ. และผู้เกี่ยวข้อง และ 4. SPEED คือ การส่งเสริมให้ชุมชนบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เขต เขื่อนของ กฟผ. และผู้สนใจเข้าถึงข้อมูลและตลาดเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน 

แน่นอนว่า การเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมอาหารในรูปแบบดังกล่าว ผลประโยชน์จะสะท้อนไปยังชุมชนและชาวบ้านซึ่งจะผลักดันให้เกิดการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องต่อไป รวมทั้งยังส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงอีกด้วย โดยการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม จึงนับเป็นโอกาสดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารจากท้องถิ่นชุมชนสู่ตลาดสากล ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในและต่างประเทศ. 

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ

ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ