เสียงทักท้วงนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิตัลวอลเล็ตของรัฐบาลเศรษฐาดังมาจากหลายทิศหลายทาง
แต่ดูเหมือนกระทรวงการคลังก็ยังดึงดันเดินหน้ากับแนวทางนี้โดยอ้างว่าจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
ล่าสุดนายกฯเศรษฐา ทวีสินยืนยันว่าจะไม่มีการยกเลิกโครงการนี้ แต่รับปากว่าจะรับฟังความเห็นต่าง ๆ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การ “ปรับปรุงแต่งเติม” บ้าง
เสียงคัดค้านดังกระหึ่มจากนักวิชาการและนักธุรกิจ
ล่าสุดนักวิชาการและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ลงซื่อยาวเหยียด (เริ่มด้วย 99 ชื่อซึ่งต่อมาเพิ่มเป็นกว่า 130 ชื่อเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา) ขอเสนอให้ยกเลิกโครงการนี้
มีเหตุผลตามหลักวิชาการว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย”
ก่อนหน้านี้ ผู้ว่าแบ็งก์ชาติ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิออกมาติติงอย่างเป็นทางการ
ยันว่า “ไม่ใช่ทุกคนต้องการเงินหนึ่งหมื่นบาท”
และเสนอว่าควรจะต้องแจกเงินแบบ “พุ่งเป้า” หรือ targeted มากกว่าเพราะจะใช้งบประมาณน้อยลงและไม่เปลืองเปล่า
อีกทั้งยังยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีปัญหาตรงการบริโภค หากแต่มีประเด็นเรื่องการลงทุนไม่เพียงพอมากกว่า
คุณกรณ์ จาติกวณิช, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, ออกมาแสดงความกังวลอย่างเปิดเผยว่า
ในสภาวะที่ความมั่นใจนักลงทุนและนักธุรกิจสั่นคลอน ทางรัฐมนตรีช่วยคลังได้ออกมายืนยันว่านโยบายแจกเงิน 10,000 “จะไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อแน่นอน”
คุณกรณ์ตั้งข้อสังเกตว่าปีนี้ ตลาดหุ้นไทยติดลบมากที่สุดในเอเชีย
ในขณะที่เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 37 บาทไปตามคาด
และแนวโน้มสูงที่จะอ่อนค่าต่อไป
อดีตรัฐมนตรีคลังบอกว่าทั้งหมดนี้ไม่ใช่ประเด็นน่ากังวล และย้ำว่า
“ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากกว่า (เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน) คือภาวะหนี้ที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
และส่งผลต่อภาระดอกเบี้ยในช่วงที่ดอกเบี้ยก็สูงขึ้นมาก
ผลต่อวินัยการคลังจากการนำเงินกู้มาแจก
และผลต่อการแย่งสภาพคล่องจากระบบเศรษฐกิจ
“คิดกันให้ดีครับ”
ในขณะเดียวกัน
KKP Research ก็ประเมินว่านโยบายรัฐ ใช้งบ 3.6% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 1% ของ GDP อาจได้ไม่คุ้มเสีย
โดยแนะนำให้ช่วยเหลือแบบเจาะจง และปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อความยั่งยืน
ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3ถาบัน (กกร.) ที่แนะให้รัฐบาลแจกหมื่นดิจิทัล ต้องจำกัดกลุ่ม ชี้ช่องฐานบัตรคนจน 40 ล้านคน
กกร. ใช้ภาษานิ่มนวลอาจจะเป็นเพราะไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบทางการเมืองต่อตน
แต่เนื้อหาใจความของการนำเสนอเรื่องนี้ก็คือความกังวลว่านโยบายนี้กำลังจะสร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจไทย
คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วยหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทยว่า
ได้หารือประเด็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้ประชาชน 56 ล้านคน ใช้วงเงินรวม 560,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่ กกร.สนับสนุน
แต่ขอให้จำกัดเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่น ใช้ฐานข้อมูลจากผู้ที่เคยได้รับสวัสดิการของรัฐในแอปพลิเคชันเป๋าตังประมาณ 40 ล้านราย ซึ่งรัฐควรพิจารณาข้อมูลเชิงลึกจากจุดนี้ด้วย
เพื่อนำงบประมาณที่เหลือประมาณ 160,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่เกินความจำเป็นนำไปบริหารจัดการน้ำแทน
“ กกร.เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายที่แจกเงินดิจิทัลที่รัฐบาลมองไว้ 56 ล้านคนนั้นควรจะจำกัดการสนับสนุนเพราะอย่างผม 3 คนที่แถลงข่าวอยู่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องรับ”
กกร. เสนอว่ารัฐบาลควรมองกลุ่มเป้าหมายที่ตอบโจทย์ เมื่อเราจำกัดการช่วยเหลือ และให้สนับสนุนใช้จ่ายสินค้าที่ผลิตในประเทศ (โลคัล คอนเทน)
ไม่เช่นนั้นบางส่วนอาจไปซื้อแต่สินค้านำเข้า
ส่วนวงเงินที่เหลือ ควรนำไปพัฒนาบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น
เพราะปีนี้น้ำใช้ได้จริง เดือนต.ค. 66 มีอยู่ 54% ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี 65 ที่อยู่ 66%
หากเกิดแล้งต่อเนื่องน้ำต้นทุนจะเหลือน้อยโดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่ต้องเร่งบริหารจัดการ” ประธานหอการค้ากล่าว
KKP Research บอกว่านโยบายแจกเงินหมื่นครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามหลายด้านถึงความเหมาะสม และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายเหล่านี้ ว่า
(1) นโยบายแบบแจกเงินแบบเหวี่ยงแหที่มีต้นทุนสูงมีความเหมาะสมหรือไม่ ท่ามกลางข้อจำกัดด้านการคลังและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
(2) การกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นมีความคุ้มค่าเพียงใด มีประสิทธิมากน้อยเพียงใดภายใต้ข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง
(3) ผลได้ผลเสียของนโยบายในระยะยาวเป็นอย่างไร เพราะการใช้ทรัพยากรทางการคลังที่เน้นผลระยะสั้น และมีต้นทุนสูงเช่นนี้ จะสร้างข้อจำกัด ความเสี่ยงทางการคลัง และเศรษฐกิจ อีกทั้งอาจสร้างผลกระทบในทางลบ
เช่น การบั่นทอนวินัยทางการเงิน และการต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐ และผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด
ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาทได้ นอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัด และความเสี่ยงทางการคลังที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ทรัพยากรมีเหลืออยู่น้อยลงในการจัดการกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญกว่าต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาทได้ นอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัด และความเสี่ยงทางการคลังที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ทรัพยากรมีเหลืออยู่น้อยลงในการจัดการกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญกว่าต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
จดหมายเปิดผนึกของกลุ่มอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์บอกว่าการแจกเงินหมื่นบาทนี้มีเหตุอันน่ากังวลว่าจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพและวินัยการเงินการคลังของแผ่นดิน
ในช่วงเดียวกันนี้เองก็มีความเห็นจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินการคลังและธุรกิจออกมาแสดงความเห็นในทำนองเดียวกัน
ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่ารัฐบาลไม่ควรจะดึงดันที่จะเดินหน้าเพื่อทำนโยบายนี้เพราะมีแต่จะสร้างปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอน
ความจริงส่วนใหญ่ไม่ได้มีอคติกับรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทย แต่ต้องการจะ “หาทางลง” ให้กับรัฐบาลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในขณะที่บ้านเมืองต้องการเดินหน้าฟื้นฟูประเทศในลักษณะที่ยั่งยืนและตอบโจทย์โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง
(พรุ่งนี้: เสียงที่นายกฯเศรษฐาอาจไม่ค่อยอยากได้ยิน แต่ต้องฟัง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ