หนุนเชื่อมโครงข่ายทางน้ำ

เมื่อพูดถึงโครงข่ายการเชื่อมโยงในการขนส่งทางน้ำ แน่นอนว่ากระทรวงคมนาคมในฐานะกำกับดูแลระบบขนส่งโดยรวมของประเทศ ได้มีนโยบายมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วประเทศอย่างบูรณาการ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ ให้มีความเชื่อมโยง ความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชน

กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมในเชิงรุก มุ่งเน้นการบูรณาการระหว่างรูปแบบการขนส่ง กำกับดูแลการพัฒนาระบบคมนาคมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พร้อมผู้บริหารกระทรวงคมนาคม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในพื้นที่ จ.ชลบุรี เพื่อให้สามารถรองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (shift mode) จากถนนสู่เรือมากขึ้น จึงได้มอบให้กรมเจ้าท่า และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งพัฒนาโครงการสำคัญ

ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและดำเนินการตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นประตูการค้าเชื่อมโยงพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก และตะวันตก ให้เชื่อมต่อและขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกสู่ภาคใต้

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมจึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้น เห็นว่า ควรจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติใน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.การเดินเรือภายในประเทศ (Domestic Marine Line) เชื่อมโยงการเดินทางอ่าวไทย ซึ่งเป็นการร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคมจะสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและท่าเทียบเรือรองรับการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งการพิจารณาอนุญาตเกี่ยวกับสายการเดินเรือ

ซึ่งปัจจุบันกรมเจ้าท่า ร่วมดำเนินการกับบริษัท ซีฮอร์สเฟอร์รี่ จำกัด ได้นำเรือ Ro-Ro Ferty "The Blue Dolyphin" เดินเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวเส้นทางระหว่างจังหวัดชลบุรีกับจังหวัดสงขลา เปิดให้บริการเรือเส้นทางสัตหีบ-สงขลา ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้การพัฒนาสายการเดินเรือภายในประเทศ (Domestic Marine line) เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางน้ำของประเทศ โดยเริ่มทดลองให้บริการเดินเรือเมื่อเดือน พ.ย.2564 ที่ผ่านมา และมีแผนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2565

โดยระยะแรกจะเปิดให้บริการเส้นทางท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ (จุกเสม็ด)-ท่าเรือสวัสดิ์ จังหวัดสงขลา ซึ่งจะลดปัญหาการจราจร ลดปริมาณรถในการขนส่งสินค้าประมาณ 90,000 คัน/ปี ที่จะลดลงไปเมื่อหันมาใช้การขนส่งทางน้ำ ลดอุบัติเหตุ และ 2.การเดินเรือในระดับ International แบ่งเป็นสายการเดินเรือฝั่งตะวันออก (East) ตั้งแต่กัมพูชา เวียดนาม เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น และฝั่งตะวันตก (West) ได้แก่ แอฟริกา และยุโรป หรือกลุ่ม BIMSTEC คาดแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565

สำหรับเรือ The Blue Dolyphin ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมเจ้าท่า มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล ให้บริการ 1 เที่ยวไปกลับต่อสัปดาห์ ในวันอังคาร และวันพุธ และจะขยายการให้บริการในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ซึ่งการเปิดให้บริการเรือดังกล่าวจะทำให้ประชาชนและผู้ใช้บริการที่ต้องการเดินทางหรือขนส่งสินค้าระหว่างภาคตะวันออก-ภาคใต้ มีทางเลือกในการเดินทาง การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยลดปัญหาการจราจรทางบก ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุบนถนน ลดต้นทุนการบำรุงรักษาถนน เสริมศักยภาพสายการเดินเรือภายในประเทศ

แน่นอนว่ากระทรวงคมนาคมยังมีนโยบายพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญอีกหลายโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่ง เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยได้มุ่งมั่นพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพในภูมิภาค การบริหารจัดการท่าเรือโดยการนำระบบ Automation มาใช้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งทางเรือ และพัฒนาท่าเรือในภูมิภาค เชื่อมโยงการเดินทางและการท่องเที่ยวให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทย ก่อให้เกิดรายได้และการพัฒนาด้านระบบคมนาคมที่ยั่งยืนต่อไป.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research