ในช่วงที่ผ่านมาได้มีงานวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย McKinsey Global Institute (MGI) ในหัวข้อ Asia on the cusp of a new era เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันอาจส่งผลให้โลกเข้าสู่ยุคใหม่ ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียกำลังเริ่มต้นยุคใหม่นี้อย่างแข็งแกร่ง แต่ก็คาดว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายระดับโลกที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากบทบาทสำคัญที่เอเชียมีต่อเศรษฐกิจโลก ตั้งแต่ความตึงเครียดทางการค้า สังคมผู้สูงวัย ไปจนถึงความต้องการความมั่นคงด้านพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
สำหรับ ภาคธุรกิจในเอเชียกำลังเตรียมการเชิงรุกสำหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ควบคู่ไปกับการวิจัยใหม่นี้ ทาง MGI ยังได้ร่วมมือกับ Asia Business Council ดำเนินการสำรวจซีอีโอในภูมิภาค ผลการวิจัยพบว่า ซีอีโอกว่า 80% มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ อย่างไรก็ตาม 3 ใน 4 ของบรรดาซีอีโอมองว่า การเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญจะมีความจำเป็นในการดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า
ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเอเชียได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเชื่อมต่อทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนการขยายตัวของเมือง และจำนวนเงินทุนที่เพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบัน 59% ของการค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศในเอเชียเกิดขึ้นระหว่างประเทศในเอเชีย สำหรับในยุคที่กำลังจะมาถึงนี้ ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากปัจจัยที่มีอิทธิพลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในแกนหลักของปัจจัยเหล่านี้ คาดได้ว่าเหล่าประเทศในเอเชียจะต้องเผชิญกับความท้าทายระดับโลกที่เข้มข้นและแข็งขันมากขึ้นในหลายประเด็น
อย่างแรกเลย เอเชียครองตำแหน่งทางแยกทางการค้าโลก แต่อาจกลายเป็นจุดสำคัญของความตึงเครียดทางการค้า จากเส้นทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก 80 เส้นทาง เอเชียมีส่วนร่วมในอย่างน้อย 49 เส้นทางจากปลายด้านหนึ่ง และอีก 22 เส้นทางจากทั้งสองปลายทาง นอกจากนี้เอเชียยังเป็นที่ตั้งของระเบียงเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด 18 แห่งจาก 20 แห่งทั่วโลก และ 13 แห่งจาก 20 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปัจจุบันความร่วมมือทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นตัวขับเคลื่อนการบูรณาการเชิงพาณิชย์มากกว่าความร่วมมือทางการเมือง แล้วความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่หากความตึงเครียดทางการค้าเพิ่มขึ้น
ต่อมาคือ เอเชียมีความเป็นเลิศในด้านการผลิตเทคโนโลยีในกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้า และเซมิคอนดักเตอร์ สัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 40 ของส่วนแบ่งรายได้ การลงทุนด้านการวิจัย พัฒนาและสิทธิบัตรที่ถือครองโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นนำ 3,000 แห่งทั่วโลก อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังเคลื่อนไปสู่ซอฟต์แวร์และโซลูชันเป็นหลัก แล้วเอเชียจะสามารถสร้างบทบาทใหม่ให้กับตัวเองในฐานะผู้คิดค้นและผู้ผลิตเทคโนโลยีได้หรือไม่ ขณะเดียวกันเอเชียมีตัวเลขของประชากรอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาตลอด โดยมีประชากรวัยทำงานอายุน้อยจำนวนมาก และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจที่มีความสำคัญตามแนวขอบแปซิฟิก
นอกจากนี้ยังมีความท้าทายในแง่ของประชากรสูงวัย แม้ว่าเอเชียยังคงมีแรงงานที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการเติบโต แต่ประมาณ 90% ของการเติบโตที่คาดหวังของแรงงานนอกภาคเกษตร ระหว่างปี 2565-2593 จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ที่ระดับผลผลิตค่อนข้างต่ำ แล้วเอเชียจะสามารถเคลื่อนตัวไปสู่ห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการกระจายตัวของแรงงาน และยกระดับประสิทธิภาพการทำงานอย่างทั่วถึงได้หรือไม่
จะเห็นได้ว่า เอเชียดึงดูดเงินทุนได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีมูลค่ารวม 91 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2543-2564 อย่างไรก็ตามความต้องการเงินทุนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทศวรรษหน้า ความต้องการการลงทุนคงที่ของเอเชียอาจสูงถึงเกือบ 140 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเกินกว่ามูลค่ารวมทั้งสิ้นที่ 89 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป แล้วเอเชียจะสามารถรักษาเงินทุนที่จำเป็นในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่คาดการณ์ได้ยากกว่าเดิม และแรงกดดันด้านงบดุลที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ความท้าทายจึงตกไปอยู่ที่การขยายตลาดการเงิน และเพิ่มการจัดสรรทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน
โดยเอเชียเข้าสู่ยุคใหม่จากตำแหน่งที่แข็งแกร่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นตัวแทนของกลุ่มคน “ส่วนใหญ่” ของโลก โดยในระหว่างปี 2558-2564 เอเชียมีส่วนทำให้ GDP โลกเติบโตถึง 52% ในช่วงปี 2544-2564 และยังมีบทบาทสำคัญโดยมีส่วนทำให้การเติบโตของการค้าโลก 59% และมูลค่าเพิ่มการผลิตทั่วโลก 53% นอกจากนี้เอเชียยังเป็นที่ตั้งของครัวเรือนชนชั้นกลางถึง 56% ของโลก
อย่างไรก็ดี จากการสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดย Asia Business Council พบว่า 82% ของผู้บริหารระดับสูงที่ตอบแบบสำรวจมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับยุคที่กำลังจะมาถึง อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็น 74% เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญหรือการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอีกด้วย.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ
ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ