มีประเด็นถกเถียงกันเรื่องการเชิญวิทยากรไปบรรยายให้นักศึกษาสถาบัน ที่ชื่อของสถาบันเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ แต่พฤติกรรม ทัศนคติ และอุดมการณ์ทางการเมืองของคนที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเป็นเช่นไรนั้น ชัดยิ่งกว่าชัด จนทำให้คนจำนวนมากมองเห็นว่าสถาบันไม่น่าเชิญให้เขาเป็นผู้บรรยายในประเด็นเรื่องการจัดการสมัยใหม่ที่เน้นเรื่องการกระจายการบริหาร และการกระจายทรัพยากร
ที่คนเข้าท้วงติงก็เพราะว่าเขามองว่าผู้บริหารสถาบันน่าจะมีทางเลือกในการกำหนดผู้บรรยายในเรื่องนี้ โดยเป็นบุคคลที่รู้เรื่องที่ต้องบรรยาย และไม่เป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างที่ฝรั่งเขาเรียกว่าเป็นเรื่อง
Controversial หมายความว่า มีทั้งคนเห็นด้วย และคนไม่เห็นด้วย นอกจากนั้นแล้วคนที่ทางสถาบันเชิญไปบรรยายนั้น อาจจะเป็นคนที่มีภาพลักษณ์ต้องการทำการเมืองแบบใหม่
แต่หลายคนก็ตั้งคำถามว่า แล้วเขาได้ทำงานอะไรที่แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกระจายการบริหาร และการกระจายทรัพยากร จะบอกว่าเป็นนักวิชาการด้านนี้ก็ไม่ใช่ จะบอกว่ามีผลงานทางด้านนี้ก็ไม่เห็น แต่ที่แน่ๆ เขามีประเด็นที่ทำให้หลายคนมองว่าเขาไม่เหมาะสมที่จะเป็นวิทยากรในหัวข้อดังกล่าว ณ สถาบันดังกล่าว
เขาเป็นผู้ต้องหาคดีอาญามาตรา 112 พฤติกรรมของเขาหลายปีที่ผ่านมาแสดงความเป็นปรปักษ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์มาตลอด ในขณะที่สถาบันแห่งนี้ใช้พระนามของพระมหากษัตริย์เป็นชื่อของสถาบัน ถ้าจะเรียนรู้การเมืองใหม่ไม่จำเป็นต้องใช้คนที่โดนคดีอาญา 112 ทั้งนี้เราเชื่อว่าในประเทศไทยยังมีคนที่สามารถบรรยายหัวข้อนี้ได้เป็นอย่างดีตั้งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการที่จบและสอนด้านนี้ในคณะรัฐศาสตร์ของหลายๆ มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่เคยทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจบริหารและการกระจายทรัพยากรที่มีผลงานเชิงประจักษ์อยู่หลายคน ทั้งนักการเมือง และข้าราชการประจำ
จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของพวกเขาที่แสดงออกหลายๆ ครั้ง หลายๆ กรณี ทำให้หลายคนเป็นห่วงว่าสิ่งที่เขาจะพูดให้นักศึกษาฟังนั้น จะเป็นเรื่องที่ถูกต้องแค่ไหน จะเป็นไปตามหลักวิชาการ และการประยุกต์ใช้วิชาการนั้นด้วยปัญญาหรือไม่ หรือว่าจะเป็นการบรรยายที่ใส่ทัศนคติและจุดยืนทางการเมืองของเขาให้นักศึกษาฟังแบบไม่ครบมิติ แต่ให้สอดคล้องกับความต้องการทางการเมืองของผู้บรรยาย จริงๆ แล้ว นอกเหนือจากความเป็นจริงที่ว่าสถาบันน่าจะมีทางเลือกในการเชิญผู้บรรยายแล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่จะทำให้นักศึกษาเรียนรู้เรื่องดังกล่าวได้
นักศึกษาส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถในการวิเคราะห์ ทางสถาบันสามารถหาผู้บรรยายมาทำหน้าที่เป็นผู้นำการสัมมนาหัวข้อนี้ หลังจากบรรยายแล้วก็ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาเรื่องราวดังกล่าวบนพื้นที่ Social Media ที่มีความคิดเห็นของผู้คนที่หลากหลาย รวมทั้งของคนที่ทางสถาบันเชิญไปบรรยายด้วยก็ได้ แล้วให้นักศึกษานำเอาเรื่องราวที่ค้นคว้าหามาได้ ใช้เป็นข้อมูลในถกอภิปรายเชิงวิเคราะห์ แต่ละคนผ่านประสบการณ์มามากมายย่อมทำได้ และน่าจะทำได้ดี มีประโยชน์มากกว่าการฟังบรรยายจากคนคนเดียวที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่อย่างไร การอ้างว่าการเชิญเขามาบรรยายนั้น ต้องการให้นักศึกษาได้รับรู้การคิดต่าง เพราะการแสดงออกของเขานั้น ไม่อาจจะเรียกว่าคิดต่าง แต่เรียกว่าคิดอย่างไร ก็นิยามกันเอาเองเถิด แต่ที่แน่ๆ ความคิดของเขานั้น หลายประเด็นเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันหลักของประเทศ
ราชกิจจาฯ ประกาศชัดเจนว่า วิทยากรของสถาบันแห่งนี้ต้องเป็นคนที่ไม่มีปัญหาด้านจริยธรรม ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าการที่ผู้คนจำนวนหนึ่ง (และน่าจะเป็นจำนวนมากด้วย) ไม่อยากให้เขาไปบรรยายที่สถาบัน พวกเขาไม่ได้ใช้อารมณ์ในการประเมิน แต่ใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเป็นเหตุผลในการแสดงจุดยืน ดังนั้นไม่ควรจะพูดว่า "ให้ใจร่มๆ" เพราะมันเป็นการกล่าวหาว่าเป็นการใช้อารมณ์ ในความเป็นจริง คนที่ตัดสินไปแล้วว่าคนที่ได้รับเชิญไม่มีความเหมาะสมนั้น พวกเขาไม่ได้มีอคติหรือใช้อารมณ์ แต่ใช้เหตุผลเชิงประจักษ์ว่าคนที่ได้รับเชิญให้ไปบรรยายนั้นต้องคดี 112 ที่ถูกยื่นฟ้องแล้ว และมีพฤติกรรมเชิงประจักษ์ที่ไม่เหมาะสมมากมาย
ฟังการให้สัมภาษณ์ตัวแทนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงแล้ว เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้สึกรำคาญใจพอควร ในลีลาการสื่อสารของผู้บริหารที่ควรมีวุฒิภาวะในการแสดงออกมากกว่าที่ได้ยิน ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าทำไมท่านจึงคิดว่าคนที่กำลังสอบถามท่านใช้อารมณ์ ด้วยการบอกให้ผู้สัมภาษณ์ทำใจร่มๆ สำนวน “ใจร่มๆ” สื่อความหมายว่าผู้ให้สัมภาษณ์กำลังใช้อารมณ์ ไม่ได้ใช้เหตุผล คนที่ได้ฟังการสัมภาษณ์ในคืนนั้น น่าจะพออนุมานได้ว่าใครคือคนที่ใช้อารมณ์มากกว่ากัน จะเป็นผู้สัมภาษณ์หรือผู้ถูกสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ถามได้ตรงใจประชาชนส่วนใหญ่ที่มีความสงสัยว่าทำไมสถาบันจึงเลือกที่จะเชิญบุคคลดังกล่าวไปบรรยายเรื่องดังกล่าว แต่ละคำถามเป็นการแสวงหาคำอธิบายว่าทำไมจึงเลือกที่จะเชิญบุคคลดังกล่าว
- เขามีความชำนาญในเรื่องที่พูดในฐานะนักวิชาการที่สอนหรือทำวิจัยด้านนี้?
- เขามีผลงานเชิงประจักษ์ในเรื่องที่เขามาบรรยายมากน้อยแค่ไหน?
- เขามีประสบการณ์ที่ได้ทำงานในเรื่องที่เขามาบรรยายจนเกิดผลสำเร็จเป็นตำนานหรือเปล่า?
- เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นคนเก่งในเรื่องดังกล่าวในวงกว้าง เป็นข่าวให้ได้ยินมาตลอด?
- เขาเขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจนเป็นที่นิยม ใช้อ้างอิงทางวิชาการอย่างหลากหลาย?
ถ้าเขาคนนั้นไม่ได้มีคุณสมบัติอย่างที่ว่า ก็ไม่น่าจะเชิญเขามาให้เกิดประเด็นปัญหา เพราะว่าในการหาคนมาบรรยายเรื่องดังกล่าว ถ้าผู้จัดใช้ความพยายาม และใช้ความคิดไตร่ตรองให้ถ้วนถี่กว่านี้ เราเชื่อว่าน่าจะมีตัวเลือกอีกมากมาย และน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทั้งในแง่ของความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเรื่องของการเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน หรือไม่ขัดกับข้อความที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบันดังกล่าว การไปกล่าวหาโดยนัยๆ ว่าคนสัมภาษณ์ใช้อารมณ์นั้น อาจจะทำให้คนตีความว่าที่พูดเช่นนั้นเพราะหาคำตอบที่ดีพอไม่ได้ เช่น คำถามที่ว่าใครเป็นคนมีดำริที่จะเชิญผู้บรรยายคนดังกล่าว หรือทำไมถึงเชิญ และในคราวหน้าจะมีการเชิญแบบนี้อีกไหม คำตอบที่เราได้ยินนั้น ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นกับการตัดสินใจเลือกวิทยากรคนดังกล่าวเป็นผู้บรรยาย และเราก็ยังมองเห็นว่าหัวข้อดังกล่าวนั้นทางสถาบันน่าจะมีตัวเลือก โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้บริการของคนที่มีความนิยมแยกเป็นสองกระแสที่เรียกว่า Controversial อย่างชัดเจนเช่นนี้ และถ้าจะขอถามดังๆ อีกสักข้อว่า ในการบรรยาย เขาไม่ได้พูดในเชิงหาเสียงให้กับพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดเลย หรือเปล่า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาเป็นชุด! 'ดร.เสรี' ฟาดคนโอหัง ความรู้ไม่มี ทักษะไม่มี ไร้ภาวะผู้นำ น่าสมเพชอย่างแท้จริง
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า เตือนก็แล้ว ตำหนิก็แล้ว ต่อว่าก็แล้ว เยาะเย้ยก็แล้ว ล้อเลียนก็แ
ข้าอยากได้อะไร...ข้าต้องได้
เราคนไทยมักจะอ้างว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ มีการบริหารกิจการต่างๆ ภายในประเทศตามหลักการของนิติธรรม แต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้ หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐจริงหรือ
เมื่อ 'ธรรมชาติ' กำลังแก้แค้น-เอาคืน!!!
เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาของบ้านเรา...ท่านเคยคาดๆ ไว้ว่า ฤดูหนาว ปีนี้น่าจะมาถึงประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม
จ่ายเงินซื้อเก้าอี้!
ไม่รู้ว่าหมายถึง "กรมปทุมวัน" ยุคใด สมัยใคร จ่ายเงินซื้อเก้าอี้ ซื้อตำแหน่ง ในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ตามที่ "ทักษิณ ชินวัตร" สทร.แห่งพรรคเพื่อไทย ประกาศเสียงดังฟังชัดในระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก
ช่วงเค้าลางคดีสำคัญของนายกรัฐมนตรีก่อตัวในดวงเมือง
ขอพักการทำนายเค้าโครงชีวิตคนปี 2568 ไว้ชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคิวที่รออยู่คือท่านที่ลัคนาสถิตราศีตุล
ดร.เสรี ยกวาทะจัญไรแห่งปี 'เขาเว้นเกาะกูดให้เรา'
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ประโยควาทะอัปรีย์จัญไรแห่งปี "เขาเว้นเกาะกูดให้เรา" แสดงว่าเขาเมตตาเราสินะ เราต้องขอบคุณเขา สำนึกบุญคุณเขาใช่ไหม