บันทึกหน้า 4

ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด “ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” กรณี "หมออ๋อง" ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ยืนยันกรณีเดินทางไปดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน ด้วยงบประมาณ 1.3 ล้านบาท เป็นแบบประหยัด ท่ามกลางโลกออนไลน์ติด #ภาษีกู

แต่แทนที่จะไปแล้วได้รับคำชื่นชม กลับเต็มไปด้วยคำถาม ล่าสุดถูกเพจเฟซบุ๊ก "วันนี้ก้าวไกลโกหกอะไร" แหกซ้ำ โดยบอกว่าอยู่ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า “#ทุกคนคะ มี สส.ก้าวไกล หนีกลับจากสิงคโปร์ก่อนค่ะ

หมออ๋องเคยแจ้งว่า ดูงานที่สิงคโปร์ครั้งนี้สำคัญ ใช้เวลา 4 วัน 3 คืน คัดเลือก สส.ก้าวไกลที่เหมาะสมไป หนึ่งในนั้นคือ สส.เท้ง

วันศุกร์พบภาพ สส.เท้งอยู่ที่สภาสิงคโปร์ตามที่แจ้ง แต่วันนี้ (อาทิตย์) พบ สส.เท้งอยู่ที่กรุงเทพฯ มาร่วมงานของพรรคก้าวไกล

#คำถามค่ะ 1.ทำไม สส.เท้ง ถึงกลับก่อนกำหนดคะ งานไม่มีให้ดูแล้วหรือคะ ถ้าไม่มี คนอื่นอยู่ต่อทำไมคะ ถ้ามีกลับก่อนทำไมคะ

2.ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใครเป็นคนออกคะ ใช้ภาษีประชาชนหรือไม่คะ 3.ไม่ว่าเหตุผลการกลับก่อนกำหนดคืออะไร แต่การทิ้งภารกิจดูงานในนามประเทศไทย เพื่อมาร่วมงานของพรรคก้าวไกล แสดงให้เห็นว่า ประโยชน์ของพรรคสำคัญกว่าประโยชน์ของประเทศหรือไม่คะ ฝากพี่ๆ นักข่าวช่วยถามหมออ๋อง และ สส.เท้ง ให้ด้วยค่ะ”  

เกือบลืม เมื่อพูดถึงการดูงานต่างประเทศ ทำให้ย้อนนึกถึงกรณีนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เหมาเครื่องบิน 30 ล้านบาทไปประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นิวยอร์ก โดยปรากฏคนที่ไม่เกี่ยวข้องรวมถึงลูกสาวนายกฯ ไปด้วย แม้จะมีการแจ้งว่าออกค่าใช้จ่ายเองก็ตาม แต่ตอนนี้ยังไม่มีการนำใบเสร็จมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์   

รวมถึงข้อกล่าวหาไปที่กองทัพอากาศ ประเด็นรัฐบาลไม่สามารถเหมาเครื่องไปได้เพราะราคาแพง และยังยกเลิกภารกิจได้หากมีเหตุจำเป็น เกิดคำถามเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็คงยากที่จะมีใครว่าจ้างเครื่องบินกองทัพอากาศ หรือคนในทำเนียบรัฐบาลกำลังเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่นๆ หรือไม่ ฝากโฆษกรัฐบาลป้ายแดง "ชัย วัชรงค์" ตามเรื่องเหล่านี้ด้วย ไม่ควรปล่อยให้ชาวบ้านนินทาต่อไปเพราะจะเสียหายไปถึงตัวนายกฯ   

ไหนๆ ก็พูดเรื่องโฆษกรัฐบาลคนใหม่ ที่วันแรกของการทำงานก็หลุดวลีว่า "รัฐบาลนี้เป็นรัฏฐาธิปัตย์" ก็ถูกบรรดานักกฎหมายและคนการเมืองตกใจ และออกมาตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่

มีโอกาสปะหน้า อ.วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย จึงอธิบายคำว่า "รัฏฐาธิปัตย์" เอาไว้ว่า ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน และขณะนี้ผู้ที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์คือประชาชน เราจึงเรียกว่า "ประชาธิปไตย" ที่แปลว่าอธิปไตยเป็นของประชาชน 

แต่ถ้าพระเจ้าแผ่นดินเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เราก็เรียกว่า "ราชาธิปไตย" หรือถ้าคณะบุคคลเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เราเรียกว่าคณาธิปไตย หรือถ้าข้าราชการเป็นใหญ่ เราเรียกว่า อำมาตยาธิปไตย 

แต่วันนี้เราเป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจึงเขียนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แค่นี้ก็แปลว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว ส่วนประชาชนใช้อำนาจผ่านทางผู้แทนราษฎร เพราะผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนปวงชาวไทย และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นผู้แทนปวงชาวไทยเช่นกัน 

เมื่อถามว่าถ้ามีผู้ก่อรัฐประหาร บุคคลนั้นถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า อย่างนั้นคือใช่ เพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เขียนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยได้ถูกยกเลิกไปแล้วหลังจากเกิดรัฐประหาร แถมอีกนิดหากจะยกเลิกประกาศ คสช. อ.วิษณุ บอกว่า อะไรที่เป็นกฎหมายก็ต้องออกเป็น พ.ร.บ.ยกเลิก ส่วนคำสั่งที่เป็นเรื่องอำนาจบริหาร ให้ ครม.ออกมติยกเลิกได้

สอดรับกับรัฐธรรมนูญมาตรา 279 วรรคแรก ตอนท้าย "...การยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว ให้กระทำเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศ หรือคำสั่งที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี หรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี".

 

ช่างสงสัย 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร

อ่อนกว่าวัย

ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้

บันทึกหน้า 4

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง

บันทึกหน้า 4

” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา

บันทึกหน้า 4

พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป