คณะกรรมการยุทธศาสตร์ soft power แห่งชาติที่เพิ่งตั้งโดยมีนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน
และคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นรองประธานและประธานคณะกรรมการบริหาร จะมีบทบาทมากกว่าเพียงเรื่อง soft power เท่านั้น
น่าเชื่อว่าจะมีส่วนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกระทรวงทบวงกรมอีกมากมายหลายแห่ง
เพราะคณะกรรมการชุดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการเกือบจะทุกจุด
ยิ่งมีนายกฯ และคุณแพทองธารนั่งบริหารอยู่หัวโต๊ะด้วยก็ยิ่งจะทำให้เห็น “บารมี” ของคณะทำงานชุดนี้แผ่ซ่านไปกว้างไกล
คุณสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (หมอเลี้ยบ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ, คณะกรรมการชุดนี้บอกว่า
“8 ที่ผ่านมาสอนเราว่าการมี hard power มีผลมากต่อการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทย คนที่นิยามเรื่อง soft power คือ Joseph Nye เป็นนักยุทธศาสตร์ด้านการสงคราม เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยกลาโหมสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน
“เขาเห็นว่า hard power ที่มีทหารเป็นหมื่นเป็นแสน มีรถถัง เครื่องบิน ไม่ได้ผลแล้ว
“Hard power ก็มีกองกำลังทหาร มีหน่วยซีล มีเรือดำน้ำ รถถัง และต้องมีกลยุทธ์ครอบงำให้ตนเป็นมหาอำนาจ
“Soft power ก็ต้องมีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน ต้องมีกำลังทหารด้านสร้างสรรค์ทักษะต่างๆ เหล่านี้
“ถ้าเราจะสร้าง soft power เราก็ต้องมีนักมวยที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญอย่างบัวขาว หรือต้องมีเชฟในระดับระดับโลก ต้องมีนักเขียน นักดนตรี และอื่นๆ ซึ่งก็เหมือนกำลังทหาร
“อาวุธคืออะไร อาวุธก็คือเราต้องสามารถทำให้มีแฟชั่น เพลง นักเขียน กีฬาอะไรต่างๆ เหล่านี้ ทำให้กำลังทหารทางด้าน soft power ของเราเอาไปใช้ประโยชน์ได้
“แต่ถ้าเรามีคน มีอาวุธ มีอุตสาหกรรมด้านนี้แล้ว แต่ไม่มีนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนก็ไปไม่ได้ มันก็อยู่แค่ในประเทศ มันจึงต้องมีขบวนการที่ผลักดันไปสู่ต่างประเทศ
จึงต้องมี cultural diplomacy หรือการทูตเชิงวัฒนธรรม
จึงต้องมีกระทรวงต่างๆ มาเกี่ยวข้อง ต่างประเทศ, ศึกษา, อว., ท่องเที่ยว, กีฬา, วัฒนาธรรม, พาณิชย์ ไปสู่ตลาดโลก
ขณะเดียวกันก็ต้องมีภาคเอกชนมาร่วมด้วย
“ต้องยอมรับว่าภาครัฐมีความรู้ความเชี่ยวชาญน้อยกว่าภาคเอกชน
“ภาครัฐมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือ facilitator และเอกชนมีส่วนร่วมสำคัญ
“นโยบาย OFOS หนึ่งครอบครัว หนึ่ง soft power นั้น เราต้องการให้แต่ละคนมาลงทะเบียนเพื่อบอกว่าตัวเองสนใจอะไร อยากเป็นออกแบบแฟชั่นหรือทำแอนิเมชั่น, นักร้อง, นักเขียน,
“เราต้องสร้างศูนย์บ่มเพาะ ซึ่งอาจจะอยู่ในโรงเรียนหรืออาชีวศึกษา ที่มีกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ คือทุกอำเภอ
“ที่เคยสอนเรื่องอาชีวะก็จะขยายไปสอนเรื่องทักษะฝีมือและความคิดสร้างสรรค์
“ยิ่งมีคนเชี่ยวชาญระดับโลกมาสอน เราก็สามารถเจียระไนตั้งแต่ระดับจังหวัด, ระดับภาค, ระดับประเทศ
“เราก็จะสามารถ reskill คนทั้งประเทศ
“เราวางแผนว่าจะมี 20 ล้านคนที่เข้าโครงการ จากนั้นก็ต้องมีอุตสาหกรรมรองรับ และต้องสร้างความเข้มแข็งโดยให้ทุกคนในอุตสาหกรรมมาช่วยกัน
“เขาจะให้รัฐส่งเสริมอะไร เงินทุน, วิจัยพัฒนา เรามีงบประมาณแผ่นดินสำหรับโครงการ soft power ถึง 7,000 ล้าน
“แต่ต้องใช้เงินอย่างมียุทธศาสตร์ ไม่ใช้อย่างสะเปะสะปะ บอร์ดชุดนี้จะเป็นคนกำหนดว่าเงินจะไปสนับสนุนอะไรอย่างไร
และจะมีกฎหมายตั้ง Thailand Creative Agency
“โดยมีบอร์ดบริหารย่อยลงมา โดยมีระดับปฏิบัติงานมาอยู่ในนี้ และมีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธาน”
มีคนถามว่า คำว่า soft power จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร
ยังไม่มีคำที่เป็นทางการ
เคยมีบางท่านเสนอว่าให้ใช้คำว่า “กัลยานุภาพ” ตรงกันข้ามกับ “แสนยานุภาพ”
บางคนเรียกมันว่า “อำนาจละมุน”
ทำให้คิดถึงคำว่า “ละมุนละม่อม” ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับคดีอาชญากรรมเมื่อต้องการจะจัดการกับผู้ต้องสงสัยอย่างนุ่มนวล แทนที่จะใช้อาวุธเข้าจัดการ
บางคนบอกว่าคำนี้ไม่ได้สื่อความหมายอะไรเลย
ต้องเรียกว่า “อำนาจโน้มนำ”
เพราะเป็นการพยายามใช้กิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อน้าวโน้มให้คนอื่นเชื่อและศรัทธา มิใช่ใช้วิธีการบังคับหรือกดดัน ซึ่งไม่ได้ผลแน่นอน
อาจารย์ศุภมิตร ปิติพัฒน์ แห่งคณะรัฐศาสตร์, จุฬาฯ เขียนใน Facebook ของท่านเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ท่านเห็นด้วยกับอาจารย์พวงทอง ภวัครพันธุ์ ที่เสนอคำว่า “อำนาจโน้มนำ”
ผู้ต้นคิดคำนี้คือ Joseph S. Nye, Jr. ได้แยก soft power ออกมาจาก hard power
“การพิจารณาเรื่องนี้จึงต้องพิจารณาอำนาจทั้ง 2 ควบคู่กัน เพราะทั้ง 2 อำนาจในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีพลัง โน้มนำได้ทั้งคู่ การบีบบังคับด้วยกำลัง หรือด้วยการกดดันและการให้สิ่งล่อใจจ่ายตอบแทนให้ในทางเศรษฐกิจ ก็โน้มนำใจได้มาก
“สหรัฐก็รู้ดีมีความชำนาญในการใช้อำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ “โน้มนำ” ประเทศอื่น คำว่าโน้มนำในที่นี้จึงมีความหมายในทาง Influence หรือ inducement อันเป็นฤทธิ์แสดงออกของผู้ทรงอิทธิพล
“นอกจากนั้น สิ่งที่เห็นชัดว่าเป็น hard power ในบริบทการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาคือ อำนาจการทหาร เพราะสหรัฐใช้อำนาจทางทหารในการป้องปราม ในการกดดัน ในการทูตบีบบังคับด้วยกำลัง หรือจนไปถึงการบุกโจมตีชิงลงมือก่อน และปฏิบัติการทหารที่มุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงระบอบ เช่นที่สหรัฐทำกับอิรักนั้น ประเทศอื่นๆ อาจมิได้มี tradition ทางทหาร และการใช้อำนาจทางทหารในแบบเดียวกันกับสหรัฐ
“เป็นเหตุให้ประเทศอย่างแคนาดา ซึ่งใช้การทหารส่งเสริมบทบาทประเทศของตนในด้านการรักษาสันติภาพ peacekeeping ตามอาณัติของสหประชาชาติ และในภารกิจด้านมนุษยธรรม humanitarian เสนอว่า อำนาจทหารของแคนาดาส่วนใหญ่ใช้ในทาง soft power และปรากฏผลต่อคนอื่นต่อประเทศอื่นในทางเป็น soft power ของแคนาดาได้ ดังนั้นจึงไม่ควรจัดอำนาจทหารของแคนาดาเป็น hard power ตามบริบทสหรัฐ หรือตามการจัดของ Nye ที่อภิปรายเรื่องนี้ทีแรกจากประสบการณ์ของสหรัฐ
อาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า การอภิปรายเรื่อง soft power เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเข้าใจ hard power ประกอบกันไป
สิ่งที่เป็น hard power หรือประเทศหนึ่งใช้เป็น hard power ประเทศอื่นอาจใช้ในทาง soft power ได้
อำนาจเศรษฐกิจยิ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นได้ทั้ง 2 ทาง การจะแปล soft power จะแปลโดยลำพังไม่ได้ ต้องจัดคำแปล hard power ออกมาคู่กัน
หรือถ้าจะให้ตรงความหมายเลยจะใช้คำว่า “อำนาจอ่อน” ซื่อๆ ตรงข้ามกับ “อำนาจแข็ง” หรือ hard power
“แปลด้วยคำง่ายๆ สื่อนัยได้ทั้งด้านที่เป็นอำนาจอิทธิพลให้อ่อนโอนตาม ไม่ใช่แต่เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมทั่วไป และด้านที่เป็นวิธีการอ่อนแข็ง”
จะแปลเป็นภาษาไทยอย่างไร สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับคณะกรรมการชุดนี้ก็คือการที่จะให้ “20 ล้านครอบครัว” สร้างกิจกรรมหรือทักษะที่เป็น soft power นั้นเป็นงานที่ต้องสร้างความตระหนักและสร้างผลงานที่จับต้องได้จริงจัง...
4 ปีของรัฐบาลจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นหรือเป็นแค่การเริ่มทำ sandbox เท่านั้นหรือไม่ยังไม่มีใครตอบได้ จนกว่าจะได้ลงมือทำกันจริงๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
แต่หลายคนมีคำถามว่าเรื่อง soft power ระดับชาติกับการสร้างทักษะให้ 20 ล้านครอบครัวนั้นมันเรื่องเดียวกันจริงหรือ?
พรุ่งนี้ว่าต่อครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ