เมื่อรัฐบาลมีนโยบายต้องใช้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบ “ปั๊มหัวใจ” ไม่ใช่เพียงแค่ “หยอดน้ำข้าวต้ม” คำถามใหญ่ก็คือว่าเรามีเงินในกระเป๋ามากน้อยเพียงใด
และประเมินแล้วมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นหรือไม่
ที่สำคัญคือทั้งหมดนี้จะ “คุ้มค่า” หรือไม่
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมติดตามชุดตัวเลขและข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณและประเด็นที่โยงกับเศรษฐกิจของประเทศ
เพื่อทำความเข้าใจว่าเรามี “กระสุน” อยู่เท่าไหร่ และจะสามารถยิงใส่ “เป้า” ได้จริงหรือไม่
ที่สำคัญคือเมื่อต้องใช้กระสุนไปจำนวนมากตามนโยบาย “ประชานิยม” มากมายแล้ว จะมีกระสุนสำรองเผื่อยามฉุกเฉินที่คาดไม่ถึงหรือไม่
ก็ได้อ่านพบรายงานที่กระทรวงการคลังรายงานต่อ ครม. ในการประชุมวันแรกของรัฐบาลชุดนี้
ในการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ครม.มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ 2567-2570) “ฉบับทบทวน”
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ
และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ
สาระสำคัญของแผนการคลังระยะปานกลางฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1.สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ
ในปี 2567 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 และ GDP Deflator อยู่ที่ร้อยละ 1.8 สำหรับปี 2568
คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 และขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ในปี 2569 - 2570 ในส่วนของ GDP Deflator ในปี 2568-2570 อยู่ที่ร้อยละ 2.0
2.สถานะและการประมาณการการคลัง
2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2567-2570 เท่ากับ 2,787,000 2,899,000 2,985,000 และ 3,074,000 ล้านบาท ตามลำดับ
2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567-2570 เท่ากับ 3,480,000 3,591,000 3,706,000 และ 3,825,000 ล้านบาท ตามลำดับ
2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2567-2570 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 693,000 ,692,000 ,721,000 และ 751,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.63 3.43 3.40 และ 3.36 ต่อ GDP ตามลำดับ
2.4 ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2567-2570 เท่ากับร้อยละ 64.00 ,64.65 ,64.93 และ 64.81 ตามลำดับ
ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP นี่แหละครับที่จะถูกจับตาเป็นพิเศษว่าจะ “บวม” จากที่วางแผนเอาไว้วันนี้มากน้อยเพียงใด หากรัฐบาลเดินหน้าทำนโยบายประชานิยมอย่างขึงขังจริงจัง
3.เป้าหมายและนโยบายการคลัง
การดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลางยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล
เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกันจะมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีภูมิคุ้มกันของภาคการคลัง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต โดยยึดหลัก “Sound Strong Sustained” ที่มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายการคลังที่สมเหตุสมผล
สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง
รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังในทุกด้าน
ทั้งในส่วนของการฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถรองรับการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล
และคำนึงถึงการรักษาระดับเครื่องชี้ทางการคลังให้อยู่ภายใต้กรอบวินัยการคลัง (Fiscal Discipline) เพื่อมุ่งสู่ภาคการคลังที่ยั่งยืนและมีศักยภาพในการรองรับความเสี่ยงที่ประเทศอาจต้องเผชิญอีกในอนาคต
เป้าหมายของแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้จะมุ่งเน้นการควบคุมขนาดการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคลังที่เปลี่ยนแปลงไป
และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะปานกลาง
เพื่อมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีประมาณการสถานะการคลังในระยะปานกลางภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ดังนี้
ทั้งนี้ ในระยะยาวหากภาวะเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม
นายกฯเศรษฐาแถลงหลังการมอบนโยบายให้กับกระทรวงการคลังว่าเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในภาวะถดถอย และประชาชนเดือดร้อนมาก
เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่านโยบายรัฐบาลมีอะไรบ้าง จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่ต้องสนับสนุนรัฐบาลในทุกๆเรื่อง
นายกฯบอกว่าได้มอบนโยบายให้ผู้บริหารกระทรวงการคลังไป 2 เรื่อง คือ
1.เนื่องจากการทำนโยบายต่างๆต้องใช้งบประมาณสูงมาก จึงต้องตอบประชาชนให้ได้ว่างบประมาณดังกล่าวเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง
และระยะยาวส่งผลต่อ GDP อย่างไร และหนี้สาธารณะควรมีสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างไร
2.เรื่องวิธีการทำงานและเรื่องความเป็นธรรม
รัฐบาลนี้จะให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการข้าราชการ โดยเฉพาะระบบเส้นสาย ระบบการโยกย้ายไม่เป็นธรรม และระบบการปูนบำเหน็จ
“วิธีการที่มีการโยกย้ายไม่เป็นธรรม มีการใช้เส้นสาย หรือมีผู้มีอำนาจทั้งหลายเข้าไปใช้อิทธิพล ผมในฐานะ รมว.คลัง จะช่วยเหลือเขา และเป็นเกราะกำบังให้ เพื่อให้ข้าราชการทั้งหมดทำงานได้ด้วยความสบายใจ มีประสิทธิภาพ และถ้าทำงานดี ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จตามความเหมาะสม” นายเศรษฐากล่าว
นายกฯยังย้ำว่านโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทนั้น รัฐบาลไม่มีการกู้เงิน
“เรื่องนี้เกิดขึ้นแน่นอน 1 หมื่นบาท ทำได้แน่นอน แหล่งเงินมีแน่นอน แต่ขอเวลาอีกหนึ่งเดือนแล้วจะชี้แจงให้ทราบว่าเงินทั้งหมดมาจากไหน”
คุณเศรษฐาย้ำว่า “การกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะถ้ามีการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP เองก็จะขึ้น ถ้า GDP ขึ้นแล้วหนี้ขึ้น สัดส่วนของ GDP มากกว่าหนี้ หนี้สาธารณะก็อาจจะไม่เพิ่ม แต่จะคงที่ไว้”
หลักการทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ของรัฐบาลใหม่
สิ่งที่จะพิสูจน์ว่าทำได้หรือไม่ได้ก็ย่อมอยู่ที่ว่าเมื่อลงมือทำแล้วจะต้องเจอกับอุปสรรคอะไร
ถึงตอนนั้นก็อย่าได้แปลกใจหากจะมีการปรับเปลี่ยนแผนหรือต้องผิดคำพูดที่กล่าวไว้ในตอนนี้
และประโยค “ใจเย็นนิดนึง” กับ “เราต้องยอมรับความจริง...” ก็จะถูกใช้มาอธิบายถึงการเปลี่ยนทิศทางของนโยบายอีกเป็นแน่แท้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ