ทำไมแอฟริกา มีรัฐประหารบ่อย?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการรัฐประหารอีกครั้งในแอฟริกา - เพียงห้าสัปดาห์หลังจากประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูมของไนเจอร์ถูกจับเป็นตัวประกันโดยกองทหารองครักษ์ของตัวเอง

ที่กาบอง ประธานาธิบดีอาลี บองโกแห่งกาบองก็พบว่าตัวเองถูกควบคุมตัวในบ้านพักของเขาเอง

เช้าตรู่ของวันพุธที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมามีคำประกาศอย่างกะทันหันทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติให้นายบองโกเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ก่อนหน้านั้น

แต่ภายในไม่กี่นาทีต่อมาก็มีคำประกาศสุดเซอร์ไพรส์ในขณะที่ทหารกลุ่มหนึ่งประกาศยึดอำนาจจากผู้นำที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง

หลังจากการยึดอำนาจโดยทหารได้ไม่นานก็มีภาพการเฉลิมฉลองฝูงชนกลางถนนแสดงความยินดีปรีดากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เหตุรัฐประหารนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ยึดอำนาจประกาศยกเลิกคำสั่งปิดระบบอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลของนายบองโกก่อนการเลือกตั้ง

การสั่งปิดอินเตอร์เน็ทของผู้นำคนก่อนมีผลตลอดการ "นับ" คะแนนการหย่อนบัตรที่มีทีท่าว่าจะไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องนัก

ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ครั้งที่สองนี้สร้างความประหลาดใจไปทั่วประเทศ

เพราะเป็นภาพของประธานาธิบดีบองกงเป็นคลิปวีดีโอที่ส่งไปออกอากาศจากสถานที่เขาถูกคุมขัง

บองโกดูสีหน้าสับสนงุนงง และเริ่มอ่านสาส์นเป็นภาษาอังกฤษที่ร้องขอให้ “เพื่อน ๆ นอกประเทศให้ช่วย "ส่งเสียงดัง" ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา

เป็นการตั้งความหวังว่าจะมีแรงกดดันจากภายนอกช่วยพลิกสถานการณ์ที่จะช่วยให้กลุ่มทหารที่ก่อรัฐประหารถูกปราบปราม

เป็นเสียงเรียกร้องที่ไม่น่าจะเกิดผลตามที่เขาต้องการนัก

ตัวบองโกเองค่อนข้างจะแปลกใจกับการที่มีกลุ่มทหารกล้าโค่นเขาลงจากอำนาจ แต่คนในแอฟริกาและชาวโลกที่ติดตามข่าวสารของทวีปแห่งนี้ก็ไม่น่าจะช็อกอะไรมากนัก

ก่อนหน้านั้น การก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่โค่นล้มนายบาซูมในประเทศไนเจอร์เป็นสัญญาณเตือนอย่างชัดเจนว่า "โรคระบาดรัฐประหาร" ในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางยังไม่ได้แผ่วเบาลงแต่อย่างใด

เพราะก่อนหน้านี้การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหารในแอฟริกาก็กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

และไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงในเร็ว ๆ วัน

เดือนมกราคมปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโรช มาร์ค คริสเตียน กาโบเร ของบูร์กินาฟาโซถูกปลดโดยทหาร

แต่ 8 เดือนต่อมาผู้นำกลุ่มทหารนี้เองก็ถูกโค่นโดยนายทหารที่มียศต่ำกว่าในวันที่ 30 กันยายน

และก่อนหน้านั้นปี 2021 ก็ได้เกิดรัฐประหารสองครั้งในแอฟริกาตะวันตก

ในเดือนพฤษภาคม พ.อ. อัสซิมี โกอิตา ซึ่งเคยเป็นผู้บงการการยึดอำนาจทางทหารในประเทศมาลีก่อนหน้านี้ก็ก่อเหตุยึดอำนาจรอบที่สองเพื่อเพื่อยืนยันการดำรงไว้ซึ่งอำนาจของตนอีกครั้ง

จากนั้นในเดือนกันยายน กองกำลังพิเศษของกินีได้บุกเข้าไปในพระราชวัง Sékoutouréyah ในเมืองโกนากรีเพื่อควบคุมตัวประธานาธิบดี Alpha Condé

และต้องไม่ลืมเหตุทำนองเดียวกันที่ประเทศแชด

หลังจากการเสียชีวิตในเดือนเมษายน 2021 ในการสู้รบกับผู้นำกระดูกเหล็ก ไอดริส เดบี อิตโนอย่างยืดเยื้อ กลุ่มทหารที่เรียกตัวเองว่า “สภาทหาร” ก็ประกาศเข้ากุมอำนาจ

เพื่อสถาปนาลูกชายของตนเองให้สืบทอดตำแหน่งต่อไป

เป็นการกระทำเพื่อให้อำนาจของตระกูลนี้ยังบริหารประเทศต่อไปโดยไม่มีกลุ่มอื่นใดมาท้าทาย

คำถามที่น่าสนใจคือเกิดอะไรขึ้นในโลกตะวันตกและแอฟริกากลาง - และโดยเฉพาะประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส?

เมื่อหกปีก่อน การลี้ภัยของยาห์ยา จัมเมห์ ผู้ปกครองแกมเบียหลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งทำให้ทุกประเทศในแอฟริกาตะวันตกอยู่ภายใต้การปกครองตามรัฐธรรมนูญหลายพรรค

ในใจกลางทวีป ระบอบเผด็จการในบางประเทศยังกุมอำนาจอยู่ แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างว่ายุคแห่ง “ทหารครองเมือง”น่าจะผ่านไปนานแล้ว

แต่แล้วความหวังเช่นนั้นก็สิ้นสลาย

เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เกิดรัฐประหาร 7 ครั้งใน 5 ประเทศ

อีกทั้งในประเทศชาด กลุ่มติดอาวุธที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็เข้าสู่อำนาจอีกครั้ง

มีเหตุผลอันใดหรือที่เรื่องอย่างนี้ยังเกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา?

ช่วงหลังนี้มีปรากฏการณ์ที่ทำให้ผู้ถืออาวุธในหลายประเทศบนทวีปแห่งนี้รู้สึกว่าสามารถเข้ายึดอำนาจโดยไม่ต้องรับโทษ และบ่อยครั้งก็ยังได้รับการสนับสนุนจากประชากรในเมืองจำนวนมากด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวที่อึดอัดคับข้องใจกับคุณภาพของนักการเมืองที่เสื่อมทรุดลงตลอด

นักวิเคราะห์ที่ติดตามการเมืองใกล้ชิดของประเทศในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางบอกว่าคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เบื่อหน่ายและไม่แยแสกับชนชั้นการเมืองแบบเดิมๆ มากขึ้นทุกที

แม้แต่กับนักการเมืองที่ได้รับเลือกให้เข้ารับตำแหน่งโดยชอบด้วยกฎหมายก็ยังถูกมองว่า

อาการอย่างนี้ย่อมต้องมีสาเหตุเกี่ยวกับปากท้องของประชาชน

ความท้อแท้ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น คนตกงานจำนวนมาก

เป็นปัญหาทั้งสำหรับทั้งคนจบมหาวิทยาลัยและผู้ที่ได้รับการศึกษาน้อย

สมทบด้วยปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ

อีกทั้งยังมีการใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ ในหมู่ชนชั้นสูง

และยังมีความไม่พอใจต่ออิทธิพลที่ยังคงมีอยู่ของอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในหลายประเทศ

และที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือความผิดหวังอย่างหนักต่อการที่ผู้ปกครองพลเรือนจำนวนมากที่จงใจบิดเบือนกระบวนการเลือกตั้งหรือการปกครองตามรัฐธรรมนูญเพื่อยืดเวลาการครองอำนาจของตน

และยกเลิกมาตรการการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

“วิกฤตรัฐธรรมนูญ” ก็กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การเมืองถอยหลังลงคลองกลับไปสู่วงจรอุบาทว์ของรัฐประหารสลับกับการเลือกตั้งแบบมีเบื้องหลังตุกติก

ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้นำมาซึ่งการเซาะกร่อนอำนาจทางศีลธรรมขององค์กรต่างๆ เช่น สหภาพแอฟริกา หรือประชาคมเศรษฐกิจของรัฐแอฟริกาตะวันตก (Ecowas)

ที่มักถูกขนานนามว่าเป็น “สโมสรของประธานาธิบดีผู้ดำรงตำแหน่ง” เพื่อพยายามบังคับผู้นำรัฐประหารให้ฟื้นฟูการปกครองของพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง

                    กลุ่มภูมิภาคแอฟริกากลางซึ่งมีกาบองอยู่ไม่มีเจตนาจริงจังในการสร้างหรือรักษามาตรฐานการกำกับดูแลทั่วทั้งรัฐสมาชิก

แต่ในขณะที่ปัจจัยทั้งหมดนี้สร้างบรรยากาศที่ทหารรู้สึกกล้ามากขึ้นในการยึดอำนาจโดยอ้างว่าเป็น "การเริ่มต้นใหม่" การทำรัฐประหารแต่ละครั้งยังได้รับแรงผลักดันจากแรงจูงใจเฉพาะเจาะจงในระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นที่แคบ และการยึดครองในกาบองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น

แต่ในขณะที่ปัจจัยทั้งหมดนี้สร้างบรรยากาศที่ทหารรู้สึกกล้ามากขึ้นในการยึดอำนาจ โดยอ้างว่าเป็น "การเริ่มต้นใหม่"

แต่ท้ายที่สุดก็มีคำถามใหญ่ว่า “จะต้องเริ่มต้นใหม่กี่ครั้งจึงจะกลับไปมาสู่ระบอบที่ชาวบ้านมีสิทธิ์มีเสียงจริง ๆ”?

วันนี้ยังไม่มีคำตอบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ