การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่อินโดนีเซียมีประเด็นร้อน ๆ หลายเรื่องที่รัฐบาลใหม่ของไทยต้องวางยุทธศาสตร์ในทุกมิติให้สอดคล้องกับทิศทางของความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้
นายกฯเศรษฐา ทวีสินพลาดงานนี้เพราะรอถวายสัตย์ฯ และแถลงนโยบายต่อรัฐสภาวันนี้
แต่ผมก็เชื่อว่าผู้นำอาเซียนอื่น ๆ คงจะตั้งหน้าตั้งตาเฝ้ารอว่านโยบายต่างประเทศของไทยภายใต้รัฐบาลใหม่จะเป็นเช่นไร
บทบาทของคุณปานปรีย์ พหิทธานุกรในฐานะรองนายกฯและรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ก็จะเป็นที่จับตาอย่างกว้างขวางไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังจะเป็นเป้าความสนใจของอาเซียนและภูมิภาคนี้...รวมถึงมหาอำนาจจีน, อเมริกา, และยุโรปด้วย
เพราะการเมืองไทยมีความพัวกันกับความเคลื่อนไหวนานาชาติอย่างปฏิเสธไม่ได้
หนึ่งในมติของผู้นำอาเซียนจากการประชุดสุดยอมครั้งนี้คือการจัดตั้ง “กลไกทรอยกา” หรือ Troika Mechanism
อันหมายถึงคณะทำงาน 3 ฝ่ายของอาเซียน
ซึ่งประกอบด้วยประธานอาเซียนหมุนเวียน 3 ประเทศ: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
เพื่อรับมือกับวิกฤติในเมียนมา
โดยฟิลิปปินส์เตรียมที่จะเข้ามาแทนที่เมียนมาในการรับหน้าที่เป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนในปี 2026
นั่นแปลว่าอาเซียนเองคาดว่าจากนี้ไปอีก 3 ปี สันติภาพคงจะยังไม่เกิดขึ้นในเมียนมา
และคงยังเชื่อว่าผู้นำทหารอย่างมิน อ่อง หล่ายก็คงจะยังกุมอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในประเทศนั้น
ซึ่งย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและทำให้อาเซียนมีภาพของการเป็นองค์กรภูมิภาคที่มีน้ำยา
การตั้ง “คณะทำงานไตรภาคี” ของอาเซียนครั้งนี้เท่ากับเป็นการยืนยันความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่องในการจัดการปัญหาเมียนมา
ในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่เกิดอาการชะงักงันของโครงการและกิจกรรมของกลุ่มสมาชิก 10 ประเทศ
รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เรตโน มาร์ซูดี กล่าวว่าผู้นำอาเซียนย้ำถึงความจำเป็นในการยุติความรุนแรงในเมียนมาให้จงได้
พร้อมตกลงที่จะสร้าง “กลไกทรอยกา” ที่จะช่วยให้ประธานอาเซียนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และที่กำลังเข้ามาจัดการวิกฤต แบบประสานเสียงร่วมกันและต่อเนื่อง
“เพราะทุกคนเข้าใจว่าสถานการณ์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในหนึ่งปี และเนื่องจากความมุ่งมั่นของอาเซียนที่จะช่วยเหลือประชาชนเมียนมาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการแบบทรอยกา (กลไก) ระหว่างประธานในปัจจุบัน อดีต และอนาคต, เธอกล่าว
รัฐมนตรีอินโดฯยังบอกว่าผู้นำอาเซียนยังได้พิจารณาและประเมินผลการดำเนินการตามฉันทามติห้าประการที่บังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2564
และตัดสินใจว่าควรยังคงเป็นหลักการสำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขวิกฤติทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในเมียนมา
เพราะมีผู้เสียชีวิตหลายพันคนและอีกจำนวนมาที่ได้กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศนับตั้งแต่กองทัพเมียนมาร์ยึดอำนาจในการรัฐประหารต่อต้านรัฐบาลที่ได้รับเลือกของนางอองซาน ซูจี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ต้องทบทวนว่า “ฉันทามติห้าข้อ” หรือ ASEAN’s 5-Point Consensus มีอะไรบ้าง
ที่มาของมติห้าข้อนี้เกิดขึ้นระหว่างการประชุมเมื่อเดือนเมษายน 2564 ผู้นำอาเซียนทุกคน (รวมทั้งมิน อ่อง หล่ายด้วย) บรรลุฉันทามติเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา
5 ข้อนั้นคือ:
ประการแรก จะต้องยุติความรุนแรงในเมียนมาโดยทันที และทุกฝ่ายจะต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างที่สุด
ประการที่สอง การเจรจาอย่างสร้างสรรค์ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเริ่มต้นเพื่อหาทางแก้ไขโดยสันติเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ประการที่สาม ผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนจะต้องอำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ยกระบวนการเจรจา โดยได้รับความช่วยเหลือจากเลขาธิการอาเซียน
ประการที่สี่ อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านศูนย์ AHA ของอาเซียน
ประการที่ห้า ทูตพิเศษและคณะจะเดินทางเยือนเมียนมาเพื่อพบปะกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่าประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ ของฟิลิปปินส์บอกกับผู้นำประเทศต่างๆ ว่า
ประเทศของเขาพร้อมที่จะเข้ามาแทนที่เมียนมาในฐานะประธานอาเซียน ซึ่งจะมีการหมุนเวียนประเทศสมาชิกทุกปีตามลำดับตัวอักษรของชื่อประเทศ
มาร์กอสกล่าวในวันแรกของการประชุมสุดยอดอาเซียนสามวันในกรุงจาการ์ตาว่า “ผมมีความยินดีที่จะประกาศว่าฟิลิปปินส์พร้อมที่จะรับตำแหน่งและประธานอาเซียนในปี 2569”
“เราจะเสริมสร้างรากฐานของการสร้างประชาคมของเราและนำทางอาเซียนในขณะที่เริ่มต้นบทใหม่”
นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง ของสิงคโปร์ กล่าวถึง “ทรอยกา” ในฐานะกลไกการปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการ
“นี่คือวิถีทางในการคงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในประเด็นสำคัญๆ ของภูมิภาค และมอบอำนาจสำคัญๆ ให้มี
ส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหมายในภูมิภาคของเรา เพื่อให้อาเซียนสามารถรับประกันได้ว่าอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญและความเป็นศูนย์กลางต่อประชาชนของเราต่อไป”
แถลงการณ์ที่ออกโดยผู้นำอาเซียน ระบุว่าผู้นำทั้งหมดยังตกลงที่จะสนับสนุนความพยายามใดๆ ก็ตามของ
ประเทศสมาชิกในการประสานงานกับประธานของกลุ่มเพื่อแก้ไขวิกฤติในเมียนมาซึ่งสอดคล้องกับฉันทามติห้าประเด็น
ลึก ๆ แล้วผู้นำอาเซียนตระหนักว่าวิกฤตของเมียนมาได้ทำให้อาเซียนแบ่งแยกเป็นอย่างน้อยสองกลุ่ม
โดยกลุ่มแรกต้องการจะใช้มาตรการเข้มข้นต่อรัฐบาลทหารเมียนมา ถึงขั้นคว่ำบาตร ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วยตราบที่ยังไม่ทำตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน
กลุ่มที่สองต้องการจะใช้วิธีการทางการทูตที่นิ่มนวล ไม่ปิดประตูตายกับรัฐบาลทหารพม่า เพราะกลัวว่าหากยิ่งโดดเดี่ยวผู้นำทหารพม่า ก็ยิ่งจะทำให้มิน อ่อง หล่ายใช้มาตรการปราบปรามกลุ่มต่อต้านหนักหน่วงรุนแรงขึ้นอีก
ที่ผ่านมารัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาถูกมองว่าเป็นกลุ่มหลัง
ยิ่งเมื่อเห็นว่าฟิลิปปินส์จะรับหน้าที่ประธานอาเซียนหมุนเวียนแทนเมียนมาในปี 2026 ก็ยิ่งสะท้อนว่าวิกฤตเมียนมาจะยังยืดเยื้อไปอีกหลายปี
นักวิเคราะห์มองว่าเมื่อพิจารณาถึงความซับซ้อนของวิกฤตแล้ว ก็ไม่น่าจะมีสัญญาณของความคลี่คลายได้ภายในสามปีข้างหน้า
วิกฤตครั้งนี้ทำให้อาเซียนไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่การตัดสินใจมอบตำแหน่งประธานให้กับฟิลิปปินส์ก็อาจจะจะช่วยฟื้นฟูความสามัคคีนั้นได้ในระดับหนึ่ง
เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว
เมื่อปี 2006 เมียนมาถูกขอไม่ให้รับตำแหน่งประธานอาเซียน เพราะมีความกังวลว่าตะวันตกจะคว่ำบาตรพม่าหลังจากมีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจมาก่อนหน้านั้น
ภายใต้กลไก “ไตรภาคี” นี้ สปป. ลาวซึ่งจะเป็นประธานในปีหน้า ก็จะต้องทำงานร่วมกับอินโดนีเซียประธานในปีนี้และประธานมาเลเซียปี 2025
ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศว่ามีแนวโน้มจะจัดการเลือกตั้งในปี 2025 โดยพรรคการเมือง 36 พรรคได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการเลือกตั้ง
แต่ไม่มีใครแน่ใจได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากน้อยเพียงใด
ที่เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อจะได้รอฟังว่ารัฐบาลเศรษฐาจะมีนโยบายต่างประเทศในแนวทางใดจึงจะ “ทันกับความเปลี่ยนแปลง” อันหนักหน่วงรุนแรงรอบ ๆ บ้านเราวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ