สรุปเทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม

คงปฏิเสธไมได้ว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวของภาคธุรกิจเพื่อเอาตัวรอด การช็อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ วิธีการรับประทานอาหารในร้านอาหารที่ดูแปลกตาไปจากอดีต รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่หลายประเทศต้องเผชิญปัญหามาอย่างยาวนาน และคงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะกลับมาเติบโตได้เหมือนช่วงก่อนการแพร่ระบาด

สำหรับในช่วงที่ผ่านมา มีงานวิจัยจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและเครื่องดื่มของ Mintel ที่ได้ทำการวิเคราะห์และคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงในส่วนของพฤติกรรม รวมถึงทัศนคติของผู้บริโภคที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ว่า แนวโน้มเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ

และโอกาสสำหรับแบรนด์ในอนาคตอย่างไร โดยจะเป็นภาพรวมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปี 2564 รวบรวมผลวิจัยทางการตลาด ข้อมูลเชิงลึกด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคมาเล่าสู่กันฟัง

Jolene Ng นักวิเคราะห์อาวุโสด้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกของ Mintel กล่าวว่า ​​ในรายงานภาพรวมแนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ข้อมูลเชิงลึกของ Mintel มีส่วนในการกำหนดความเป็นไปในตลาดอาหารและเครื่องดื่ม และมั่นใจว่าข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ความเป็นหนึ่งที่ไม่มีใครสามารถเทียบได้

มาดูกันว่าเนื้อหาสำคัญจากภาพรวมแนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดังกล่าวจะมีอะไรกันบ้าง โดยประการแรกจะเห็นได้ว่าความสนใจต่อระบบย่อยอาหารที่ดีเพิ่มสูงขึ้น แม้ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากนมจะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายก็ตาม แต่ผู้บริโภคในภูมิภาค APAC ยังคงมองหาผลิตภัณฑ์ที่ย่อยง่าย เพื่อตอบปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ

ทั้งนี้ข้อมูลจาก Mintel แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภค 25% ในประเทศอินเดียได้รับคำแนะนำและถูกสนับสนุนให้หันมาดื่มนมที่ปราศจากแล็กโทสมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภค 85% ในประเทศไทยอ้างว่าตนเองสนใจนมที่ดื่มแล้วย่อยง่าย เช่น นมที่ปราศจากแล็กโทส โดยปัจจุบันแบรนด์สามารถหยิบยกประโยชน์ของนมที่ปราศจากแล็กโทส เช่น ความเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับการย่อยมาเป็นจุดขาย เพื่อช่วยโปรโมตให้สินค้าในหมวดหมู่นี้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ยังมีกระแส Fast Fashion ของอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจีน เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านค้าออนไลน์และการสื่อสารในยุคดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มสู่กระแส Fast fashion ซึ่งแฟชั่นกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมืออันดับต้นๆ ของการสร้างภาพลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มท่ามกลางการแข่งขันบนโลกออนไลน์ที่ร้อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด ร้านออนไลน์ในประเทศจีน ข้อมูลของ Mintel พบว่า 62% ของผู้บริโภคชาวจีนมักมองหารสชาติ อาหารแปลกใหม่ เพื่อลองชิมเป็นประสบการณ์

ในโลกแห่งการค้าปลีกและสังคมออนไลน์ยุคดิจิทัล เป้าหมายหลักของแบรนด์ต่างๆ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องเทรนด์ล่าสุดอยู่เสมอ ซึ่งประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น ความสวยงาม ความแปลกใหม่ หรือความรู้สึกอยากได้ ในผู้บริโภคที่จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นยอดขายและภาพลักษณ์ของแบรนด์

ขณะเดียวกันยังมีเรื่องราวของเหล่าผู้บริโภค ที่เมื่อรู้สึกเครียดจะหันมาทานอะไรก็ตามที่อร่อยและดีต่อใจเพื่อผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งเรื่องของคุณค่าที่ผลิตภัณฑ์สามารถมอบให้กับผู้บริโภคที่จะมีความสำคัญมากกว่าเรื่องราคาในช่วงการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งผู้บริโภคจะแสวงหาคุณค่าผ่านการเลือกอาหารที่มอบรสชาติ คุณภาพ และประโยชน์ในเรื่องของสุขภาพที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการเฉพาะของแต่ละคนอีกด้วย.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research