ชัดเจนกับการคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นไม่ใช่เพียงมีแค่เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์เท่านั้น เนื่องจากการออกเครื่องหมายก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากทุกกิจกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมจำเป็นจะต้องยุ่งเกี่ยวกับสินค้า-บริการที่อาจจะยังไม่มีคุณภาพ และการดูแลหรือควบคุมนั้นก็ยังเข้าถึงไม่มากพอ

ไม่ใช่ว่าไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายคุ้มครอง เพราะการมีเครื่องหมายต่างๆ ก็เป็นหนึ่งในเครื่องยืนยันถึงความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้อย่างดี แต่การมีเครือข่าย รวมถึงการลงไปให้ความรู้ที่เข้าถึงกับกลุ่มประชาชนได้ตัวต่อตัวก็เป็นเรื่องที่จำเป็น และส่งผลดี เช่นเดียวกับที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ.ได้ดำเนินการไปช่วงก่อนหน้านี้

โดยเป็นหนึ่งกิจกรรม “สมอ.สัญจร” ที่เป็นการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการมาตรฐานของ สมอ. ลงสู่พื้นที่ภูมิภาค เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ผู้ผลิตชุมชน และร้านค้ารายย่อย รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความรู้ด้านการมาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและการดำเนินธุรกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความสำเร็จให้ภาคธุรกิจ ควบคู่กับการดูแลประชาชน สิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้ให้กับประชาชน

โดยในปีงบประมาณ 2566 สมอ.ได้จัดกิจกรรม สมอ.สัญจร มาแล้วจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และพิษณุโลก โดยมีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ร้านจำหน่าย และผู้ผลิตชุมชนได้รับความรู้ด้านการมาตรฐานกว่า 1,300 คน และล่าสุดมีครั้งที่ 4 ของปีงบประมาณนี้ สมอ.เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ของภาคใต้ มีสถานประกอบการได้รับใบอนุญาต มอก. จำนวน 63 ราย ในหลากหลายสาขาอุตสาหกรรม

เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนกรีต บริภัณฑ์ส่องสว่าง ถุงมือยางทางการแพทย์ และถุงยางอนามัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) จำนวน 39 ราย ผู้ผลิตชุมชนได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 105 ราย โดยกิจกรรม สมอ.สัญจร ครั้งนี้ สมอ.บูรณาการกิจกรรมหลายๆ ด้าน ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทภารกิจการดำเนินงานด้านการมาตรฐานของ สมอ. ได้แก่

1.เยี่ยมชมกระบวนการผลิตสินค้า และการให้บริการที่ได้มาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรักษ์สมุนไพร และสวนลุงสงค์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) จาก สมอ. 2.พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การส่งเสริมผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยให้จำหน่ายสินค้ามาตรฐาน มอก. เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ระหว่าง สมอ.กับเทศบาลเมืองดอนสัก เทศบาลตำบลพุมเรียง และเทศบาลตำบลบ้านนา ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลตลาดในพื้นที่ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการจำหน่ายสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมาย

3.การสัมมนาให้ความรู้ด้านการมาตรฐานและการจำหน่ายสินค้า มอก. ที่ผู้กำกับดูแลตลาดผู้ประกอบการตลาดและร้านจำหน่ายต้องรู้ แก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้านค้ารายย่อย และร้านจำหน่าย ให้สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชนและนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.การสัมมนาเรื่อง “มอก. : ทางเลือกสู่ “ทางรอด” ในการดำเนินธุรกิจ” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์คอนกรีตและปูนซีเมนต์ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลักดันให้อุตสาหกรรมในพื้นที่เลือกใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนต่อไป

และ 5.การสัมมนา เรื่อง “มผช. สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมมูลค่าเกษตรแปรรูป” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพร ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ ข้อกำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน นอกจากนี้ยังจัดให้มีพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่ผู้ผลิตชุมชน จำนวน 10 ราย และพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 13 ราย

ซึ่งจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในเครื่องการันตีที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างกำลังใจให้กับคนทำงาน รวมถึงให้ความรู้กับประชาชน ถือเป็นหนึ่งในแผนการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร