รัฐบาล “เศรษฐา 1” เตรียมจะประกาศมาตรการ “เอาใจประชาชน” หลายเรื่องในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกจนเกิดคำถามว่าจะทำอย่างไร, เอาเงินมาจากไหน, และจะยั่งยืนเพียงใด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลดค่าน้ำค่าไฟทันที
หรือเรื่องแจกเงินคนละ 10,000 บาทผ่าน digital wallet สำหรับคนอายุ 16 ปีขึ้นไปเพื่อใช้ใน 6 เดือนซื้อของในร้านค้าที่ตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 4 กิโลเมตร
และยังมีมาตรการพักหนี้เกษตรกร
และพักหนี้ SMEs รหัส 21 ที่กลายเป็นเอ็นพีแอลเพราะพิษจากโควิด
นั่นเป็นเพียงบางส่วนของคำมั่นสัญญาที่ประกาศเอาไว้ซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมหาศาล
ยังไม่มีคำอธิบายว่าหากไม่ขึ้นภาษีและไม่กู้เงินแล้ว จะบริหารเงินทองให้สามารถทำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร
มิพักต้องพูดถึงการที่พรรคร่วมรัฐบาลอีก 10 พรรคที่ก็ต้องขอแบ่งงบประมาณไปใช้เพื่อทำนโยบายหลัก ๆ ที่ตนหาเสียงเอาไว้เช่นกัน
เพราะไม่มีพรรคไหนที่เข้าร่วมรัฐบาลแล้วจะไม่หวังว่าจะได้ส่วนแบ่งงบประมาณมาให้กระทรวงทบวงกรมที่ตนดูแลสามารถผลักดันให้มีแนวทางที่จะสร้างความนิยมชมชอบให้กับฐานเสียงของตน
ทุกพรรคกำลังมองไปสู่การเลือกตั้งครั้งหน้าอย่างปฏิเสธไม่ได้
แต่วันนี้เรายังไม่ได้เห็น “นโยบายร่วม” ของทั้ง 11 พรรคที่จะแถลงต่อรัฐสภาก่อนที่จะเริ่มทำงานอย่างเป็นทางการ
มีความเป็นไปได้ว่าการร่างนโยบายร่วมจะมีเรื่องถกเถียงกันพอสมควร
เพราะแต่ละพรรคไม่ว่าจะมีที่นั่งในสภา 9 หรือ 10 หรือ 36 หรือ 40 ต่างก็ต้องขอ “แบ่งเค้ก” งบประมาณมาจัดสรรในส่วนของตน
ยิ่งพรรคภูมิใจไทยซึ่งมีที่นั่ง 71 ที่นั่ง รองจาก 141 ของพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ก็ยิ่งจะต้องต่อรองขอให้ได้งบประมาณที่ตนต้องการอย่างมีนัยสำคัญ
คำแถลงนโยบายร่วมลงท้ายอาจจะเขียนไว้กว้าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีความขัดแย้งในแง่ของการทำงาน แต่
ประเด็นที่ต่อรองมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องงบประมาณและการแบ่งสรรปันส่วนอำนาจหน้าที่ในการผลักดันนโยบายของตน
จึงกลายเป็นภารกิจหนักอึ้งสำหรับนายกฯเศรษฐาที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำคณะรัฐมนตรีให้มีความเป็นเอกภาพอย่างแท้จริง
เพราะรัฐบาลชุดนี้ไม่น่าจะมี “ช่วงดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์” เหมือนรัฐบาลก่อน ๆ
เนื่องจากปัญหาที่รออยู่มีหลากหลายและหนักหน่วงที่ไม่อาจจะรอให้รัฐบาลใหม่มีเวลาที่จะสร้างความพร้อมให้ไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน
อีกทั้งยังมีคำถามที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือคุณภาพของรัฐมนตรีที่แต่ละพรรคส่งเข้ามาตามโควต้าของตน
โดยไม่เกี่ยวโยงกับคุณสมบัติ, ประสบการณ์หรือความสามารถในการทำหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย
เมื่อคนไม่ตรงกับงาน และงานยากว่าเดิม อีกทั้งงบประมาณก็มีจำกัด เกิดการยื้อแย่งทรัพยากรที่ขัดสนด้วยแล้ว ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคณะรัฐมนตรีจึงเข้าสู่โซนของความไร้เสถียรภาพตั้งแต่ต้น
คำถามใหญ่กว่านั้นก็คือนายกฯเศรษฐาจะมี “ความเป็นตัวของตัวเอง” มากน้อยเพียงใด
ในเมื่อคนจำนวนไม่น้อยมองว่าคุณเศรษฐาไม่ใช่คนเลือกรัฐมนตรีด้วยตนเอง
เพราะคุณเศรษฐาจะพูดเสมอว่าการตั้งคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นหน้าที่ของ “คณะกรรมการเจรจา” มากกว่าที่จะเป็นสิทธิของตนในฐานะนายกฯที่จะเป็นคนคัดเลือกเพื่อให้ได้ “คนที่ถูกกับงาน” อย่างที่มืออาชีพพึงจะทำ
ยิ่งหากมีภาพว่าคุณทักษิณ ชินวัตรยังเป็นผู้กำกับบทบาทของคุณเศรษฐาอยู่ข้างหลัง ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความคลางแคลงว่าคนเป็นนายกฯจะมีสิทธิบริหารประเทศอย่างมีอำนาจชัดเจนหรือไม่
คุณเศรษฐาเคยเป็น CEO ของบริษัทเอกชนชั้นนำในประเทศมาก่อนอาจจะทำให้เชื่อได้ว่ามีประสบการณ์ของการบริหารระดับสูงที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเมื่อประเมินจากผลประกอบการ
แต่การเป็นนายกฯ ในบริบทที่มีพรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรคที่ใช้กติกา “โควตา” ที่ห่างจากมาตรฐานการบริหารของเอกชนนั้นจะเป็นข้อจำกัดที่คุณเศรษฐาไม่เคยต้องเผชิญมาก่อนในชีวิต
ยังไม่แน่ชัดว่าคุณแพทองธาร ชินวัตรในฐานะ “หัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย” จะมีบทบาทอะไรในรัฐบาลใหม่นี้หรือไม่อย่างไรก็ยิ่งมีคำถามถึงความไม่แน่นอนในประสิทธิภาพของการบริหารของรัฐบาล “เศรษฐา 1” เพิ่มขึ้นอีก
แรงกดดันจะไม่ได้มาจากภายในพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเอง
พรรคที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลในฐานะฝ่ายค้านหลักในสภาคือพรรคก้าวไกลซึ่งได้ประกาศแล้วว่าจะสวมบทผู้ตรวจสอบอย่างเข้มข้น
เพราะบัดนี้ พรรคก้าวไกลและเพื่อไทยได้กลายเป็นคู่แข่งในทุกมิติอย่างเป็นทางการแล้ว
สรุปว่าแรงเสียดทานต่อนายกฯเศรษฐานั้นจะมาจากทุกทิศทุกทาง
ทิศแรกคือตัวปัญหาปัญหาเศรษฐกิจที่หนักหน่วงอันเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก
การส่งออกที่ติดลบติดต่อกันมา 10 เดือนและการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นกลับมาสู่ภาวะปกติเป็นประเด็นหลักที่ท้าทายความสามารถของรัฐบาลใหม่
อีกทั้งเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีนก็เป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจของไทยอย่างชัดเจน
ยังไม่นับความซับซ้อนกันเกิดจากการแข่งขันด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบต่อไทยและภูมิภาคนี้อย่างรุนแรง
แรงกดดันต่อมาคือปัญหาการแก่งแย่งบทบาทและผลประโยชน์ในพรรคเพื่อไทยเอง
อีกด้านหนึ่งคือแรงบีบจากฝ่ายค้านที่ต้องแสดงฝีไม้ลายมืออย่างเต็มที่ในสภา
อีกด้านหนึ่งนายกฯเศรษฐาก็ต้องฟังคุณทักษิณและคุณแพทองธารในฐานะคนสำคัญของพรรค
ประกอบกับการที่จะทำให้นโยบายหลัก ๆ ที่รับปากเอาไว้กับประชาชนนั้นจะมีอุปสรรคและระเบิดเวลารออยู่อย่างมากมาย
ที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ “วิกฤตศรัทธา” ที่พรรคเพื่อไทยเองกำลังเผชิญกับฐานเสียงเดิมที่มีความไม่พอใจที่พรรคตัดสินใจ “ข้ามขั้ว” มาตั้งรัฐบาลกับกลุ่มพรรคที่เคยยืนอยู่ตรงกันข้ามกับแนวทางของเพื่อไทยและคนเสื้อแดง
สรุปว่ารัฐบาล “เศรษฐา 1” จะต้องเผชิญกับคลื่นลมรุนแรงที่ภายใน 100 วันแรกก็ชี้ว่าจะรอดปากเหยี่ยวปากกาไปได้กี่น้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ