เรื่องของอวกาศกำลังกลายเป็นอีกหนึ่งมิติของความเป็นมหาอำนาจในโลก...นอกจากขนาดเศรษฐกิจ, แสนยานุภาพทางทหารและ soft power
อินเดียวางตำแหน่งตนเองเป็นมหาอำนาจในเกือบทุกด้าน
และล่าสุดอินเดียก็สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการนำยานอวกาศลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จ
ภารกิจ “จันทรายาน-3” ของอินเดียลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ เมื่อเวลาประมาณ 19.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย ของวันที่ (23 ส.ค.)
คนทั่วประเทศอินเดียเฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งนี้อย่างยิ่งใหญ่
นายกฯนเรนทรา โมดีประกาศอย่างภาคภูมิว่า “ภารกิจดวงจันทร์ที่ประสบความสำเร็จของอินเดียไม่ใช่เป็นเพียงความยิ่งใหญ่ของอินเดียประเทศเดียวเท่านั้น”
หากแต่เป็นความสำเร็จของมนุษยชาติเลยทีเดียว
เขาบอกว่า “แนวทางที่มีมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางนี้... คือ โลกหนึ่งใบ หนึ่งครอบครัว อนาคตหนึ่งเดียวที่กำลังก้องกังวานไปทั่วโลก”
จากดวงจันทร์ อินเดียเตรียมจะมุ่งสู่ดวงดาวอื่น ๆ ในจักรวาลต่อไป
ท้องฟ้าไม่ใช่ขีดจำกัดอีกต่อไป
ภายในยานอวกาศจันทรายาน-3 มีพาหนะโรเวอร์แบบ 6 ล้อ เพื่อร่อนลงทำภารกิจสำรวจ
ดูเหมือนทุกอย่างจะเดินไปตามแผน โดยที่พาหนะโรเวอร์นี้จะวิ่งอยู่บนดวงจันทร์เพื่อเก็บภาพถ่ายต่าง ๆ และข้อมูล
เป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งยวดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ โดยมีข้อสันนิษฐานว่าบริเวณขั้วใต้ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง หรือภายใต้เงาดวงจันทร์นั้น อาจมีน้ำแข็งอยู่
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของความพยายามของอินเดียที่จะพิชิตดวงจันทร์
หากแต่เป็นภารกิจสู่ดวงจันทร์ครั้งที่ 3 ของอินเดีย
และจังหวะของความสำเร็จของอินเดียครั้งนี้บังเอิญเกิดขึ้นหลังยานอวกาศ “ลูนา-25” ของรัสเซียเพิ่งเสียการควบคุมและพุ่งตกลงบนดวงจันทร์ไม่กี่วันก่อนหน้านั้นเอง
เท่ากับว่านัดนี้อินเดียเป็นชาติที่ 4 ของโลกที่ลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ ตามหลังอเมริกา, รัสเซียและจีนเท่านั้น
ที่สำคัญคือเป็นชาติแรกที่สามารถนำยานลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์บริเวณขั้วโลกใต้
ประเทศอื่นอาจจะเคยส่งยานไปลงจอดบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงจันทร์
แต่ยังไม่เคยลงจอดบริเวณขั้วโลกใต้มาก่อน
ก่อนหน้านี้ อินเดีย เคยพยายามนำยานอวกาศจันทรายาน-2 ลงจอดใกล้ขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ในปี 2019 แต่ไม่สำเร็จ
เกิดเหตุยานพุ่งตกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์
ยานแลนเดอร์ หรือยานลงจอดบนพื้นผิวของยานอวกาศจันทรายาน-3 มีชื่อว่า Vikram หรือ “วิกรัม”
เป็นชื่อตามผู้ก่อตั้งองค์กรวิจัยด้านอวกาศอินเดีย หรือ ISRO
ตัวตัวนี้บรรทุก ยานโรเวอร์น้ำหนัก 26 กิโลกรัมที่ชื่อ “แพรคยาน” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า “ความรู้”
แต่อินเดียจะไม่หยุดแค่นี้
จากความสำเร็จของการลงจอดบนดวงจันทร์ Chandrayaan-3 หน่วยงานอวกาศของอินเดียได้กำหนดวันสำหรับภารกิจตครั้งใหม่
เป็นการศึกษาดวงอาทิตย์ โดยโครงการมีชื่อว่า Aditya-L1 หรือ “อาทิตยา-L1”
ซึ่งเป็นสถานีดูดาวอวกาศแห่งแรกของอินเดียสำหรับการวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์
ซึ่งกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัวที่สถานีอวกาศหลักของประเทศในศรีฮาริโกตา
องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) เปิดเผยเรื่องนี้กับผู้สื่อข่าวที่ศูนย์บัญชาการดาวเทียมในสัปดาห์ที่แล้วขณะที่นักวิทยาศาสตร์และลูกเรือเฉลิมฉลอง ความสำเร็จของภารกิจดวงจันทร์
“เรากำลังวางแผนที่จะเปิดตัวในสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน” เอส โสมานาถ ประธาน ISRO กล่าว
สิ่งที่น่าสนใจคือเจ้า ADITYA-L1 จะทำอะไร?
ยานอวกาศลำนี้ตั้งชื่อตามคำภาษาฮินดีที่แปลว่าดวงอาทิตย์ ถือเป็นยานอวกาศลำแรกในอินเดียที่สำรวจพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลมสุริยะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการรบกวนบนโลก และมักถูกมองว่าเป็น "แสงออโรร่า"
ในระยะยาว ข้อมูลจากภารกิจนี้จะช่วยให้เข้าใจผลกระทบของดวงอาทิตย์ต่อรูปแบบสภาพอากาศของโลกได้ดีขึ้น
เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยกล่าวว่าองค์การอวกาศยุโรป/ยานอวกาศ Solar Orbiter ของ NASA ตรวจพบไอพ่นขนาดเล็กจำนวนมากของอนุภาคมีประจุที่ถูกขับออกจากโคโรนาเป็นระยะๆ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศด้านนอกของดวงอาทิตย์ ซึ่งสามารถช่วยนำไปสู่ความรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของลมสุริยะได้
แล้วมันจะเดินทางไกลแค่ไหน?
สถานีอวกาศนี้จะขี่ยานพาหนะบรรทุกหนักของอินเดีย PSLV ยานอวกาศ Aditya-L1 ซึ่งจะเดินทาง 1.5 ล้านกิโลเมตรในเวลาประมาณสี่เดือนเพื่อศึกษาบรรยากาศของดวงอาทิตย์
มันจะมุ่งหน้าไปยังลานจอดในอวกาศที่วัตถุมักจะติดอยู่เนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่สมดุล ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศ
ตำแหน่งเหล่านั้นเรียกว่าคะแนนลากรองจ์ ซึ่งตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี-ฝรั่งเศส โจเซฟ-หลุยส์ ลากรองจ์
แล้วภารกิจมีค่าใช้จ่ายเท่าไร?
ในปี 2019 รัฐบาลอนุมัติเงินประมาณ 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,600 ล้านบาทโดยประมาณ) สำหรับภารกิจ Aditya-L1 ISRO
หน่วยงานอวกาศของอินเดียมีชื่อเสียงในด้านความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนระดับโลกในด้านวิศวกรรมอวกาศ
ภารกิจ Chandrayaan-3 ซึ่งลงจอดยานอวกาศบนขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ใช้งบประมาณประมาณ 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,600 ล้านบาท)
ซึ่งต้องถือว่าเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างจะถูกกว่าหลาย ๆ ประเทศเพราะความสามารถพิเศษของอินเดียในการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
ความเป็นมหาอำนาจในยุคนี้หมายถึงการพิชิตความลี้ลับของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์พร้อม ๆ กันไปด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ