อุปสรรคของมาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์เมชัน

คงต้องยอมรับว่า ปัจจุบันโลกของการทำการตลาดค่อนข้างมีอุปสรรคและความท้าทายเป็นอย่างมาก ต้องมีความเข้าใจยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และการนำเครื่องมือการตลาดต่างๆ ที่ทันต่อสถานการณ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยที่ผ่านมา YDM ได้ออกมาเผยถึง 4 อุปสรรคท้าทายนักการตลาดและแบรนด์บนเส้นทางการตลาดรูปแบบใหม่ Marketing Transformation ที่นับว่าน่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจเป็นอย่างมาก

โดยประเด็นนี้ นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า หลังจาก YDM ได้ร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ IGAWORKS บริษัทสตาร์ทอัประดับยูนิคอร์นด้าน MarTech ของประเทศเกาหลีใต้ เปิดตัว DFinery แพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) 

ที่ให้บริการแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาแล้วกว่า 700 ราย มาให้บริการในประเทศไทย ทาง YDM ได้เข้าไปมีส่วนช่วยแบรนด์เตรียมความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยี การวาง Data Infrastructure พร้อมมุ่งสู่ขั้นตอนการทำ Marketing Transformation โดยพบว่าองค์กรไทยกว่า 50% เผชิญกับ 4 อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการทำการตลาดไม่ให้ไปสู่รูปแบบใหม่ได้สำเร็จ

สำหรับเรื่องที่หนึ่ง ขาดความเข้าใจในการทำตลาดแนวใหม่ โดยเฉพาะในธุรกิจ Fast Moving Consumer Goods หรือ FMCG สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มีการซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว ส่วนมากยังขาดความเข้าใจการตลาดยุค 5.0 ได้แก่ 1.ยังทำการตลาดรูปแบบเดิมในลักษณะแคมเปญระยะสั้นเพียง 1-3 เดือน แต่การตลาดรูปแบบใหม่ต้องคิดระยะยาวแบบ Always on และต้องทำได้แบบ Automation 2.ให้ความสำคัญกับการสื่อสารแบรนด์มากกว่าการสร้างประสบการณ์แบรนด์ 3.ยังให้ความสำคัญกับ Big Idea และการสร้าง Key Message ที่จะสื่อสารกับลูกค้าใน Segment ใหญ่ๆ ซึ่งเป็นโอกาส และ 4.ขาดความเข้าใจด้านเทคโนโลยีที่ยังควรต้องปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการตลาดยุคใหม่

ส่วนเรื่องที่สองคือ ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการข้อมูล การตลาดรูปแบบใหม่ “การบริหารจัดการข้อมูล” เป็นหัวใจของการทำมาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์เมชัน ส่วนใหญ่จะพบปัญหาในธุรกิจกลุ่มบริการ เช่น ธุรกิจการเงิน ประกันภัย หรือธุรกิจที่มีสินค้าจำนวนมากหลายหมวดหมู่ มีระบบการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย และมีเครื่องมือการตลาดหลากหลาย อาทิ Chatbot, CRM และ E-commerce Order Management มีการเก็บ Data กระจัดกระจาย เช่น ข้อมูลการลงโฆษณาอยู่ที่มีเดียเอเยนซี ข้อมูลยอดขายอยู่ที่ฝ่ายขาย ข้อมูล CRM อยู่ที่ฝ่ายดูแลลูกค้า ขาดการทำ tracking ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ไม่สามารถนำมารวมในที่เดียวเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ รวมทั้งไม่สามารถนำ AI มาใช้และต่อยอดในการทำการตลาดให้มีประสิทธิผลมากขึ้นได้

ต่อมาเรื่องที่สาม ขาดทีมงานที่มีประสบการณ์ เนื่องจากโครงสร้างหลายองค์กรที่ยังไม่มีการตั้งทีมงานที่รับผิดชอบดูแลด้านเก็ตติ้งทรานส์ฟอร์เมชันโดยตรง และมักจะมอบหน้าที่ให้ทีมการตลาดเดิมดำเนินการ แต่ด้วยรายละเอียดของงานที่ต่างกันทำให้อาจจะขาดความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี หรือในบางองค์กรอาจจะถึงขั้นยังไม่เข้าใจการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ถูกต้อง ซึ่งในองค์กรต่างประเทศหรือองค์กรใหญ่ๆ ในไทย ปัจจุบันเริ่มมีการตั้งทีมงานรับผิดชอบการทำมาร์เก็ตติ้งทรานฟอร์เมชันโดยเฉพาะอย่างชัดเจน โดยมีการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ขึ้นมา ถือเป็นกุญแจสำคัญของการวางแผนการทำงานได้ตรงกับเป้าหมายองค์กร และเดินหน้าสู่การทรานส์ฟอร์มการตลาดรูปแบบใหม่ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ

สุดท้ายคือ สี่ ขาดความเร่งด่วน พบในเกือบทุกองค์กรในประเทศไทย แม้จะตระหนักถึงความสำคัญของการทำมาร์เก็ตติ้งทรานฟอร์เมชั่น แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่เร่งด่วน จึงถูกผลักไปเป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำเป็นเรื่องท้ายๆ และไปให้ความสำคัญกับงานอื่นๆ ซึ่งแท้จริงแล้วในระยะยาวมีความสำคัญน้อยกว่าแต่เห็นผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินชัดเจนก่อน ทำให้พลาดโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบจากคู่แข่งขันในระยะยาว ซึ่งสวนทางกับบริษัทข้ามชาติ หรือองค์กรใหญ่ๆ ในประเทศบางแห่งที่ให้ความสำคัญกับการเร่งขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มการตลาดเป็นอันดับแรก

จากอุปสรรคดังกล่าวส่งผลให้แบรนด์และนักการตลาดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมหันมาให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งมี Know-How เข้าใจธุรกิจ และภาวะการตลาดของประเทศไทย เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการกำหนดยุทธศาสตร์มุ่งสู่การตลาดรูปแบบใหม่มากขึ้น เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจให้องค์การไปในทางที่ดีกว่า รายได้ที่ดียิ่งขึ้น และก้าวข้ามสู่มาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ

ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ