โจทย์เศรษฐกิจของรัฐบาล 'เศรษฐา'

ตั้งแต่ประเทศไทยมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ก็ผ่านไปกว่า 3 เดือนเต็ม หรือราวๆ 1 ไตรมาส ที่ไทยไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย หรือจีดีพี เติบโตได้ลดลงเหลือเพียง 1.8% ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ถึง 2.6%

แน่นอนประเด็นสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยโตหดตัว ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่หดตัวค่อนข้างมากและต่อเนื่อง รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูง ส่งผลต่อกำลังซื้อของคนในประเทศ แต่อีกเรื่องที่มีผลมาก

นั่นก็คือ การขาดรัฐบาลที่จะมาบริหารประเทศ ซึ่งส่งผลให้ในช่วงดังกล่าว การเบิกจ่ายภาครัฐมีการปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันก็ยังเกี่ยวกับผลการจัดทำงบประมาณภาครัฐที่ค้างคา และอาจจะไม่ทันการณ์ในปีงบประมาณ 67 ที่จะถึงในเดือน ต.ค.นี้

แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมรัฐสภาที่เปิดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในที่สุด นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ก็สามารถเข้าวินแบบม้วนเดียวจบ ด้วยคะแนนเห็นชอบแบบลอยลำ 482 เสียง ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย คนที่ 30 และเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเศรษฐาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการแล้ว

จากนี้สิ่งที่ต้องจับตาคือ คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1 จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และใครจะเป็นคนดูแลกระทรวงทางเศรษฐกิจบ้าง ซึ่งทิศทางของ ครม.ชุดใหม่นี้ก็จะสะท้อนความเชื่อมั่นไปยังภาคเอกชน ถ้าได้ชื่อบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ก็เชื่อว่าจะมีการขานรับจากทุกภาคส่วน เพราะหากดูพื้นฐาน นายเศรษฐา ทวีสิน ก็เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในการบริหารงานมาพอสมควร

แต่อย่างไรก็ดี การบริหารงานบริษัทและการบริหารงานราชการ ที่จะต้องเป็นฝ่ายดูแลนโยบายค่อนข้างแตกต่างและมีข้อจำกัด แถมนายเศรษฐายังเป็นมือใหม่หัดขับสำหรับการบริหารงานภาคราชการ ดังนั้นคงต้องมีการปรับตัวกันซักพัก และต้องมีทีมที่ปรึกษาที่ร่วมทำงานอย่างเข้มแข็งทุกด้านต่อไป

แต่ในมุมมองของภาคเอกชนก็มีความเห็นและมีการบ้านมากมายฝากให้กับ ครม.ของนายเศรษฐา อย่างนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า หลังจากที่ได้นายกฯ คนใหม่แล้ว ภาคเอกชนรอดู 3 เรื่องหลังจากนี้ คือ 1.การเร่งจัดตั้งรัฐบาล 2.การลดความขัดแย้ง

และ 3.อยากให้เร่งทำงานโดยเร็ว เพราะขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้ามาก ทั้งภาคการส่งออกปีนี้ที่ลดลงมาก ภัยแล้งเริ่มรุนแรงขึ้น ต้นทุนผลิตอยู่ในระดับสูง ขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือความเห็นของนายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไทย (ส.อ.ท.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวก็น่าสนใจ โดยมีเนื้อหาใจความระบุว่า "จากนี้ไป เราคงจะได้เห็นการฟอร์มทีมคณะผู้บริหารรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งก็ได้แต่คาดหวังและภาวนาว่า เราจะได้ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่เป็นดรีมทีม** เอาคนดี ที่มีความสด ใหม่ มีความสามารถ มองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อเดินหน้าทำตามนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาล

ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน รวมทั้งความเหลื่อมล้ำของประเทศ ในรอบนี้เป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสจริงๆ!! เราประชาชนคนไทย ทุกภาคส่วนควรจะต้องร่วมมือกันในการฝ่าฟัน ร่วมก้าวข้ามผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยการทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ด้วยความซื่อสัตย์

และคนสุดท้ายนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ก็มีการฝากการบ้านรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะความคาดหวังจะเห็นทีม ครม.ที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมยังเสนอประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งดำเนินการ คือ 1.แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดค่าครองชีพ และลดต้นทุนภาคเอกชนทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ 2.เร่งส่งเสริมความโดดเด่นภาคการท่องเที่ยว 3.เร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังค้างท่ออยู่ จัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 67 เร่งสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ จากต่างชาติ

นี่คือมุมมองบางส่วนของภาคเอกชนที่เห็นคล้ายๆ กัน ต้องการคนเก่ง คนดี และตั้งใจทำงานเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า