เมื่อสงครามทำรูเบิล ร่วงต่ำสุดใน 16 เดือน

สัปดาห์ก่อนเงินสกุลรูเบิลของรัสเซียแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทุกคนก็เริ่มมองหาสาเหตุที่นำมาสู่สถานการณ์ที่เพิ่มแรงกดดันต่อประธานาธิบดีปูติน

แม้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา อัตราแลกเปลี่ยนจะกระเตื้องจาก 1 ดอลล่าร์ต่อ 100 รูเบิลมาที่ 94 รูเบิล แต่ความกังวลเกี่ยวกับการอ่อนตัวของเงินสกุลรัสเซียก็ยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง

ตอนเริ่มสงครามใหม่ ๆ แม้จะมีการประกาศคว่ำบาตรเศรษฐกิจรัสเซียอย่างกว้างขวางจากฝั่งตะวันตก ปูตินก็ยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อรัสเซียแต่อย่างไร

มิหนำซ้ำ ยังย้ำเตือนว่าตะวันตกต่างหากที่จะต้องเดือดร้อนย่างแสนสาหัสเพราะรัสเซียจะไม่ขายน้ำมันและก๊าซให้ตะวันตก...ยกเว้นเส้นแต่ว่าใครพร้อมจะจ่ายเป็นเงินสกุลรูเบิลก็จะยกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษ

เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าปูตินคงจะสามารถยันกับตะวันตกได้อย่างดี

เพราะคนเดือดร้อนคือคนในยุโรปตะวันตกที่กำลังต้องเผชิญกับความหนาวเหน็บเพราะขาดพลังงานในบ้านมาสร้างความอบอุ่น

มอสโกหันไปขายน้ำมันและก๊าซให้จีนและอินเดียกับประเทศที่เป็นมิตรกับรัสเซีย

ช่วงนั้นข่าวคราวจากรัสเซียบอกว่ารายได้ของรัสเซียกลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

แต่ผ่านมาปีเศษ ๆ ยุโรปตะวันตกปรับตัวกับการขาดแคลนพลังงานรัสเซียได้ดีพอสมควร เพราะผ่านหน้าหนาวมาได้แม้จะด้วยความลำบาก

รัสเซียเองกำลังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่หนักขึ้นเพราะไม่มีทีท่าว่าสงครามยูเครนจะจบลงเมื่อใด

การที่เงินรูเบิลมีค่าหดตัวต่ำสุดตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในวันนี้เกิดจากการที่มีค่าใช้จ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นและการส่งออกลดลง

สกุลเงินรัสเซียสูญเสียมูลค่าถึงร้อยละ 25 ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา

พอค่าเงินอ่อนลงอย่างแรงเช่นนี้ก็กลายเป็นอุปสรรคในการจัดหาเงินทุนสำหรับการนำเข้า

เพราะต้นทุนของการทำสงครามที่พุ่งสูงขึ้น และรายได้จากการส่งออกที่ลดลงเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก และการไหลออกของเงินทุนที่เพิ่มขึ้น

ผลกระทบของสงครามกับยูเครน การลดค่าของเงินสกุลรูเบิลสูงกว่าส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินรูเบิลในปีที่แล้ว คือตอนที่สงครามเพิ่งระเบิดซึ่งมีผลทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซกระโดดขึ้นอย่างรวดเร็วทันที

เมื่อประเทศในยุโรปเลิกใช้แหล่งพลังงานของรัสเซีย ก็ทำให้รัสเซียได้รายได้จากการขายพลังงานหดตัวลงทันที

อีกด้านหนึ่งคือเศรษฐกิจในประเทศได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของรัฐบาลในด้านกลาโหมและพันธกรณีทางสังคม

แม้แต่ “ค่าโลงศพ” ที่ต้องจ่ายให้ครอบครัวของทหารที่เสียชีวิตในสนามรบในยูเครนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้สภาวะเศรษฐกิจเข้าสู่จุดที่น่ากังวล

ทั้งหมดนี้ด้วยทำให้การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น นำไปสู่อัตราแลกเปลี่ยนของรูเบิลที่ลดต่ำลงตามลำดับ

การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การนำเข้าประจำปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

  “เงินตราเข้ามาในประเทศน้อยมาก มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ” วลาดิเมียร์ มิลอฟ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงาน

วันนี้ เขาต้องลี้ภัยในต่างประเทศเพราะต่อต้านสงครามยูเครนจนถูกบีบให้ต้องออกไปอยู่ต่างประเทศ

“ตอนนี้การนำเข้าฟื้นตัวสู่ระดับก่อนสงครามแล้ว เพียงแต่ตอนนี้เรานำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าผลิตจากจีน ตุรกี เอเชียกลาง และเอมิเรตส์ ไม่ใช่จากตะวันตก คุณยังคงต้องจ่ายเป็นสกุลเงินบางอย่าง แต่ไม่มีใครต้องการเงินรูเบิล”

คือคำอธิบายของคนที่ติดตามข่าวสารเชิงลึกของผลกระทบของสงครามของปากท้องประชาชนชาวรัสเซีย

แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างแรงในปีที่แล้วมีส่วนช่วยทำให้แรงกดดันต่อเงินรูเบิลลดลงบ้าง แต่ก็ไม่พอที่จะยันแรงต้านต่อเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางแห่งสหพันธรัฐรัสเซียได้ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 20 เป็น 7.5 เปอร์เซ็นต์ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสบางสำนักมองว่าการใช้จ่ายภาครัฐต้องเข้ามาอุ้มเพื่อเล่นบทเป็นช่องทางโดยตรงในการส่งเสริมการนำเข้า

คำถามของชาวบ้านก็คือเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ในประเทศของตน

แม้ว่าทุกคนจะรู้ว่าเมื่อเกิดสงคราม รัฐบาลก็ต้องทุ่มงบประมาณเพื่อเผด็จศึกให้จงได้

แต่เมื่อชัยชนะยังดูห่างไกลจากความเป็นจริง และชาวบ้านไม่อาจจะวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของผู้นำในการทำสงครามได้ ก็ต้องยอมรับว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนแอลงเช่นนี้ ในที่สุด ก็จะนำไปสู่ราคาข้าวของแพงขึ้น

ตัวเลขอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้แจ้งว่าบัญชีเดินสะพัดของรัสเซียเกินดุล ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่าง

การส่งออกและนำเข้าโดยประมาณ ลดลงร้อยละ 85 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565

แรงกดดันต่อบัญชีเดินสะพัดจะมีผลทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงอีก

ซึ่งก็อาจจะตามมาด้วยภาวะเงินเฟ้อเพราะต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของรัสเซียที่ Renaissance Capital ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนของมอสโกกล่าวว่าเงินรูเบิล "มีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพเมื่อเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์และสูงกว่านั้น"

แต่ในเดือนกรกฎาคมส่วนเกินดุลลดลงเหลือ 1.8 พันล้านดอลลาร์

พอเงินรูเบิลหดตัวลงอย่างแรงเช่นนี้ก็มีผลทำให้ธนาคารกลางของรัสเซียระงับกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเบิกจ่ายงบประมาณที่ใช้ซื้อหรือขายสกุลเงินต่างประเทศจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติเมื่อรายได้จากน้ำมันและก๊าซสูงหรือต่ำกว่าระดับที่กำหนด

แต่ก็ยังอาจจะมีความหวังอยู่บ้างสำหรับรัสเซียหากรายได้จากการขายพลังงานมีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้นบ้าง

สถิติทางการชี้ว่ารายรับจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซหลักของรัสเซียลดลงกว่าร้อยละ 40 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี เมื่อเทียบกับปี 2565

อันเป็นผลจากมาตรการคว่ำบาตรและการกำหนดราคาเพดานของกลุ่ม G7 ทำให้รายได้หดตัวลง

แต่ในเดือนกรกฎาคม ราคาเริ่มดีดตัวขึ้น โดยเกิน 8 แสนล้านรูปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มาตรการเหล่านั้นมีผลบังคับใช้

ท้ายที่สุดก็คงจะอยู่ที่ประธานาธิบดีปูตินจะต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินสงครามยูเครนอย่างไรต่อไป

หากมีโอกาสยุติสงครามได้โดยไม่เสียหน้ามากนัก ปูตินอาจจะฉวยจังหวะนี้ประกาศ “ชัยชนะ” เพื่อกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัสเซียเอง

แต่หากยังยืนหยัดบนเงื่อนไขที่จะต้องยึดดินแดน 4 แคว้นของยูเครนตามที่ได้ประกาศเป็นหลักการสำคัญสำหรับการสงบศึก, ก็คงจะได้เห็นเงินรูเบิลดิ่งต่อไป

นั่นแปลว่าปากท้องชาวบ้านรัสเซียก็จะกลายเป็นประเด็นหลักของมอสโกอีกต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ