ระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

 

ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน เราสามารถแบ่งเงื่อนไขในการจัดตั้งรัฐบาลได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรกคือก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และช่วงที่สองคือตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จนปัจจุบัน เกณฑ์ในการแบ่งคือ ก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีการยกมือลงคะแนนเสียงเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังที่ปรากฏในมาตรา มาตรา 202  รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540, มาตรา 172 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และมาตรา 272 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กำหนดเงื่อนไขว่า ภายในห้าปีแรกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องมีการลงคะแนนเห็นชอบโดยเปิดเผยจากสมาชิกทั้งสองสภา  และหลังจากนั้นให้ใช้ตามมาตรา 159 คือ การลงคะแนนเห็นชอบโดยเปิดเผยจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนรัฐธรรมนูญก่อน พ.ศ. 2540  ไม่ได้กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องลงคะแนนเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  แต่จะกำหนดไว้เพียงว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง...ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร (หรือประธานรัฐสภาในรัฐธรรมนูญบางฉบับ) เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งนายกรัฐมนตรี” (มาตรา 46 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475, มาตรา 140 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492, มาตรา 81 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไข พ.ศ. 2495, มาตรา 137 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511, มาตรา 177 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517, มาตรา 146 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521, มาตรา 159 รัฐธรรมนูญา พ.ศ. 2534)

ดังนั้น ก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เราจะไม่เห็นกระบวนการการลงคะแนนเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร (หรือในรัฐสภา)

ระยะเวลาในการได้นายกรัฐมนตรีก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

เลือกตั้งครั้งที่ 1 วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เท่ากับใช้เวลาหลังเลือกตั้งราว 30 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 2 วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – ใช้เวลาราว 51 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 3 วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – ใช้เวลาราว 34 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 4 วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 – ใช้เวลาราว 25 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 5 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – ใช้เวลาราว 22 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 6 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – ใช้เวลาราว 28 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 7 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2500 – ใช้เวลาราว 24 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 8 วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – ใช้เวลาราว 17 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 9 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 – ใช้เวลาราว 26 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 10 วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – ใช้เวลาราว 20 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 11 วันที่ 4 เมษายน  พ.ศ. 2519 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519 – ใช้เวลาราว 16 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 12 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – ใช้เวลาราว 20 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 13 วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 – ใช้เวลาราว 12 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 14 วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – ใช้เวลาราว 9 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 15 วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – ใช้เวลาราว 11 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 16 วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – ใช้เวลาราว 16 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 17 วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – ใช้เวลาราว 10 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 18 วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – ใช้เวลาราว 11 วัน

ระยะเวลาในการได้นายกรัฐมนตรีหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มีดังนี้

เลือกตั้งครั้งที่ 20 วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – ใช้เวลาราว 40 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 21 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 – ใช้เวลาราว 30 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 22 วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549  --- การเลือกตั้งมีปัญหา ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้จนเกิดรัฐประหาร  19 กันยายน พ.ศ. 2549  เป็นเวลานับจากวันเลือกตั้งราว 139 วัน (4 เดือน 19 วัน)

เลือกตั้งครั้งที่ 23 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551– ใช้เวลาราว 40 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 24 วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – ใช้เวลาราว 39 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 25 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557  การเลือกตั้งมีปัญหาไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้จนเกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นเวลานับจากวันเลือกตั้งราว 110 วัน (3 เดือน 20 วัน)

ระยะเวลาในการได้นายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

เลือกตั้งครั้งที่ 27 วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 – ใช้เวลาราว 70 วัน

เลือกตั้งครั้งที่ 28 วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จนถึงขณะนี้ คือ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เป็นเวลา 90 วัน ยังไม่ได้นายกรัฐมนตรี  ถือว่าใช้เวลาหลังเลือกตั้งนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

สรุป คือ

ก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

ระยะเวลาที่ใช้นานที่สุดคือ 51 วัน จากการเลือกตั้งครั้งที่ 2 วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา

ระยะเวลาที่สั้นที่สุด คือ คือ 9 วัน จากการเลือกตั้งครั้งที่ 14 วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529  มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

หลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จนถึง พ.ศ. 2557

ระยะเวลาที่ใช้นานที่สุดคือ 40 วัน จากการครั้งที่ 23 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550  มีนายกรัฐมนตรีชื่อ คุณสมัคร สุนทรเวช

ระยะเวลาที่สั้นที่สุดคือ 30 วัน จากเลือกตั้งครั้งที่ 20 วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544  มีนายกรัฐมนตรีชื่อ คุณทักษิณ ชินวัตร ชนะเลือกตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกันเป็นสมัยที่สอง ด้วยจำนวน ส.ส. ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งคือ 377 ใน 500 ที่นั่งคือเป็นร้อยละ 75.4

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง