ท่องเที่ยวปลอดภัย

หลังโควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เป็นแรงสนับสนุนหลักให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต ชดเชยการส่งออกที่ยังต้องเผชิญกับความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก นอกจากนี้ยังช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ยังไม่รวมถึงอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องพลอยเติบโตไปด้วย ดังนั้นนอกจากการดูแลด้านการบริการให้ได้มาตรฐานแล้ว ในด้านความปลอดภัยก็ต้องให้ความสำคัญด้วย

ซึ่งตามเป้าหมายของ ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ระบุว่า ได้ประเมินดีมานด์ของการท่องเที่ยวปี 2566 เชื่อว่าภาคท่องเที่ยวจะสามารถพยุงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้ โดยทั้งปีมีลุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 30 ล้านคน หรือหากลดลงมาที่เป้าหมายรอง 25 ล้านคน ภาคการท่องเที่ยวก็ยังสร้างรายได้ให้ประเทศ 80% ของรายได้ท่องเที่ยวในปี 2563 หรือมีรายได้ประมาณ 2.38 ล้านล้านบาท

ล่าสุด นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงได้จับมือร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ หรือ MOU ว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินของนักท่องเที่ยวเพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพมาตรฐาน กับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ.

โดยมีเรืออากาศเอกนายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. ร่วมลงนาม เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่พิเศษให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวทางของหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินงานเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่พิเศษ ทั้งในด้านการป้องกัน การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ และการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม ให้นักท่องเที่ยว/ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงบริการ และลดการสูญเสียชีวิต อวัยวะ หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามนโยบาย การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งครอบคลุมเรื่องของสะดวก สะอาด ปลอดภัย เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย อพท.จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรของ อพท. ภาคีเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจนผู้แทนชุมชน ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ

ดังนั้น การป้องกันและการตอบสนองต่อสภาวะวิกฤตและเหตุฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือประชาชนในพื้นที่พิเศษ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเป็นไปตามหลักสากล รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการจัดทำแนวทางหรือมาตรการการบริหารจัดการ การป้องกันและการตอบสนองต่อสภาวะวิกฤตและเหตุฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือประชาชนในพื้นที่พิเศษ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเป็นไปตามหลักสากล”

เช่นเดียวกับทางกรมเจ้าท่า “เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5” ซึ่งรับผิดชอบดูแลในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, ระนอง, พังงาและสตูล ตอบรับนโยบายด้านการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยกับการขนส่ง การเดินทางทางน้ำและดูแลนักท่องเที่ยว โดยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจตราท่าเทียบเรือ ใบอนุญาต อู่เรือให้มีความพร้อมต่อการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอำนวยความสะดวกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญลดการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว

และล่าสุด เดินหน้าจัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่องน้ำทางเดินเรือ ตลิ่งและชายฝั่งที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตรวจสอบใบอนุญาตคนประจำเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อุปกรณ์ประจำเรือ แพชูชีพ พวงชูชีพ เสื้อชูชีพให้พร้อมใช้งานได้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เนื่องจากเขตรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวทางน้ำเป็นจำนวนมาก จึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ
การท่องเที่ยวปลอดภัย และการบริการที่สะดวกสบาย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร