ลงทุนแบตเตอรี่ดันไทยฮับอีวี

ที่ผ่านมามีการพูดถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) กันหลายครั้ง และพยายามพูดถึงในหลายๆ มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพรวม นโยบายรัฐและการลงทุน แต่จริงๆ แล้วอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมอีวีนั้นไม่ใช่มีแค่เรื่องรถยนต์ ยังมีระบบอื่นๆ ที่ต้องเดินหน้ากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านแบตเตอรี่ที่เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเทคโนโลยีเรื่องแบตนั้นก็ได้รับความสนใจจากเอกชนหลายราย

ในประเทศไทยเองเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวของการเดินหน้าเรื่องแบตกันมากขึ้น เห็นการลงทุนของกลุ่มเอกชนมากมาย นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังรับทราบมาตรการที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี)

ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า สามารถสรุปผลการดำเนินงาน โดยในด้านอุปทาน (Supply) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตชิ้นส่วน 17 ชิ้น รวมทั้งการผลิตแพลตฟอร์มสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า

โดยมีผู้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) จำนวน 15 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 2.77 หมื่นล้านบาท ผู้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 77 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 1.84 หมื่นล้านบาท

และเมื่อเร็วๆ นี้เองยังได้เห็นการเดินหน้าที่ชัดเจนอีกหนึ่งโครงการ คือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับ EVE Energy Co., Ltd. (EVE) และ Sunwoda Mobility Energy Technology Co., Ltd. (Sunwoda) ซึ่งเป็น 2 พันธมิตรผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของจีนที่สนใจการขยายตลาดแบตเตอรี่ในไทย เพื่อร่วมศึกษาและจัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่กำลังผลิตเริ่มต้นที่ 6 GWh ในประเทศไทย

โดยคาดว่า ผลจากการศึกษานี้จะนำไปสู่การจัดตั้งโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ขั้นสูงด้วยต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่เพื่อยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage System: ESS) เพื่อรองรับความต้องการของแบตเตอรี่ในกลุ่มบริษัท EA รวมถึงตลาดแบตเตอรี่ในประเทศไทยและอาเซียน โดยเฉพาะเพื่อป้อนเข้าโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้มีการลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยอย่างต่อเนื่อง

โดย นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่าเมื่อผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ EA จะนำเสนอ บริษัท Amita Technology (Thailand) Co., Ltd เข้าร่วมการลงทุนกับพันธมิตรจีน เพื่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แบบ Prismatic Battery Cell โดยใช้เทคโนโลยีกระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติขั้นสูงและมีข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนวัตถุดิบต่ำจากพันธมิตรจีนที่มี Raw material supply chain ครบวงจร มีการวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่สูง

ซึ่งรวมถึงการต่อยอดการผลิตแบตเตอรี่แพ็ก เพื่อให้มีต้นทุนรวมในการผลิตแบตเตอรี่ใกล้เคียงกับต้นทุนแบตเตอรี่ที่ผลิตจากจีน โรงงานนี้จะผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย และรองรับความต้องการใช้แบตเตอรี่ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน โดยการวิจัยและพัฒนาเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าผู้ผลิตรถอีวี และการผลิตระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (ESS) โดยระยะเริ่มต้นดำเนินกำลังการผลิต 6 กิกะวัตต์ชั่วโมงในประเทศไทย เพื่อตอบรับสนับสนุนนโยบาย 30@30

ทั้งนี้ นโยบายส่งเสริมการลงทุนผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้การดำเนินโครงการนี้มีความเป็นไปได้ และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ร่วมทุน ดังนั้นภาครัฐควรมีมาตรการเร่งรัดและผลักดันนโยบายนี้ออกมา เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion และก้าวไปเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียนในอนาคต

เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ว่า เมื่อประสบความสำเร็จแล้วจะสามารถผลักดันให้กับอุตสาหกรรมรถอีวีของประเทศไทยนั้นเติบโตขึ้นได้แค่ไหน ซึ่งการเดินหน้างานนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาให้อุตสาหกรรมนี้ของไทยขึ้นไปเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียนตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ได้แน่นอน.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร