ทำไมประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจึงได้แสดงความสนใจต่อเกาะโอกินาวาของญี่ปุ่นเป็นพิเศษในช่วงหลังนี้?
ประเด็นนี้กลายเป็นหัวข้อถกแถลงที่มีความหมายต่อภูมิรัฐศาสตร์ที่โยงกับญี่ปุ่นและสหรัฐฯอย่างน่าสนใจ
ตอนที่สี จิ้นผิงกล่าวถึงจังหวัดโอกินาวาทางตอนใต้สุดของญี่ปุ่นเมื่อเดือนที่แล้ว การแสดงออกไม่ได้เป็นเพียงการเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของจีนกับภูมิภาคนี้
เพราะผู้นำจีนเรียกพื้นที่นี้ว่า “ริวกิว” ซึ่งเป็นชื่ออาณาจักรที่เป็นรัฐเมืองขึ้นของจีนมากว่า 500 ปี จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นผนวกในปี 1879
ทันทีที่สี จิ้นผิงเกริ่นเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ในสื่อญี่ปุ่น ทันที
โดยบางคนแสดงความไม่พอใจและเกิดความระแวงว่าจีนกำลังมี “วาระซ่อนเร้น” อะไรบางอย่างเกี่ยวกับโอกินาวาหรือไม่
นักวิชาการชาวจีนหลายสำนักได้เคยออกมาประกาศสนับสนุนการปกครองตนเองของโอกินาวามานานแล้ว
จังหวัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของรอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนมาเป็นระยะ ๆ
ซึ่งก็โยงไปกับความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาค เช่น ข้อพิพาทเกาะเตี้ยวหยี๋ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
และความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นรอบเกาะไต้หวันที่จีนมองว่าญี่ปุ่นไปยืนข้างเดียวกับสหรัฐฯในเรื่องนี้
และเมื่อ เดนนี ทามากิ ผู้ว่าการรัฐโอกินาวา ซึ่งคัดค้านฐานทัพสหรัฐฯ มาอย่างยาวนานไปเยือนจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็จุดประกายความร้อนแรงของปัญหานี้ขึ้นมาทันที
ผู้ว่าฯโอกินาวาไปเยี่ยมเยียนจีนพร้อมกับคณะผู้แทนจากสมาคมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JAPIT) ซึ่งเป็นกลุ่มที่อุทิศตนเพื่อพัฒนาธุรกิจกับจีน นำโดยอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โยเฮ โคโนะ
จังหวะการไปเยือนจีนของคณะระดับสูงจากโอกินาวามีขึ้นในจังหวะที่ละเอียดอ่อนทางความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเสียด้วย
เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งประกาศคว่ำบาตรอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนพอดี
ก่อให้เกิดบรรยากาศตึงเครียดในระดับรัฐบาลสองประเทศอย่างเห็นได้ชัด
การไปเยือนครั้งก่อน ๆ ของโคโนะและ JAPIT ได้รับการต้อนรับจากผู้นำระดับสูง เช่น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน
ครั้งนี้ สายตาจะจับจ้องไปที่ผู้ว่าฯทามากิเป็นพิเศษ
การตีความประวัติศาสตร์กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งของหลายประเทศที่มีดินแดนและน่านน้ำติดกัน
กรณีโอกินาวาก็เช่นกัน
เพราะนักวิชาการทั้งฝ่ายจีนและญี่ปุ่นได้ตรวจสอบเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติเมื่อต้นเดือนมิถุนายน
และสี จิ้นผิงได้แสดงหนังสือจากราชวงศ์หมิง (1368-1644) ซึ่งบันทึกคณะผู้แทนทางการทูตไปยังอาณาจักรริวกิว
จีนอ้างหนังสือเป็นหลักฐานว่าหมู่เกาะเตี้ยวหยี๋หรือที่รู้จักในญี่ปุ่นว่าเกาะเซนกากุเป็นของจีน
ตามรายงานของ People's Daily กระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์ สีพูดถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างอดีตรัฐที่เป็นเมืองขึ้นของจีนกับมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งเขาเคยเป็นผู้ว่าการมาก่อน
“ตอนที่ผมทำงานในฝูโจว ผมทราบเกี่ยวกับ Ryukyu-kan [บ้านของนักการทูต] และสุสาน Ryukyu ที่นั่น และฝูเจี้ยนมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ Ryukyu” สีเคยกล่าวเอาไว้
“มี 36 เผ่าจากฝูเจี้ยน [ที่] ย้ายและตั้งถิ่นฐานในริวกิว” เขากล่าวโดยอ้างถึงเหตุการณ์การอพยพครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 14
ไม่กี่วันต่อมา ทามากิบอกกับสื่อว่าเขาตีความคำพูดดังกล่าวว่าสี จิ้นผิงมี "ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม"
“ผมถือว่า (คำแถลงของสี) เป็นข้อบ่งชี้ถึงความตั้งใจของเขาที่จะพัฒนาการแลกเปลี่ยนในอนาคต” ผู้ว่าโอกินาวาบอก
แต่สื่อญี่ปุ่นแสดงความกังวลเกี่ยวกับการอ้างถึงริวกิวของสี โดยระบุว่าจีนอาจชูประเด็นโอกินาวาขึ้นมากล่าวอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนแห่งนั้น
นักวิชาการจีนบางคนเสนอว่าจีนสนับสนุนการปกครองตนเอง และบางคนไปไกลถึงขนาดเรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของริวกิว
ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นในการท้าทายอำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นเหนือริวกิวคือ Zhang Haipeng ซึ่งเป็นสมาชิกของ Chinese Academy of Social Sciences ในปี 2013
เขาได้ร่วมเขียนบทความใน People’s Daily ที่ยกประเด็นเกี่ยวกับริวกิวในแง่ประวัติศาสตร์นี้
ทำให้เกิดประท้วงจากรัฐบาลญี่ปุ่นทันที
เพราะเดิมทีญี่ปุ่นกับจีนก็มีเรื่องระหองระแหงว่าด้วยหมู่เกาะเตียวหยู-เซนกากุอยู่แล้ว
บางช่วงก็ระเบิดเป็นความขัดแย้งอย่างเปิดเผย
นักวิชาการจีนคนนี้แย้งว่าการผนวกริวกิวของญี่ปุ่นในปี 1879 นั้นผิดกฎหมาย
และคำประกาศของพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นเหนือริวกิว
ภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโกหลังสงคราม ริวกิวเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ มอบอำนาจให้ญี่ปุ่นในปี 1972 แต่ “ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับสถานะอธิปไตยของหมู่เกาะริวกิวภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ” นักวิชาการจีนคนนี้ระบุ
เขาอ้างถึงสถานการณ์ในปัจจุบันที่ทำให้ปักกิ่งต้องยกเรื่องนี้ขึ้นมาถกแถลงอีกครั้งว่า
“เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ความตึงเครียดในช่องแคบไต้หวัน และข้อเท็จจริงที่ว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กำลังติดตามสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด ในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาใหม่อย่างเป็นทางการ สถานะของริวกิวจากมุมมองเชิงกลยุทธ์”
ด้วยที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในหมู่เกาะแห่งแรก ริวกิวจึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญระหว่างจีนโบราณและญี่ปุ่น
ที่มีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษเพราะปัจจุบัน โอกินาวาเป็นที่ตั้งของกว่าร้อยละ 70 ของกองกำลังทหารสหรัฐฯ ในญี่ปุ่น
และเกาะแก่งในกลุ่มนี้อยู่ห่างจากไต้หวันเพียง 110 กม. เท่านั้น
ญี่ปุ่นอ้างสิทธิ์ในหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุที่เป็นข้อพิพาทผ่านการปกครองของจังหวัด
ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะที่ความตึงเครียดกับจีนยังคงเพิ่มสูงขึ้น คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้อนุมัติยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ และเพิ่มกำลังพลในหมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งโอกินาวา
โอกินาวาจึงกลายเป็นอีกประเด็นร้อนที่ถูกควักออกมาจากตำราประวัติศาสตร์ที่เพิ่มร่องรอยแห่งความร้าวฉานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเรื่องระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
ทั้ง ๆ ที่มีประเด็นขัดแย้งอื่น ๆ กันมากมายหลายเรื่องอยู่แล้ว!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ