การเมืองระอุเศรษฐกิจพัง

โควิด-19 วิกฤตใหญ่ที่คนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยได้เผชิญ สร้างความเสียหายอย่างมากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจทั่วโลกที่พักพินาศ ต่างก็ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย เงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นจนกลายมาเป็นโจทย์ใหญที่ทุกประเทศต้องเร่งแก้ไข เช่นเดียวกับประเทศไทย นอกจากจะต้องเร่งแก้โจทย์เหล่านี้ให้ได้เร็ววัน แล้วยังต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องการเมืองที่ยังคงเป็นปัจจัยลบกับการเติบโตและฟื้นฟูประเทศ โดยเฉพาะการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ทำให้ภาคเอกชนต่างมีความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย

ซึ่ง เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  หรือ ส.อ.ท. ระบุว่า

การเสนอชะลอการโหวตนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน 10 เดือนนั้น ภาคการเมืองต้องชั่งน้ำหนักว่าเศรษฐกิจไทยจะรับไหวหรือไม่ ไทม์ไลน์ที่ภาคเอกชนเคยประเมินไว้คือเดือนสิงหาคม ต้องจัดตั้งรัฐบาลได้ และเข้ามาทำหน้าที่เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นจุดที่คำนวณความเสี่ยงว่าอยู่ในจุดที่ยังพอรับได้ แต่หากช้าไปมากกว่านั้น ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นยิ่งมีต้นทุนที่สูงขึ้น และยังประเมินไม่ได้ว่าจะสร้างความเสียหายแค่ไหน

เช่นเดียวกับ วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย มองว่า จำเป็นต้องมีรัฐบาลให้เร็วที่สุด เพื่อจะไม่ให้เกิดภาวะสุญญากาศ และเข้ามาบริหารจัดการเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวขณะนี้ ซึ่งการเสนอให้มีรัฐบาลรักษาการนานถึง 10 เดือน เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยแน่นอน นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ต่างชาติหนีไปลงทุนประเทศอื่น ประเทศจะขาดการลงทุนใหม่จำนวนหลายแสนล้านบาทในช่วง 10 เดือน-1 ปี 

ขณะที่ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KK ระบุว่า การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าอาจทำให้เกิดสุญญากาศทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีปัญหา ยิ่งทำให้ไทยได้รับผลกระทบ และล่าสุดคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมองว่าการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า ทำให้เกิดความกังวลจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะการอนุญาตให้ทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย แม้ว่าจะมีจำนวนผู้เข้ามาลงทุน แต่จำนวนเม็ดเงินกลับน้อยลงถึง 30%

นอกจากนี้ ฝ่ายยุทธศาสตร์ของประเทศอย่าง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ โดยเลขาธิการ ดนุชา พิชยนันท์ มองว่า การที่รัฐบาลรักษาการยาวนานออกไปจะกระทบกับการบริหารราชการแผ่นดินในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของการจัดทำงบประมาณ และการทำงบประมาณการลงทุนที่ไม่สามารถทำได้ในส่วนที่เป็นงบลงทุนใหม่ หากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าออกไปกว่า 10 เดือน ถือว่าเป็นสมมุติฐานที่ยาวนานที่สุด ก็จะกระทบกับการจัดทำงบประมาณถึง 3 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 67-69 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะปกติการจัดทำงบประมาณจะล่าช้าไปไม่กี่เดือนเท่านั้น

โดยสภาพัฒน์ประเมินวงเงินที่จะลงไปในระบบเศรษฐกิจเฉพาะ 2 ไตรมาสหลังจากที่หมดปีงบประมาณ 66 คาดจะเป็นช่วงที่มีเม็ดเงินที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงที่ใช้งบประมาณไปพลางก่อนประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท โดยเป็นวงเงินจากภาครัฐ 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากการเบิกจ่ายงบประจำ และงบลงทุนที่มีการผูกพันไว้แล้ว ส่วนอีก 2 แสนล้านบาทเป็นเม็ดเงินที่มาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากการจัดทำงบประมาณล่าช้าออกไป ก็ต้องไปดูว่าจะมีเม็ดเงินจากรัฐวิสาหกิจที่ลงทุนได้เพิ่มหรือไม่ ส่วนเม็ดเงินการลงทุนจากภาครัฐที่เป็นรายการใหม่นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะต้องมาจากรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม

ยังไม่รวมผลกระทบต่อกรอบการเจรจาบนเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาการค้ากับต่างประเทศ หรือ FTA ต่างๆ เพราะถ้ามีการเจรจาแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะลงนามในสัญญาในช่วงของการเป็น ครม.รักษาการได้ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือกระทบกับการค้า การลงทุนของประเทศแน่นอน

จะเห็นว่าเสียงสะท้อนของหลายฝ่ายที่แสดงถึงความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ยังไม่แน่นอน จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุนจากต่างชาติ รวมไปถึงตลาดหุ้นที่ต่างชาติต่างเทขายกันเป็นว่าเล่น ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แม้จะมีการท่องเที่ยวเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน แต่เมื่ออุณหภูมิการเมืองที่ร้อนแรงและไม่มีความชัดเจนเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจเข้าไปอีก

ดังนั้นถ้าถอยกันคนละก้าว มองภาพรวมของประเทศและความเป็นอยู่ของประเทศจะดีกว่าไหม.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร