ปมเรื่องการโหวตนายกฯซ้ำได้หรือไม่ คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน หลังผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องให้ตีความชี้ขาดว่าจะเสนอชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล อีกครั้งได้หรือไม่ โดยฝ่ายที่สนับสนุนแนวคิดการโหวตนายกฯซ้ำแบบไม่รู้จบนี้ และยังเป็นผู้ชี้ช่องที่น่าสนใจคือ “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่บรรยายเกี่ยวกับประเด็นนี้ที่ เนติบัณฑิตยสภา มีใจความว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้เขียนเวลาล็อกเอาไว้เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 กับปี 2550 ก็แปลว่า เลือกไปได้เรื่อยๆ อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้
"คุณอย่านึกว่าไม่เกิดนะ เกิดแล้วในอิตาลี ตอนแบร์ลุสโกนีพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชุมสภาเท่าไหร่ๆ คะแนนก็ไม่ถึงครึ่ง รัฐบาลแบร์ลุสโกนีก็ต้องรักษาการไปเรื่อยๆ เป็นปี ในเบลเยี่ยมก็เคยเกิดแล้ว" อ.บวรศักดิ์ กล่าวไว้
ทีมงานคันปากฯ รวบรวมเคสของต่างประเทศว่ามีประเทศไหนบ้างที่จัดตั้งรัฐบาลยาวนานสุด 3 อันดับแรก อันดับ 1. เบลเยียม ใช้เวลาในการจัดตั้งรัฐบาลนานถึง 541 วัน ในการเลือกตั้งในปี 2010 สาเหตุที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะปัญหาความแตกต่างทางนโยบายจากฝ่ายการเมืองทำให้ไม่มีรัฐบาลกลางเกือบ 2 ปี จนถูกบันทึกลงสถิติโลก กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดส์
อันดับ 2. สเปน ใช้เวลาในการจัดตั้งรัฐบาล 315 วัน ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2015 การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่อาจทำให้สเปนพ้นจากทางตันได้ เพราะถึงแม้พรรคสายอนุรักษ์นิยมจะชนะ แต่ไม่สามารถคุมเสียงข้างมากในสภาที่จำนวน 176 ที่นั่งเอาไว้ได้ จากทั้งหมด 350 ที่นั่ง กว่าจะตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็กินเวลาเกือบ 1 ปี
อันดับ 3. เนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 225 วัน หลังการเลือกตั้งในปี 2017 โดยสาเหตุมาจากข้อนโยบายที่ไม่ลงตัว เนื่องจากรัฐบาล 4 พรรคผสมของเนเธอร์แลนด์ ที่มีทั้งสายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม โดยมีนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศที่ต่างกัน จนต้องใช้เวลาเจรจากัน 225 วัน
ขณะที่เมืองไทยทางฝั่งด้อมส้ม มีแนวคิดให้รอไว้ 10 เดือน หรือประมาณ 291 วันเพื่อรอให้ ส.ว.หมดอำนาจเลือกนายกฯ
หากเป็นเช่นนั้นจริงเมืองไทยจะขึ้นมาแทนที่อันดับ3 ที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนานที่สุด
ช่างสงสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พาดหัวกันจนจะถูกย้าย"
ต้องยอมรับความจริง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือเป็นรัฐราชการ ที่ประชาชนยุคนี้ฝากความหวังเอาไว้ถ่วงดุล อำนาจรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็นต่างๆ ที่สังคมกังขา มิให้ทำอะไรเลยเถิดหรือสุดซอย จนประโยชน์สูงสุดไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
กระทบไหล่แชมป์โลก
หนึ่งปีมาหน โอกาสทองของคนไทยคอรักบี้จะได้กระทบไหล่แชมป์โลก!!!
'ผมกำลังลื่น'
วันจันทร์ที่ผ่านมา ในการประชุมวุฒิสภามีวาระร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง โดยช่วงหนึ่งของการประชุมจะเห็นได้ว่ามี สว.เอาอวนดักปลาขึ้นมาประกอบการอภิปราย พร้อมปลากะตักแห้งที่เอามาเป็นตัวอย่างประกอบ
แจกสิทธิ์ 10 คนแรก
ต้องฝ่ากระแสร้อนแรงมาตั้งแต่ปลายปี 2567 สำหรับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ทั้งกระแสพรรคแตก สส.ทยอยย้ายซบพรรคอื่น กระแสข่าวหัวหน้าพรรคถูกเขี่ยพ้นเก้าอี้รัฐมนตรี
ออร่าจับมาก
ในบรรดาเสนาบดีหน้าใหม่ หรือทายาททางการเมืองที่โดดเด่น นาทีนี้หลายคนยกให้ รมต.ดีดา-ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลูกสาวในไส้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย
“ไม่ต้องรอมติพรรค”
“ คนท้องถิ่น...คนศรีสะเกษ... “คนบ้านเดียวกัน” ถือสโลแกนหาเสียงของ “นายกฯส้มเกลี้ยง” วิชิต ไตรสรณกุล ผู้สมัครนายก อบจ.ศรีสะเกษ ในนามกลุ่ม “คนท้องถิ่น” และยังเป็นคุณพ่อของ “เลขาฯกวาง” ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย