การประเมินธุรกิจหลังภาวะวิกฤต

หลังจากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้นำธุรกิจต่างมองว่าการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนับเป็นภารกิจสำคัญที่สุด สอดคล้องกับ PwC ที่มีรายงานผลสำรวจวิกฤตและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงมุมมองของผู้นำธุรกิจในการเตรียมตัวและรับมือกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงใบใหม่ โดยเมื่อถามถึงความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วว่าถูกจัดให้เป็นภารกิจสำคัญลำดับที่เท่าใดขององค์กร จะเห็นได้ว่า 9 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า ความสามารถในการฟื้นตัว ถือเป็นหนึ่งในภารกิจเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด ซึ่งบ่งชี้ว่าองค์กรทั่วโลกต่างกำลังปฏิวัติความสามารถในการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤต

ขณะเดียวกัน หลังจากการเริ่มต้นทศวรรษที่วุ่นวาย จึงไม่น่าแปลกใจที่ 91% ขององค์กรจะบอกว่าตัวเองประสบปัญหาการหยุดชะงักอย่างน้อยหนึ่งครั้ง นอกเหนือไปจากการแพร่ระบาดโควิด-19 รายงานพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วองค์กรต่างๆ ประสบปัญหาการหยุดชะงักถึง 3 ครั้งครึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และ 3 ใน 4 กล่าวว่าการหยุดชะงักที่ร้ายแรงที่สุดสร้างผลกระทบในระดับปานกลางถึงระดับสูงต่อการดำเนินธุรกิจ โดยขัดขวางกระบวนการทางธุรกิจและบริการที่สำคัญ และก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินและชื่อเสียงขององค์กร

สำหรับการหยุดชะงัก 5 อันดับแรกที่พบในรายงานประกอบไปด้วย การแพร่ระบาดของโควิด-19 การรักษาและการสรรหาพนักงาน ห่วงโซ่อุปทาน การหยุดชะงักที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีหรือความล้มเหลว และการโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ดีหากไม่นับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานถือได้ว่าส่งผลกระทบมากที่สุดต่อองค์กรทั้งในแง่การเงินและอื่นๆ และยังได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2562 นอกจากนี้มากกว่าครึ่งขององค์กรที่ประสบปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายเชนที่รุนแรงที่สุด ยังมีความกังวลมากที่สุดว่าตนจะต้องเผชิญกับภาวะหยุดชะงักในลักษณะเดียวกันนี้อีกครั้ง

นายเดวิด สเทนแบค หัวหน้าร่วม ศูนย์ระดับโลกเพื่อวิกฤตและความสามารถในการฟื้นตัว PwC ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ผู้นำธุรกิจกำลังเผชิญกับการหยุดชะงักและความไม่แน่นอน ระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ กำลังต่อสู้กับแรงผลักดันภายนอกและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจภายใน และนี่คือความท้าทายที่ทำให้ความสามารถในการฟื้นตัวกลายเป็นหนึ่งในภารกิจเชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในโลกธุรกิจ

แม้ว่า 70% ของผู้นำธุรกิจจะแสดงความมั่นใจต่อความสามารถในการฟื้นตัวจากการหยุดชะงักต่างๆ ข้อมูลจากผลสำรวจพบว่าหลายๆ องค์กรทั่วโลกยังขาดองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความสามารถในการฟื้นตัวให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งช่องว่างความเชื่อมั่นนี้ส่งผลให้องค์กรทั่วโลกต้องอยู่ในความเสี่ยงต่อภัยอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการหยุดชะงักนั้นๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กร ตรงข้ามกับความท้าทายระดับโลกหรือของภาคส่วนอื่นๆ

ทั้งนี้ ข้อมูลในรายงานผลสำรวจยังเปิดเผยให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญ 3 ประการที่ขับเคลื่อนการปฏิวัติความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวแบบบูรณาการ ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในวันนี้ เพราะการทำงานแบบไซโลนั้นไม่เพียงพอต่อการจัดการความเสี่ยงที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงถึงกันและกันอีกต่อไป ขณะเดียวกันธุรกิจจะเติบโตได้ในวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต้องอาศัยผู้บริหารที่มีความเป็นผู้นำ และทีมงานที่ได้รับการยกระดับทักษะ รวมถึงยังต้องมีแนวทางของโปรแกรม สร้างความสามารถในการฟื้นตัวที่คำนึงถึงสิ่งที่สำคัญที่สุด องค์กรควรต้องสร้างความสามารถในการฟื้นตัว และมั่นใจได้ว่าการวางแผนและการเตรียมความพร้อมได้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการปฏิบัติงานที่มีความต่อเนื่อง

นายพันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง PwC ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายนอก ตลอดจนการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง โดยในขณะที่องค์กรชั้นนำหลายแห่งได้มีการวางแผนเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าวไว้บ้างแล้ว แต่องค์กรขนาดใหญ่บางแห่งรวมถึงองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้

อย่างไรก็ดี ปัญหาขององค์กรไทยที่มักจะพบเจอคือ ผู้บริหารยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการภาวะวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยส่วนใหญ่ยังเน้นไปที่ผลประกอบการทางการเงินเป็นหลัก เช่น การสร้างรายได้ หรือลดต้นทุน จึงอยากแนะนำองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น ซึ่งการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้นำในยุคปัจจุบัน

แน่นอนว่า การมีคณะผู้บริหารหรือคณะทำงานที่มีความเข้าใจในการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ยังถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะการจัดการภาวะวิกฤตและการหยุดชะงักจะสำเร็จได้ต้องอาศัยการวางแผน การให้ความร่วมมือของทุกฝ่ายทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งจะต้องมีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ รายงานผลดังกล่าวไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปปรับปรุงความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ

ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ