ประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่ประเทศที่ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างมิติใหม่ที่ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ทำให้ทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปในทิศทางเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้นและถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนที่น่าจับตามองก็คือ การเปลี่ยนขยะพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนเป็นพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงสำหรับขวดบรรจุภัณฑ์
ยูนิลีเวอร์ และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี ได้ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาและเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์จากพลาสติกชนิด HDPE
(ขวดแกลลอน ขวดน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ขวดแชมพูและขวดครีมนวด) เป็นพลาสติก HDPE รีไซเคิล (rHDPE) ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่นำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงภายใต้แบรนด์เอสซีจี กรีน พอลิเมอร์
ซึ่งถือว่าเป็นไปในแนวทางที่โลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างที่เคยกล่าวเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เชื่อมั่นว่าความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ รวมทั้งการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะสามารถนำประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริโภคคัดแยกพลาสติกใช้แล้วตั้งแต่ต้นทาง เพื่อหมุนเวียนกลับมาเป็นทรัพยากรใหม่ด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลคุณภาพสูง ช่วยสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้วิกฤตภาวะโลกร้อนจากปริมาณขยะทั้งหมดในประเทศไทย สัดส่วนของพลาสติกใช้แล้วที่นำมารีไซเคิลมีเพียงประมาณ 5 แสนตัน จากปริมาณทั้งหมดกว่า 2 ล้านตัน และส่วนใหญ่ยังจัดการไม่ถูกวิธี ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นจำนวนมาก การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้วัสดุได้หมุนเวียนกลับคืนมาในระบบเศรษฐกิจ และไม่หลุดรอดไปทำลายสิ่งแวดล้อม
ด้วยความร่วมมือระหว่างยูนิลีเวอร์และเอสซีจีครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ ลดการใช้เม็ดพลาสติก (Virgin Resin) และเพิ่มปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (PCR) ในบรรจุภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ รวมถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์นั้นๆ สามารถนำมารีไซเคิลได้ เพื่อนำกลับมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ เป็นการสร้างอุปสงค์ให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วชนิด HDPE เพื่อให้เกิดการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง และเก็บกลับเข้าสู่ระบบ
โดย นายโรเบิร์ต แคนเดลิโน ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ออกมากล่าวว่า ปี 2561 ยูนิลีเวอร์ประกาศความมุ่งมั่นด้านพลาสติก 3 ด้าน 1.ลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ลงครึ่งหนึ่ง หรือ 100,000 ตันทั่วโลก 2.บรรจุภัณฑ์ของเราจะต้องใช้ซ้ำได้ รีไซเคิลได้ หรือย่อยสลายได้ 3.เรียกเก็บและแปรรูปบรรจุภัณฑ์ของเราให้ได้มากกว่าที่เราขาย ทั้งหมดภายในปี 2568
โดยยูนิลีเวอร์ได้ดำเนินการเพื่อปฏิวัติบรรจุภัณฑ์พลาสติกมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากขวดซันไลต์ที่เปลี่ยนเป็นขวด PET รีไซเคิล และความร่วมมือระหว่างยูนิลีเวอร์และเอสซีจีในครั้งนี้เป็นการนำขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติก HDPE ที่ใช้งานแล้วมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยจะนำร่องจากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าแบรนด์ซันไลต์ (ขวดแกลลอน) คอมฟอร์ท โดฟ ซันซิล เคลียร์ เทรเซมเม่ และอื่นๆ ต่อไป
ด้านนายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เผยว่า ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ "ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน" ตามแนวทาง ESG และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีโรดแมปขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 4 ด้าน ครอบคลุมตลอดทั้ง Supply Chain ได้แก่ 1.การพัฒนาและออกแบบสูตรการผลิตเม็ดพลาสติกและโซลูชันให้รีไซเคิลได้ง่าย ใช้ปริมาณพลาสติกน้อยลง 2.การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR 3.การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี และ 4.การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ
จากความร่วมมือดังกล่าว เชื่อได้ว่าจะช่วยผลักดันเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยลดการใช้ทรัพยากร และเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศไทยอีกทางหนึ่ง.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research