ศูนย์ยานยนต์อันดับ1ในอาเซียน

อีกไม่นานนี้คงเปิดอย่างเต็มรูปแบบ และประเทศไทยของเราก็จะมีศูนย์ทดสอบยานยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเป็นแผนงานของกระทรวงพลังงานที่ดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ผลักดันให้ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center - ATTRIC) หรือแอดทริก เกิดขึ้นได้จริงในพื้นที่บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

แน่นอนว่า อย่างที่รู้กันอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยนั้นถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าให้กับภาคเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างยอดส่งออก สร้างการจ้างงานอีกมหาศาล และการพัฒนาศูนย์ทดสอบยานยนต์หรือแอดทริกขึ้นมานั้น

ก็เพื่อตอบโจทย์กับการเดินหน้าอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของไทย เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ โดยแอดทริกจะเป็นสถานที่ทดสอบยานยนต์ (Automotive) และยางล้อ (Tyre) มาตรฐานระดับโลก และจะเป็นฮับการทดสอบ (Testing) การวิจัย (Research) และนวัตกรรม (Innovation) อันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับที่ 11 ของโลก

โดยไม่ใช่เพียงรถยนต์สันดาปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวีอีกด้วย โดยคาดว่าศูนย์ทดสอบฯ จะมีรายได้กว่าปีละ 1,000 ล้านบาท รวมทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบที่ต่างประเทศ ประมาณ 30-50% และสร้างเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 148 ล้านบาทต่อปี

ซึ่งนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยในระหว่างนำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จแล้ว 55% ใช้เงินงบประมาณไปแล้ว 2,038 ล้านบาท คงเหลือการดำเนินงานอีก 45% ในวงเงินงบประมาณ 1,667.69 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2569 และตั้งแต่เปิดให้บริการสนามทดสอบยางล้อ สนามทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.2562 เป็นต้นมา มีผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการสนามทดสอบยางล้อแล้วจำนวนกว่า 300 ราย

โครงการแอดทริกใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 3,705.7 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการบนพื้นที่ 1,234.98 ไร่ แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ เฟสที่ 1 ส่วนทดสอบยางล้อ ได้ดำเนินการก่อสร้างสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 (เกณฑ์มาตรฐานยางล้อที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปของสหประชาชาติ) อาคารสำนักงาน พร้อมห้องปฏิบัติการและระบบสาธารณูปโภค

รวมทั้งดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 จำนวน 2 รายการ ได้แก่ ชุดเครื่องมือทดสอบความต้านทานการหมุน และชุดเครื่องมือทดสอบมลพิษทางเสียงขณะหมุนและการยึดเกาะถนนบนพื้นผิวเปียก โดยเปิดให้บริการทดสอบตามมาตรฐาน UN R117 ตั้งแต่เดือน ต.ค.2562 เฟสที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนสนามทดสอบแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่

อาคารควบคุมการทดสอบ สนามทดสอบระบบเบรก (Brake Performance) สนามทดสอบระบบเบรกมือ (Park Brake (Test Hill)) สนามทดสอบพลวัต (Dynamic Platform) สนามทดสอบการยึดเกาะขณะเข้าโค้ง (Skid-Pad) รวมทั้งดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ ชุดทดสอบจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ระบบยึดแบบไอโซฟิก และจุดยึดไอโซฟิกทอปเทเทอร์ ชุดทดสอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และพนักพิงศีรษะสำหรับใช้ในยานยนต์ ชุดทดสอบเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ และชุดเครื่องมือทดสอบห้ามล้อสำหรับรถยนต์บรรทุกและห้ามล้อสำหรับรถยนต์นั่งแล้วเสร็จ

คงเหลือเพียงการก่อสร้างสนามทดสอบความเร็วและสมรรถนะตามมาตรฐาน UN R117 ทางวิ่ง (Run-In) ส่วนต่อขยายจากสนามทดสอบยางล้อเพื่อการทดสอบตามมาตรฐาน UN R117 สถานีสำหรับเตรียมสภาพรถ จัดซื้อชุดเครื่องมือทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ชุดเครื่องมือทดสอบการยึดเกาะถนนการเข้าโค้ง ชุดเครื่องมือทดสอบอุปกรณ์เลี้ยวสำหรับยานยนต์ และชุดเครื่องมือทดสอบการป้องกันผู้โดยสารเมื่อเกิดการชนด้านหน้าและด้านข้างของยานยนต์

มั่นใจได้เลยว่า เมื่อศูนย์แอดทริกนี้สร้างแล้วเสร็จ จะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นและสามารถใช้ดึงดูดการลงทุนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้อีกมาก เพราะประเทศไทยจะถือเป็นวันสต็อปเซอร์วิสเกี่ยวกับด้านนี้อย่างเต็มตัว...

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร